สุขภาพดี ยุคดิจิทัล

วิถีใหม่ด้านบริการสุขภาพ Digital Healthcare ใช้เทคโนโลยีขับเคลื่อนสู่ความก้าวหน้า

          วิกฤตการระบาดของไวรัสโควิด-19 เป็นตัวเร่งให้สถานพยาบาลต่าง ๆ พยายามที่จะ “ทรานส์ฟอร์ม” หรือพัฒนาระบบ Digital Healthcare ให้มีประสิทธิภาพเพื่อรองรับบริการที่ครอบคลุมและมีความต่อเนื่องไม่ว่าระบบจัดเก็บเวชระเบียนอิเล็กทรอนิกส์แบบ EMR (Electronic Medical Record) เพื่อช่วยให้แพทย์และบุคลากรการแพทย์ สามารถเข้าถึงข้อมูลสุขภาพของผู้ป่วยได้ด้วยวิธีการที่รวดเร็ว การจัดเก็บข้อมูลเพื่อวิเคราะห์และคัดกรองผู้ป่วยโควิด-19 ในระดับต่าง ๆ จนถึงการจัดทำระบบส่งต่อผู้ป่วยระหว่างสถานพยาบาล เพื่อให้การบริหารจัดการเป็นไปอย่างราบรื่น และช่วยให้ประชาชนมีสุขภาพดียุคดิจิทัล


Digital Healthcare

Digital Healthcare คืออะไร

          การไปพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยโรคหรือการรักษาที่ ก่อนหน้านี้ต้องไปที่โรงพยาบาล นอกจากจะเป็นการเสียเวลาการเดินทางแล้ว ยังอาจจะต้องรอคิวเป็นเวลานานกว่าจะได้พบแพทย์  แต่ช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 หากไม่มีความจำเป็นจากการเจ็บป่วยแบบรุนแรงจริง ๆ หลายคนอยากเลี่ยงความเสี่ยงที่ต้องไปรวมกันอยู่ในพื้นที่คนจำนวนมากในโรงพยาบาล การให้คำปรึกษาผ่านระบบ Telemedicine หรือระบบการแพทย์ทางไกล เป็นทางออกที่ช่วยได้มาก คนไข้สามารถปรึกษาอาการเบื้องต้นผ่านระบบออนไลน์ โดยไม่ต้องเดินทางไปที่โรงพยาบาล หรือการเยี่ยมไข้ผ่านระบบออนไลน์ ก็ช่วยตัดปัญหาความเสี่ยงเรื่องการติดเชื้อของผู้ป่วย ญาติ และบุคลากรทางการแพทย์ ทั้งสองอย่างนี้ แม้การระบาดของโควิด-19
จะยุติลง Digital Healthcare ก็จะเป็นทางเลือกของชีวิตวิถีใหม่

          กล่าวโดยย่อ Digital Healthcare คือการนำเทคโนโลยีเข้ามาเพิ่มประสิทธิภาพในอุตสาหกรรมการแพทย์ รวมถึงช่วยสร้างนวัตกรรมในการป้องกันการเจ็บป่วย ช่วยให้การรักษาเข้าถึงได้ง่าย มีราคาถูกลง และมีประสิทธิภาพมากขึ้น

          Digital Healthcare จึงกลายเป็นสิ่งจำเป็นของชีวิตวิถีใหม่ ช่วยยกระดับและพัฒนาองค์กรในด้านต่าง ๆ นอกเหนือจากด้านการรักษา ยังครอบคลุมเรื่องความปลอดภัยของข้อมูลผู้ป่วย  และสามารถให้บริการที่มีประสิทธิภาพ

          การ “ทรานส์ฟอร์ม” ไปสู่ Digital Healthcare นับเป็นสิ่งจำเป็น หากต้องการพัฒนาธุรกิจให้ก้าวหน้า สถานพยาบาลที่เพิ่งเริ่มต้น อาจลองพิจารณาถึงข้อดีหลัก ๆ เพื่อนำไปสู่การใช้ Digital Healthcare อย่างเต็มรูปแบบ ดังนี้

สุขภาพดี ยุคดิจิทัล

1. ช่วยปรับแนวทางการรักษาให้ตรงกับอาการป่วยไข้

          Digital Healthcare เป็นการบริการแบบ Real Time นอกเหนือจากการรักษาที่ดี มีคุณภาพแล้ว สถานพยาบาลยังสามารถทราบได้ว่าผู้ป่วยต้องการบริการด้านหนึ่งด้านใดโดยเฉพาะหรือไม่ โดยอิงจากประวัติการรักษาเพื่อเลือกใช้เทคโนโลยีทางการแพทย์ที่เหมาะสม แนวทางการรักษาที่ตรงกับภาวะของผู้ป่วย รวมไปถึงประวัติการใช้ยาผ่านมา เป็นต้น ด้วยเหตุนี้แพทย์จึงสามารถที่จะวินิจฉัยอาการและปรับแนวทางการรักษาให้ตรงกับอาการได้ดีขึ้นโดยใช้เวลาที่น้อยลง และมีประสิทธิภาพมากขึ้น

2. สร้างเครือข่ายเชื่อมโยง การให้บริการที่รวดเร็ว

          ทุกวันนี้ธุรกิจการแพทย์เชื่อมโยงกันเป็นเครือข่ายเพื่อให้ผู้ป่วยมีทางเลือกมากขึ้น ทั้งสถานพยาบาลและรูปแบบการรักษา การ Transform ไปสู่ระบบ Digital Healthcare จะช่วยให้การ Transfer ผู้ป่วยหรือผู้ที่เกี่ยวข้อ ไปสู่สถานพยาบาลในเครือ หรือโรงพยาบาลที่มีความพร้อมมากกว่าเป็นไปด้วยความสะดวก รวดเร็ว รวมถึงการแลกเปลี่ยนข้อมูลผู้ป่วย แลกเปลี่ยนแนวทางการรักษาใหม่ ๆ รวมไปถึงข้อมูลที่วิเคราะห์ด้วย AI เพื่อการรักษาอย่างถูกต้อง เที่ยงตรง และต่อเนื่อง 

3. เพิ่มความปลอดภัยให้แก่ข้อมูล

          ความปลอดภัยของข้อมูลเป็นสิ่งสำคัญ Digital Healthcare มีระบบรักษาความปลอดภัยของข้อมูล ปกป้องทั้งรายชื่อ ประวัติการรักษา การแพ้ยา การใช้ยา วิธีการรักษาตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงปัจจุบัน ฯลฯ ด้วยเทคโนโลยี Blockchain ยิ่งเพิ่มประสิทธิภาพยิ่งขึ้น อาทิ

  • การเก็บข้อมูลของคนไข้ สามารถที่จะจัดเก็บข้อมูลระเบียนคนไข้ให้เป็นระเบียบ ค้นหาง่าย ปลอดภัยด้วยการกำหนดสิทธิการเข้าถึงข้อมูลของผู้ป่วยโดยการสร้างรหัสผ่านที่ปรับเปลี่ยนได้อย่างไม่จำกัด หรือการกำหนดสิทธิในการเข้าถึงข้อมูลของผู้ใช้งานแต่ละท่าน รวมถึงมีระบบ Security ที่ป้องกันการเจาะข้อมูลจากภายนอกได้ด้วย นอกเหนือจากนี้ข้อมูลดังกล่าวยังสามารถนำมาทำการวิเคราะห์ถึงพฤติกรรมของคนไข้ซึ่งจะสามารถนำเอาไปทำการคาดการณ์ในอนาคต เพื่อใช้ในการปรับปรุงการแพทย์ในอนาคตได้อีกด้วย หรือที่เรียกรวม ๆ ว่า Healthcare Data Analytics  
  •  ใช้กับการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางสาธารณสุข ข้อมูลของผู้ป่วยในระบบ Blockchain สามารถนำไปใช้เพื่อการค้นคว้าวิจัยได้ (โดยผ่านการอนุญาตจากเจ้าของข้อมูล) รวมทั้งนำไปประกอบการวินิจฉัยโรคเพื่อกำหนดแนวทางการรักษาให้มีความแม่นยำ รวมไปถึงการแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อการค้นคว้าวิจัยกับโรงพยาบาลอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นอาการเจ็บป่วย แนวทางการรักษา กรณีศึกษาต่าง ๆ การใช้ยา เป็นต้น   
  • ใช้กับระบบการเบิกจ่าย รวมไปถึงระบบข้อมูลการเก็บรักษาเวชภัณฑ์ที่ปลอดภัย จัดการระบบการเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลของผู้ป่วยที่สามารถเบิกได้ในทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะประกันสังคม ประกันสุขภาพ ระบบสามารถตรวจสอบสิทธิและเอกสารได้อย่างรวดเร็ว ตัดปัญหาความผิดพลาดเรื่องการจ่ายซ้ำซ้อน และยังรวมไปถึงระบบการเบิกจ่ายเวชภัณฑ์ หรืออุปกรณ์ทางการแพทย์ต่าง ๆ ที่สามารถเชื่อมโยงกันได้ทั้งภายในสถานพยาบาลเอง หรือภายนอกสถานพยาบาล ซึ่งจะทำให้สามารถทราบได้ว่ามีเวชภัณฑ์ใดอยู่ที่ใด ซึ่งจะสามารถนำมาใช้งานได้ทันท่วงที และปลอดภัย  

4. เพิ่มช่องทางติดต่อ 24 ชั่วโมง

          การเจ็บป่วยและอุบัติเหตุสามารถเกิดขึ้นได้ตลอด 24 ชั่วโมง ช่องทางการติดต่อสื่อสารจึงเป็นเรื่องสำคัญ นอกจากการสื่อสารแบบออฟไลน์แล้ว ช่องทางออนไลน์เป็นความสะดวกสำหรับชีวิตยุคนี้ เพื่อสอบถามข้อมูลหรือขอคำแนะนำจากแพทย์ พยาบาล ในการปฐมพยาบาล หรือการแก้ปัญหาเบื้องต้นระหว่างการเดินทางมายังสถานพยาบาล

สุขภาพดี ยุคดิจิทัลด้วย Digital Healthcare

5. ปรับแนวทางการดูแลรักษาต่อเนื่องหลังจากอาการเจ็บป่วย 

          การติดตามอาการผู้ป่วยหลังจากที่การรักษาสิ้นสุดลงแล้ว อาจจะมีการใช้ระบบการแพทย์ทางไกลในการติดตามผลการรักษามากขึ้น โดยเมื่อครบกำหนดการติดตามผลการรักษา ผู้ป่วยสามารถส่งผลการตรวจร่างกายในเวลานั้น หรือสามารถไปตรวจร่างกายผ่านคลินิกใกล้บ้านตามที่แพทย์สั่ง จากนั้นข้อมูลเหล่านั้นจะถูกส่งตรงไปถึงแพทย์ที่ทำการรักษา โดยแพทย์สามารถวินิจฉัย โทรสอบถามอาการ ให้คำแนะนำ หรือสั่งยาและเวชภัณฑ์ต่าง ๆ ให้กับผู้ป่วยได้ โดยผู้ป่วยไม่จำเป็นต้องเดินทางไปที่โรงพยาบาลเลย ซึ่งจะช่วยให้ลดความแออัดที่โรงพยาบาล และประหยัดค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เช่น ค่าเดินทางให้แก่ผู้ป่วย รวมถึงยาและเวชภัณฑ์ต่าง ๆ สามารถส่งตรงถึงบ้านของผู้ป่วยได้เช่นกัน

Digital Healthcare

          ปัจจุบัน Digital Healthcare จึงกลายเป็นระบบที่มีบทบาทสำคัญต่อวงการอุตสาหกรรมทางการแพทย์ และการบริการด้านสาธารณสุขทั่วโลก การระบาดใหญ่จึงอาจเป็นวิกฤตที่มอบโอกาส ช่วยพลิกโฉมใหม่ของธุรกิจโรงพยาบาลตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค ทั้งด้านประสิทธิภาพการรักษา และความปลอดภัยด้านข้อมูลต่าง ๆ เป็นหมุดหมายหนึ่งของการสร้างสุขภาพดีแบบชีวิตวิถีใหม่สำหรับสังคมวันนี้และอนาคต

          เมื่อความปลอดภัยของทุกนาทีชีวิตเกี่ยวพันกับการสื่อสาร และการเข้าถึงข้อมูลการรักษาอย่างรวดเร็ว ถูกต้อง แม่นยำ อินเทอร์เน็ตจึงเป็นกุญแจสำคัญที่ช่วยย่นระยะเวลาและเชื่อมโยงทุกสิ่งทุกอย่างได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประหยัดในเวลาอันรวดเร็ว NT Business Solution Expert จึงเป็นตัวเลือกที่ตอบโจทย์ธุรกิจด้านสุขภาพ และธุรกิจอุตสาหกรรมทางการแพทย์ ได้เป็นอย่างดี
หากสนใจสามารถสอบถามบริการเพิ่มเติมได้ที่ Contact Center เบอร์ 1888
หรือติดต่อผ่านทางเว็บไซต์ www.nt-metro-service.com/contact-us

*หมายเหตุ NT Business Solution Expert เฉพาะพื้นที่ที่มีโครงข่ายในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลเท่านั้น

Scroll to Top
nt-business-solution-expert Popup