จากสถานการณ์โควิด-19 ที่ผ่านมาทำให้สถานศึกษาทั่วประเทศปรับเปลี่ยนรูปแบบการเรียนการสอนใหม่อย่างสิ้นเชิง จนอาจเรียกได้ว่าเป็นจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญในวงการการศึกษาอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน โดยให้เน้นเรียนออนไลน์เป็นหลักตั้งแต่ระดับอนุบาล รวมถึงการศึกษาของเด็กในรั้วมหาวิทยาลัย ซึ่งการเรียนออนไลน์ก็มีทั้งข้อดีและข้อเสียในเวลาเดียวกัน
วันนี้เราจะพาทุกคนไปเจาะลึกถึงปัญหาที่เกิดขึ้นในการเรียนออนไลน์ และตัวช่วยอย่าง “พื้นที่การเรียนรู้” ที่จะมาช่วยให้การเรียนสมัยใหม่ของเด็กมหาวิทยาลัยมีประสิทธิภาพอย่างเห็นได้ชัด
แม้ว่าการเรียนการสอนในรูปแบบออนไลน์จะสามารถช่วยให้ระบบการศึกษาเดินหน้าต่อไปได้ อีกทั้งทำให้เรามองเห็นความเป็นไปได้ในหลากหลายมิติ แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าอาจทำให้เกิดปัญหาด้านต่าง ๆ ตามมาพอสมควร จนส่งผลกระทบต่อผู้สอนและผู้เรียนดังนี้
- เรื่องความเหลื่อมล้ำ เมื่อต้องเปลี่ยนมาเรียนออนไลน์ สิ่งจำเป็นที่ต้องใช้ประกอบไปด้วยอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์,อินเทอร์เน็ต และต้องมีผู้ปกครองคอยให้คำแนะนำ แต่ไม่ใช่ว่าทุกครอบครัวจะมีความพร้อมเสมอไป จึงทำให้นักเรียนบางส่วนไม่สามารถเข้าถึงการเรียนได้อย่างเต็มที่ หรือเรียนไม่ทันเพื่อน ทั้งยังทำให้บางส่วนต้องหลุดออกจากระบบการศึกษาไปอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
- รูปแบบการสอนไม่ตอบโจทย์ บางรายวิชาอาจต้องเน้นการลงมือปฏิบัติมากกว่าแค่ในทฤษฎี เช่น คณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ คณะนิเทศศาสตร์ ซึ่งแม้ว่าผู้สอนจะปรับเปลี่ยนรูปแบบการสอนบ้างแล้ว แต่ก็ยังคงมีข้อจำกัด ไม่เหมือนเรียนในสถานที่จริง หรือการได้ลงมือปฏิบัติจริง ๆ จนอาจทำให้ผู้เรียนขาดทักษะบางอย่างได้
- ปัญหาด้านสุขภาพ เนื่องจากการเรียนออนไลน์นั้นจะต้องนั่งเรียนผ่านหน้าจออย่างเดียว และที่สำคัญต้องเรียนเป็นเวลานานจึงอาจส่งผลต่อสุขภาพของเด็ก ๆ เช่น อาการปวดตา หรือปวดหลังก่อนวัยอันควร จนส่งผลกระทบต่อการเรียนในอนาคต และยังมีเรื่องสุขภาพจิตที่อาจเกิดความเครียด วิตกกังวลได้อีกด้วย
นอกจากนี้การเรียนออนไลน์อาจยังไม่สอดคล้องกับพฤติกรรมของเด็กวัยนี้เพราะส่วนมากมักมีความต้องการที่ชัดเจน ชื่นชอบความสนุกสนาน กระตือรือร้น เรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ทำให้เหล่าผู้สอนต้องปรับเนื้อหาและวิธีการสอนโดยเราได้นำพฤติกรรมเบื้องต้นของเด็กวัยนี้มาฝาก
- ต้องการบรรยากาศที่ยืดหยุ่น แม้ว่าวัยรุ่นจะมีสมาธิ มีวุฒิภาวะมากกว่าเด็กเล็ก แต่หากเนื้อหา และวิธีการสอนไม่น่าสนใจ ไม่มีความยืดหยุ่นหรือสามารถปรับตามความต้องการผู้เรียน และไม่มีกิจกรรมกระตุ้นให้เกิดจินตนาการใหม่ ๆ ก็อาจทำให้ผู้เรียนไม่ให้ความร่วมมือจนส่งผลต่อการเรียนในระยะยาว
- การมีส่วนร่วมในการเรียน การเรียนออนไลน์ในระดับมหาวิทยาลัยควรจะให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมในชั้นเรียน เพื่อสอดคล้องกับพฤติกรรมที่ชื่นชอบการพูดคุย แลกเปลี่ยนความเห็นกัน และการให้ทุกคนมีส่วนร่วม จะช่วยให้การเรียนไม่น่าเบื่อพร้อมกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ใหม่ ๆ
- พื้นที่ทำกิจกรรม วัยนี้มักมีพฤติกรรมที่อยากเรียนรู้ ทดลองสิ่งใหม่ ๆ ไม่หยุดอยู่กับที่ ดังนั้นผู้สอนจะต้องจัดการเรียนแบบผสมผสานทั้งเรียนในห้องเรียน และพาผู้เรียนออกไปเรียนรู้นอกสถานที่ การได้ทำกิจกรรมร่วมกันนอกห้องเรียนจะช่วยให้การเรียนมีประสิทธิภาพมากขึ้น พร้อมสามารถนำไปปรับใช้ได้ในชีวิตจริง
จะเห็นได้ว่าพฤติกรรมของเด็กระดับมหาวิทยาลัยนั้นจะเน้นเรื่องการเรียนรู้ในเชิงปฏิสัมพันธ์การพูดคุยเพื่อนำเนื้อหาที่เรียนมาลงมือปฏิบัติในสถานที่จริงดังนั้นอีกหนึ่งตัวช่วยที่สามารถเสริมประสิทธิภาพในการเรียนยุคใหม่คือ “พื้นที่การเรียนรู้” หรือ “Learning Space” เช่น TCDC และ NIA เพราะมีข้อดีด้านต่าง ๆ มากมาย ประกอบไปด้วย
- พื้นที่เสริมสร้างจินตนาการ เนื่องจากศูนย์การเรียนรู้มีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม มีอุปกรณ์ เทคโนโลยีครบครันมีพื้นที่เปิดกว้างให้ทุกคนสามารถแสดงไอเดีย แลกเปลี่ยนความรู้ได้อย่างเต็มที่โดยที่ไม่มีข้อจำกัดด้านอายุ อาชีพใด ๆ จึงเป็นการเสริมสร้างประสบการณ์ตรงได้อย่างชัดเจน
- ผลักดันให้เกิดนวัตกรรมใหม่ ช่วงวัยนี้เด็ก ๆ มักจะมีความคิดนอกกรอบ ดังนั้นพอได้เข้ามาสู่โลกของศูนย์การเรียนรู้หรือพื้นที่การเรียนรู้ที่เปิดกว้างทางความคิด มีคนมาแลกเปลี่ยนความเห็นหรือแชร์ประสบการณ์ก็ถือเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดแรงบันดาลใจ ผลักดันให้อยากสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ หรือนวัตกรรมที่สามารถเปลี่ยนแปลงสังคมให้ดีขึ้น
- เสริมการปฏิสัมพันธ์ทางสังคม พื้นที่การเรียนรู้แต่ละแห่งมักจะเปิดกว้างให้ทุกคนเข้ามาแลกเปลี่ยนไอเดีย หรือจัดเวิร์กชอปเพิ่มพูนความรู้ให้แก่ผู้ที่สนใจ ทำให้พื้นที่การเรียนรู้กลายเป็นสังคมขนาดย่อมให้ทุกคนสร้างเครือข่าย แลกเปลี่ยนมุมมองกันได้ตลอดเวลา
จะเห็นว่าหากปรับการเรียนออนไลน์ผสมผสานเข้ากับพื้นที่การเรียนรู้ จะช่วยส่งเสริมให้การศึกษาของไทยมีประสิทธิภาพมากขึ้น เสริมศักยภาพผู้เรียนให้เท่าทันสังคมยุคใหม่พร้อมเกิดการต่อยอดนอกห้องเรียนไปจนถึงเกิดผลิตภัณฑ์ หรือนวัตกรรมใหม่ ๆ ในสังคมไทย ทั้งยังทำให้เยาวชนไทยก้าวไปสู่ความสำเร็จระดับโลกได้เร็วมากขึ้น นอกจากนี้ภาครัฐ และภาคเอกชนควรสนับสนุนให้เกิดพื้นที่การเรียนรู้ใหม่ ๆ อยู่เสมอ จะยิ่งเป็นการผลักดันให้สังคมมีความก้าวหน้าและพัฒนาต่อไปได้ในยุคดิจิทัลสำหรับหน่วยงานหรือองค์กรที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับพื้นที่การเรียนรู้ที่มีความต้องการจะพัฒนาระบบภายใน ทั้งเรื่องอินเทอร์เน็ต ระบบคลาวด์ หรือมองหาบริษัทที่มีบริการเกี่ยวกับ Digital Solutions เราขอแนะนำ NT หรือ บมจ.โทรคมนาคมแห่งชาติ ที่มีบริการครอบคลุม ตอบโจทย์ความต้องการของทุกธุรกิจ
หากสนใจติดต่อได้ที่เบอร์ 1888
หรือขอรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ https://nt-metro-service.com/nt-education-solution-expert/