เมืองอัจฉริยะ หรือ Smart City ได้ถูกวางไว้เป็นหนึ่งในแผนขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศ ตามแนวทางการขับเคลื่อนประเทศไทย 4.0 และยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี โดย Smart City เป็นแนวทางในการเพิ่มประสิทธิภาพในการบริการจัดการเมืองโดยนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ทันสมัยมาใช้ เพื่อลดค่าใช้จ่ายและลดการใช้ทรัพยากรของเมือง เน้นการออกแบบที่ดีการมีส่วนร่วมของภาคธุรกิจและภาคประชาชน เพื่อการบริการที่ดีให้แก่ประชาชน และเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของประชาชนด้วย [1]
ในประเทศไทย การพัฒนา Smart City ควรมีการพัฒนา 7 ด้านหลัก ได้แก่ สิ่งแวดล้อมอัจฉริยะ (Smart Environment) การเดินทางและขนส่งอัจฉริยะ (Smart Mobility)พลเมืองอัจฉริยะ (Smart People) เศรษฐกิจอัจฉริยะ (Smart Economy) การดำรงชีวิตอัจฉริยะ (Smart Living) พลังงานอัจฉริยะ (Smart Energy) การบริหารภาครัฐอัจฉริยะ (Smart Governance) [2]
หนึ่งในหน่วยงานหลักที่มีหน้าที่ในการขับเคลื่อนนโยบาย Smart City ได้แก่สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (DEPA) โดย ดร.นนท์ อัครประเสริฐกุล ผู้เชี่ยวชาญอาวุโส ฝ่ายส่งเสริมเมืองอัจฉริยะสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล ได้กล่าวถึงบทบาทและหน้าที่ของสำนักงานสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล ไว้ว่า
“สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัลทำหน้าที่เป็นกรรมการและเลขานุการของคณะกรรมการขับเคลื่อนและพัฒนาเมืองอัจฉริยะแห่งชาติ เป็นศูนย์กลางในการช่วยดึงสิทธิประโยชน์ต่างๆ มาทำให้เกิดการพัฒนาเมืองอย่างเป็นระบบ เกิดการพัฒนาอย่างก้าวหน้า และก้าวกระโดด ขับเคลื่อนให้เมืองมีความพร้อมมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการสร้างบุคลากร ไม่ว่าจะเป็นการนำเอาเทคโนโลยีที่มีมาทดลองทดสอบใช้กับเมือง หรือแม้แต่ติดตามผล เพื่อให้เมืองมีการพัฒนา มีศักยภาพมากกว่าเดิม”
นอกจากนี้ ดร.นนท์ อัครประเสริฐกุล ยังได้กล่าวถึงการมีส่วนร่วมของภาคสังคมและประชาชนต่อการพัฒนา Smart City ไว้อย่างน่าสนใจว่า
“เรื่อง Smart city เป็นเรื่องของทุกคน การสร้างเมืองที่น่าอยู่ส่งผลโดยตรงต่อคุณภาพชีวิตเมืองที่ดีสามารถนำแรงงานที่เรามีไปใช้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจได้ เมืองที่ดีทำให้มีความสุข เราสามารถนำสุขภาพที่ดีไปสร้างโอกาสใหม่ๆได้แล้วโอกาสที่เกิดขึ้นก็คือการสร้างเมือง
ที่น่าอยู่ซึ่งความน่าอยู่ที่ว่านี้ไม่ใช่หน้าที่ของภาครัฐแต่เพียงฝ่ายเดียว ไม่ใช่หน้าที่ของแค่ภาคเอกชนแต่เป็นหน้าที่
ของเราทุกคนภาครัฐมีการสร้างกรอบแนวทางการทำงานที่จะก่อให้เกิดประโยชน์ได้อย่างเต็ม ที่ภาคเอกชนนำ
เทคโนโลยีที่ดีมาช่วยกันสร้างแนวทางในการพัฒนาซึ่งตอบโจทย์ ของประชาชนจริงๆประชาชนเองก็จะได้มีเมือง
ที่น่าอยู่แล้วก็มีการนำศักยภาพของเราไปใช้ให้เกิดประโยชน์ที่สุด”
ในส่วนของ NT หรือ บมจ.โทรคมนาคมแห่งชาติก็มีความมุ่งหวังและความพร้อมในการที่จะเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งในการติดอาวุธความรู้
ในด้านเทคโนโลยีใหม่ๆ ให้กับกลุ่มหรือหน่วยงานภาครัฐ หน่วยงานท้องถิ่น เพื่อที่หน่วยงานดังกล่าวจะได้นำความรู้
เหล่านั้นไปกำหนดเป็นแผนงานต่างๆ ของพื้นที่เมืองมีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการสร้างและพัฒนา
เมืองอัจฉริยะอย่างยั่งยืน ซึ่งทาง NT เองก็พร้อมที่จะเป็นหน่วยงานสนับสนุนหลัก ในการช่วยเหลือสนับสนุน
ทุกหน่วยงาน ด้านทรัพยากรทางเทคโนโลยีที่ทันสมัยและการเชื่อมต่อที่มีประสิทธิภาพ รวมถึงสนับสนุนบุคลากร
ที่มีประสบการณ์และความรู้ในการทำงานร่วมกับหน่วยงานภาครัฐทั้งระดับท้องถิ่นและระดับประเทศ” คุณสมยศ ธนพิรุณธร รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานขายและปฏิบัติการลูกค้า 1 บมจ.โทรคมนาคมแห่งชาติ (NT)
หน่วยงานที่มีความสนใจข้อมูลข่าวสารต่างๆ ที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีด้านโทรคมนาคม โดยบมจ.โทรคมนาคมแห่งชาติ (NT) สามารถติดตามได้ที่ https://www.facebook.com/NT.bkkshop หรือ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ทาง Line official : @NTSMEsolutionBKK
เอกสารอ้างอิง
[2] https://www.depa.or.th/th/smart-city-plan/smart-city-office