Digital Transformation

Digital Transformation คืออะไร สำคัญต่อองค์กรในยุคดิจิทัลอย่างไร

ในยุคที่เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทสำคัญในชีวิตประจำวัน การเปลี่ยนแปลงสู่ยุคดิจิทัลจึงเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับโลกธุรกิจที่ต้องปรับตัวให้ทันต่อการแข่งขันที่รวดเร็วและดุเดือด ซึ่งการนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานและสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ ๆ ได้กลายเป็นสิ่งที่ใช้ต่อยอดความสำเร็จของธุรกิจในยุคดิจิทัล โดยกระบวนการนี้เรียกว่า “Digital Transformation” หรือการแปลงโฉมธุรกิจด้วยเทคโนโลยี เพื่อก้าวสู่ความสำเร็จในยุคดิจิทัลที่เต็มไปด้วยการแข่งขัน


Highlight

  • Digital Transformation เป็นกระบวนการที่นำเทคโนโลยีมาใช้ แต่เป็นการเปลี่ยนแปลงทั้งระบบ ตั้งแต่วิธีการทำงาน วัฒนธรรมองค์กร ไปจนถึงการสร้างประสบการณ์ใหม่ให้กับลูกค้า
  • Digital Transformation มี 4 ประเภทคือ Process Transformation, Domain Transformation, Business Model Transformation, และ Cultural / Organizational Transformation
  • องค์ประกอบสำคัญของ Digital Transformation ที่จะนำไปสู่ความสำเร็จมี 5 ด้าน คือ People, Culture, Data and Analytics, Strategy, และ Technology ซึ่งต้องพัฒนาควบคู่กันไป
  • Digital Transformation จะมีข้อดีในการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานและความสามารถในการแข่งขัน แต่ก็มีข้อเสีย เช่น ลงทุนสูง ความเสี่ยงด้านความปลอดภัย และการปรับตัวของพนักงาน


Digital Transformation คืออะไร? ทำไมธุรกิจต้องเปลี่ยน?

Digital Transformation คืออะไร

Digital Transformation (DX) คือ กระบวนการที่นำเทคโนโลยีดิจิทัลมาปรับเปลี่ยนวิธีการทำงานขององค์กรทั้งหมด เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและความสามารถในการแข่งขันในยุคดิจิทัล ไม่ว่าจะเป็นการนำระบบอัตโนมัติมาใช้ในการทำงาน การเก็บข้อมูลในรูปแบบดิจิทัล หรือการใช้ Cloud Computing เพื่อให้พนักงานสามารถทำงานได้จากทุกที่ ทุกเวลา 

ซึ่งการเปลี่ยนแปลงนี้ไม่ได้จำกัดอยู่แค่ด้านเทคโนโลยี แต่ยังรวมถึงการปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์กรให้พร้อมรับกับการเปลี่ยนแปลงด้วย โดยเป้าหมายหลักคือการผลิตสินค้าและคิดค้นบริการใหม่ ๆ ที่ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าได้ดียิ่งขึ้น รวมถึงสร้างประสบการณ์ที่ดีในการทำงานของพนักงาน


ทำไม Digital Transformation ถึงสำคัญต่อธุรกิจในยุคปัจจุบัน?

ปัจจุบัน Digital Transformation ไม่ใช่แค่ตัวเลือก แต่กลายเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับทุกองค์กรที่ต้องการอยู่รอดและเติบโต เพราะเป็นการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาปรับใช้ช่วยให้ธุรกิจสามารถลดต้นทุน เพิ่มประสิทธิภาพ และสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ ๆ ที่ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าได้ดียิ่งขึ้น

ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ การทำงานแบบ Remote-working ที่ทำให้บริษัทประหยัดค่าใช้จ่ายในการเช่าออฟฟิศและเพิ่มความยืดหยุ่นในการทำงาน หรือการมีช่องทางการขายออนไลน์ยังช่วยให้ธุรกิจเข้าถึงลูกค้าได้ทั่วโลกและเพิ่มยอดขายได้อย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ ยังมีการใช้ VPN ที่สร้างเครือข่ายส่วนตัวเสมือนจริง เพื่อรักษาความปลอดภัยของข้อมูลขณะทำธุรกรรมออนไลน์ 

หากธุรกิจใดไม่ปรับตัวเข้าสู่ยุคดิจิทัล ก็อาจถูกคู่แข่งแซงหน้าและตกยุคได้ง่าย ๆ เพราะผู้บริโภคในปัจจุบันคุ้นเคยกับการใช้เทคโนโลยีและคาดหวังประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานผลิตภัณฑ์และบริการต่าง ๆ


ประเภทของ Digital Transformation มีอะไรบ้าง? เหมาะกับธุรกิจแบบไหน?

การเลือกประเภทของ Digital Transformation ให้เหมาะสมกับธุรกิจ จะขึ้นอยู่กับเป้าหมายและสถานการณ์ของแต่ละองค์กร หากองค์กรมีการวางแผนที่ดีและมีการสนับสนุนจากทุกฝ่าย การทำ Digital Transformation ก็จะนำมาซึ่งผลลัพธ์ที่เป็นบวกและยั่งยืน โดย Digital Transformation มีอะไรบ้างนั้น สามารถแบ่งออกเป็น 4 ประเภท ดังนี้

1. Process Transformation

Process Transformation คือการใช้เทคโนโลยี เช่น หุ่นยนต์หรือ AI เพื่อใช้ระบบอัตโนมัติในกระบวนการผลิต ส่งผลให้ต้นทุนลดลงและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตได้เป็นอย่างมาก ตัวอย่างเช่น โรงงานรถยนต์หลายแห่งได้นำหุ่นยนต์มาใช้ในการประกอบชิ้นส่วนรถยนต์ ทำให้สามารถผลิตได้รวดเร็วและแม่นยำยิ่งขึ้น

2. Domain Transformation

Domain Transformation หรือขอบข่ายของธุรกิจ เป็นการขยายธุรกิจไปสู่ตลาดใหม่ ๆ เช่น การใช้โซเชียลมีเดียในการเข้าถึงลูกค้าในประเทศจีน หรือการพัฒนาแอปพลิเคชันเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าในตลาดใหม่ ๆ

3. Business Model Transformation

Business Model Transformation หรือโมเดลธุรกิจ เป็นการสร้างรูปแบบธุรกิจใหม่ ๆ เช่น การเปลี่ยนจากการขายสินค้าเป็นแบบบริการ อย่างบริษัท Netflix ที่เปลี่ยนจากการขายดีวีดีมาเป็นบริการสตรีมมิงภาพยนตร์และซีรีส์ ทำให้สามารถเข้าถึงลูกค้าได้ทั่วโลก

4. Cultural / Organizational Transformation

Cultural / Organizational Transformation หรือวัฒนธรรมองค์กร คือการสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่เอื้อต่อการเรียนรู้และการเปลี่ยนแปลง เช่น การจัดตั้งทีม Agile เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ อย่างรวดเร็ว หรือการส่งเสริมให้พนักงานทุกคนมีส่วนร่วมในการเสนอไอเดีย


องค์ประกอบของ Digital Transformation ที่พาองค์กรประสบความสำเร็จ

Digital Transformation มีอะไรบ้าง

 Digital Transformation ไม่ใช่แค่การนำเทคโนโลยีมาใช้ แต่เป็นการเปลี่ยนแปลงองค์กรทั้งระบบ เพื่อให้สามารถปรับตัวและเติบโตได้ในยุคดิจิทัล ดังนั้น การทำงาน Digital Transformation ให้สำเร็จ องค์กรจำเป็นต้องให้ความสำคัญกับ 5 องค์ประกอบ ดังนี้

People

พนักงาน คือหัวใจสำคัญของการทำ Digital Transformation ซึ่งเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่นำมาใช้ในการเปลี่ยนแปลงนั้น ต้องการพนักงานที่มีความพร้อมที่จะเรียนรู้และปรับตัวเข้ากับสิ่งใหม่ ๆ เพื่อนำเทคโนโลยีเหล่านั้นมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยพนักงานในยุคดิจิทัลจึงต้องมีความคิดสร้างสรรค์ กล้าคิดกล้าทำ และพร้อมที่จะทำงานร่วมกับคนอื่น ๆ อยู่เสมอ

Culture

การสร้างสภาพแวดล้อมที่เปิดกว้าง ส่งเสริมให้พนักงานกล้าคิดกล้าทำ และพร้อมที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ จะช่วยให้องค์กรสามารถปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วได้อย่างยืดหยุ่น เมื่อพนักงานมีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์นวัตกรรม องค์กรจะสามารถสร้างความแตกต่างจากคู่แข่ง เพิ่มขวัญและกำลังใจให้กับพนักงาน พร้อมรับมือกับความท้าทายใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ 

Data and Analytics

ปัจจุบันข้อมูลได้กลายเป็นสินทรัพย์ที่มีค่าที่สุด หากองค์กรใดสามารถนำข้อมูลมาใช้ประโยชน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ องค์กรนั้นก็จะสามารถสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันได้ ซึ่งการวิเคราะห์ข้อมูลจำนวนมหาศาลที่เก็บรวบรวมมาจากหลากหลายช่องทาง ช่วยให้เราเข้าใจพฤติกรรมของลูกค้า ค้นพบโอกาสทางธุรกิจใหม่ ๆ และปรับปรุงกระบวนการทำงานให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น 

ดังนั้น ข้อมูลไม่เพียงแต่ช่วยในการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์เท่านั้น แต่ยังช่วยให้เราสามารถวัดผลลัพธ์และปรับปรุงกลยุทธ์ได้อย่างต่อเนื่อง ทำให้ธุรกิจสามารถเติบโตและพัฒนาได้อย่างยั่งยืนในยุคดิจิทัล

Strategy

กลยุทธ์ของธุรกิจเปรียบเสมือนแผนที่นำทางที่ชัดเจน ที่จะช่วยให้องค์กรสามารถเดินหน้าสู่การเปลี่ยนแปลงสู่ยุคดิจิทัลได้อย่างมั่นคงและมีทิศทาง การมีกลยุทธ์ที่แข็งแกร่งจะช่วยให้ทุกฝ่ายในองค์กรเข้าใจเป้าหมายร่วมกัน ทำให้การทำงานเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ลดความเสี่ยงในการลงทุน และเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานได้อย่างมาก นอกจากนี้ กลยุทธ์ที่ดีจะต้องมีความยืดหยุ่นเพียงพอที่จะปรับเปลี่ยนตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปได้อย่างทันท่วงที

Technology

การนำเทคโนโลยีที่เหมาะสมมาประยุกต์ใช้ จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ลดต้นทุน และสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ ที่ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าในยุคที่ทุกอย่างขับเคลื่อนด้วยข้อมูล การเลือกใช้เทคโนโลยีจึงต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ โดยคำนึงถึงเป้าหมายขององค์กร ความพร้อมของพนักงาน และงบประมาณที่มีอยู่ เมื่อองค์กรสามารถเลือกใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมได้ ก็จะสามารถสร้างความแตกต่างจากคู่แข่ง และสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันในตลาดที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วได้

ตัวอย่างเทคโนโลยีที่สำคัญในการทำ Digital Transformation

  • Hybrid Cloud การบูรณาการระหว่างคลาวด์สาธารณะ (Public Cloud) ซึ่งเป็นบริการคลาวด์ที่เปิดให้ใช้งานโดยบุคคลที่สาม และคลาวด์ส่วนตัว (Private Cloud) ซึ่งเป็นโครงสร้างพื้นฐานคลาวด์ที่องค์กรสร้างขึ้นมาเอง โดยมีการเชื่อมต่อกันผ่านวิธีต่าง ๆ เช่น Private Link และ VPN
  • IP address คือเลขที่ของอุปกรณ์บนอินเทอร์เน็ต ช่วยบอกตำแหน่งที่แน่นอนของอุปกรณ์นั้น ๆ โดยผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตจะเป็นผู้กำหนด IP Address โดยอัตโนมัติ
  • Cybersecurity เป็นการป้องกันระบบคอมพิวเตอร์ เครือข่าย และข้อมูลขององค์กรจากการโจมตีทางไซเบอร์ เพื่อรักษาความปลอดภัยของข้อมูลสำคัญและทรัพย์สินทางปัญญาขององค์กร
  • ปัญญาประดิษฐ์ (AI) เป็นการพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์ให้มีความสามารถในการเรียนรู้ คิดวิเคราะห์ และตัดสินใจได้เอง เช่น การใช้ AI ในการวิเคราะห์ข้อมูลลูกค้า การทำนายผลลัพธ์ หรือการสร้างระบบแชตบอทเพื่อให้บริการลูกค้า

จุดเด่นและจุดด้อยของ Digital Transformation ที่ต้องรู้

Digital Transformation หมายถึง การเปลี่ยนแปลงองค์กรที่มาพร้อมโอกาสและความท้าทาย ดังนั้น ก่อนที่จะตัดสินใจลงทุนและลงมือทำ ต้องทำความเข้าใจถึงข้อดีและข้อเสีย ดังนี้

จุดเด่นของ Digital Transformation

  • เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน: เทคโนโลยีช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ทำให้ธุรกิจสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำ ช่วยให้องค์กรก้าวทันคู่แข่งในตลาดที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
  • พัฒนาศักยภาพของพนักงาน: การนำเทคโนโลยีใหม่ ๆ เข้ามาใช้ ทำให้พนักงานต้องเรียนรู้ทักษะใหม่ ๆ อย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้พนักงานมีทักษะที่หลากหลายและสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
  • สร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้า: เทคโนโลยีช่วยให้องค์กรสามารถเข้าใจพฤติกรรมของลูกค้าได้ดีขึ้น และสามารถนำข้อมูลเหล่านั้นมาปรับปรุงผลิตภัณฑ์และบริการให้ตรงใจลูกค้ามากยิ่งขึ้น
  • เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน: การใช้ระบบอัตโนมัติและเครื่องมือวิเคราะห์ข้อมูล ช่วยลดขั้นตอนการทำงานที่ซ้ำซาก ทำให้พนักงานมีเวลาไปโฟกัสกับงานที่มีความสำคัญมากขึ้น
  • ลดต้นทุน: เทคโนโลยีบางอย่าง ที่สามารถช่วยลดต้นทุนในการดำเนินงานได้อย่างมาก

จุดด้อยของ Digital Transformation

  • ต้องลงทุนสูง: การนำเทคโนโลยีใหม่ ๆ เข้ามาใช้ต้องใช้เงินลงทุนจำนวนมาก ทั้งในเรื่องของฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ และการฝึกอบรมพนักงาน
  • การเปลี่ยนแปลงที่ต่อเนื่อง: เทคโนโลยีมีการพัฒนาอยู่ตลอดเวลา ทำให้องค์กรต้องปรับตัวและลงทุนอยู่ตลอดเวลา
  • ความเสี่ยงด้านความปลอดภัย: การเชื่อมต่อกับระบบดิจิทัลมากขึ้น ทำให้มีความเสี่ยงด้านความปลอดภัยของข้อมูลเพิ่มขึ้น
  • พนักงานอาจปรับตัวได้ยาก: การเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลอาจทำให้พนักงานบางส่วนรู้สึกไม่สบายใจหรือไม่สามารถปรับตัวได้ทัน
  • ความซับซ้อนของระบบ: การนำเทคโนโลยีต่าง ๆ มาเชื่อมโยงกัน อาจทำให้ระบบมีความซับซ้อนและยากแก่การจัดการ

ตัวอย่าง Digital Transformation ที่ประสบความสำเร็จภายในองค์กร

ตัวอย่าง Digital Transformation

เมื่อได้ทำความรู้จักกับ Digital Transformation ไปแล้วว่าคืออะไร? คราวนี้มาดูตัวอย่างที่น่าสนใจกันว่า การเปลี่ยนแปลงสู่ยุคดิจิทัลสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในส่วนต่าง ๆ ขององค์กรได้อย่างไรบ้าง

  • การเรียนรู้และพัฒนา: องค์กรหลายแห่งหันมาใช้ระบบ e-Learning เพื่อให้พนักงานสามารถเรียนรู้ได้ทุกที่ทุกเวลา ลดต้นทุนและเพิ่มความสะดวกสบายในการพัฒนาบุคลากร
  • บริการลูกค้า: การสร้างฐานข้อมูลความรู้ช่วยให้พนักงานบริการลูกค้าสามารถค้นหาคำตอบ และแก้ปัญหาให้ลูกค้าได้อย่างรวดเร็วขึ้น นอกจากนี้ การเก็บข้อมูลลูกค้าในรูปแบบดิจิทัลยังช่วยให้เข้าใจพฤติกรรมของลูกค้าได้ดียิ่งขึ้น และนำไปสู่การพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการที่ตรงใจลูกค้ามากขึ้น
  • การทำงานร่วมกัน: การใช้เครื่องมือสื่อสารและทำงานร่วมกันแบบออนไลน์ เช่น Google Workspace, Microsoft Teams ช่วยให้พนักงานสามารถทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ แม้จะอยู่คนละที่ก็ตาม
  • การตัดสินใจ: การนำข้อมูลมาวิเคราะห์ด้วยเครื่องมือ BI (Business Intelligence) ช่วยให้ผู้บริหารสามารถตัดสินใจได้อย่างถูกต้องและรวดเร็วขึ้น

สรุป Digital Transformation โอกาสและความท้าทายในการเปลี่ยนแปลงธุรกิจ

Digital Transformation เป็นการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญและจำเป็นสำหรับทุกองค์กรในยุคดิจิทัล โดยไม่ได้จำกัดอยู่เพียงแค่การนำเทคโนโลยีมาใช้ แต่ครอบคลุมถึงการเปลี่ยนแปลงทั้งระบบ ตั้งแต่กระบวนการทำงาน วัฒนธรรมองค์กร ไปจนถึงการสร้างประสบการณ์ใหม่ให้กับลูกค้า แม้ว่าการทำ Digital Transformation จะมีความท้าทายในเรื่องการลงทุนและการปรับตัว แต่ก็เป็นสิ่งจำเป็นที่จะช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและความยั่งยืนขององค์กรในระยะยาว

สำหรับธุรกิจที่กำลังก้าวสู่การทำ Digital Transformation อย่างเต็มรูปแบบ NT พร้อมสนับสนุนการเปลี่ยนแปลง ด้วย ICT Solution บริการโซลูชันด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารแบบครบวงจร ที่พร้อมปรับแต่งให้เหมาะกับความต้องการเฉพาะของแต่ละธุรกิจ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและก้าวทันการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี 

ตัวอย่างผลงานในการทำ Digital Transformation ที่ NT ได้รับความไว้วางใจให้เป็นผู้พัฒนาระบบการสื่อสาร เพื่อการดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น 

นอกจากนี้ NT ยังมีบริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง ครอบคลุมทุกพื้นที่ และมีเสถียรภาพ ด้วยเครือข่ายไฟเบอร์ที่ทันสมัย รองรับการใช้งานเทคโนโลยีดิจิทัลต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมทีมผู้เชี่ยวชาญที่คอยให้คำปรึกษาและดูแลระบบตลอด 24 ชั่วโมง ช่วยให้ธุรกิจสามารถปรับตัวและเติบโตได้อย่างมั่นคงในยุคดิจิทัล เลือก NT เป็นพาร์ตเนอร์ด้านดิจิทัลวันนี้ เพื่อก้าวสู่การเป็นองค์กรดิจิทัลที่แข็งแกร่งในอนาคตได้ที่


References 

SAP. (2023, December 27). What is digital transformation?. https://www.sap.com/resources/what-is-digital-transformation

Brinckerhoff, R. (2022, January 20). The 4 Types of Digital Transformation Explained https://www.shyftservices.com/blog/the-4-types-of-digital-transformation-explained 

Hicks, Felipe. (n.d.). Pros and Cons of Digital Transformation https://www.aegissofttech.com/insights/pros-and-cons-of-digital-transformation/

Scroll to Top
nt-business-solution-expert Popup