การแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2564 ส่งผลให้ทัศนคติและพฤติกรรมผู้บริโภคเกิดการปรับเปลี่ยนอย่างสิ้นเชิง ผู้คนเริ่มคุ้นเคยกับการดำเนินชีวิตแบบ New Normal เช่น ลดการเดินทาง ทำงานจากที่บ้าน (Work from Home) ประชุมออนไลน์ การเลือกซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคหลายประเภทผ่านช่องทางออนไลน์ ซึ่งแหล่งซื้อสินค้าไม่จำกัดอยู่เพียงแค่ในประเทศเท่านั้น แต่สามารถสั่งมาจากต่างประเทศได้ไม่ยาก การรับรู้ข่าวสารต่าง ๆ ล้วนผ่านแพลทฟอร์มออนไลน์มากกว่าสื่อออฟไลน์
พฤติกรรมดังกล่าวส่งผลให้ตลาด e-Commerce ขยายขอบเขตกว้างขวางขึ้น ทุกธุรกิจจึงต้องปรับตัวและศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภคยุคใหม่ที่อยู่ในออนไลน์ เพื่อนำข้อมูลมาพัฒนาสินค้าและบริการ ให้ตอบโจทย์ผู้บริโภคที่มีมิติการรับรู้เรื่องต่าง ๆ ที่แตกต่างจากในอดีต
แนวโน้มและมุมมองของผู้บริโภคหลังโควิด-19
เมื่อเดือนธันวาคม 2564 PwC (PricewaterhouseCoopers) ได้เผยแพร่ผลสำรวจมุมมองของผู้บริโภคทั่วโลก (Global Consumer Insights Survey) ที่รวบรวมความคิดเห็นของผู้บริโภคจำนวนกว่า 9,000 ราย รวมถึงผู้บริโภคไทย พบว่า มีสัญญาณการฟื้นตัวของความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่ปรับตัวดีขึ้นหลังจากที่ส่วนใหญ่ได้รับวัคซีนโรคโควิด-19
ผลการสำรวจ พบแนวโน้มและมุมมองโดยสรุป 6 ประเด็นของผู้บริโภคที่น่าจะเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจในการปรับตัว ได้แก่
1. ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคดีขึ้นหลังได้รับวัคซีน
แม้ทั่วโลกยังคงเฝ้าระวังผลกระทบจากโควิดสายพันธุ์โอมิครอน และการกลายพันธุ์ต่อไป แต่ผลสำรวจกลับพบว่าร้อยละ 61 มีมุมมองเชิงบวกต่อภาพรวมการบริโภค แนวโน้มการใช้จ่ายของผู้บริโภคในช่วง 6 เดือนข้างหน้าจะปรับตัวเพิ่มขึ้น ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการที่ประชากรส่วนใหญ่เริ่มทยอยได้รับวัคซีนโควิดแล้ว รูปแบบการทำงานที่มีความยืดหยุ่นมากกว่าเดิม และมีการทำงานแบบไฮบริด (Hybrid Work) มากขึ้น
2. ชอปปิงออนไลน์ผ่านสมาร์ทโฟนได้รับความนิยม
ไม่เป็นที่สงสัยว่าการบริโภคทางช่องทางออนไลน์ได้รับความนิยมอย่างมากในช่วงของการแพร่ระบาดของโควิด-19 พบว่า ร้อยละ 49 ของผู้บริโภคในไทยที่สำรวจซื้อสินค้าผ่านสมาร์ทโฟนในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา เพิ่มจากผลสำรวจปี 2562 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 36 เจ้าของธุรกิจจึงควรเพิ่มช่องทางให้ผู้บริโภคสามารถเข้าถึงผลิตภัณฑ์และบริการได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว มีการนำส่งสินค้าที่มีประสิทธิภาพ
นอกจากนี้ ธุรกิจส่วนใหญ่มีเว็บไซต์หรือแพลทฟอร์มของตัวเองเพื่อใช้เป็นสื่อประชาสัมพันธ์ธุรกิจ และช่วยให้ผู้บริโภคเข้าถึงได้ง่าย จึงควรปรับปรุงช่องทางนี้ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยเสริมเรื่อง User Experience หรือให้ความสำคัญในการออกแบบเว็บไซต์ให้ผู้บริโภคใช้งานง่าย ออกแบบสวยงาม และสามารถเข้าถึงรายละเอียดผลิตภัณฑ์ได้สะดวก เพื่อสร้างความประทับใจ
3. ความปลอดภัยของข้อมูลส่วนตัว
ข้อมูลส่วนบุคคลของผู้บริโภคมีมูลค่ามหาศาลให้แก่ผู้ผลิตสินค้าและบริการ เพราะหมายถึงการนำข้อมูลเหล่านั้นมาปรับใช้ในการนำเสนอสินค้า และบริการที่ตรงใจกลุ่มเป้าหมายในขณะเดียวกันความเป็นส่วนตัวของข้อมูล (Data Privacy) ก็เป็นประเด็นที่กระทบกับธุรกิจทั่วโลก ผลสำรวจของ PwC ระบุว่า ผู้บริโภคชาวไทยร้อยละ 65 มีความกังวลเรื่องความปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคล เจ้าของธุรกิจจึงต้องหาจุดสมดุล ระหว่างการสร้างประสบการณ์ที่ดี และการรักษาความ
ไว้วางใจกับลูกค้า ผ่านการสื่อสารคุณค่าที่ลูกค้าจะได้รับอย่างต่อเนื่อง เพื่อไม่ให้ลูกค้ารู้สึกว่าตัวเองกำลังถูกเอาเปรียบ หรือถูกนำเอาข้อมูลส่วนตัวเหล่านั้นไปหาประโยชน์
4. พิชิตใจผู้บริโภคด้วยการดำเนินธุรกิจที่ใส่ใจความยั่งยืน
ผู้บริโภคชาวไทยให้ความสำคัญกับองค์กรที่ดำเนินธุรกิจโดยคำนึงถึงผลกระทบต่อสังคม สิ่งแวดล้อม และธรรมาภิบาล (Environment, Social and Governance: ESG) เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง รายงานของ PwC พบว่า ร้อยละ 68 ของผู้บริโภคเลือกซื้อสินค้าที่มีแหล่งที่มาที่ชัดเจนและโปร่งใส ขณะที่ ร้อยละ 67 จะซื้อสินค้าจากองค์กรที่ยึดมั่นในคุณค่า และมุ่งมั่นทำในสิ่งที่ถูกต้องเท่านั้น และร้อยละ 66 ของผู้บริโภค ยังเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และสามารถย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ
เป็นความน่าชื่นชมที่พบว่าธุรกิจของคนไทยได้นำปัจจัย ESG มาผนวกเป็นกลยุทธ์ขององค์กรและสื่อสาร โดยพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มุ่งเน้นด้านความยั่งยืนมากขึ้น รวมถึงทำงานร่วมกับคู่ค้าธุรกิจ และผู้มีส่วนได้เสีย เพื่อยกระดับห่วงโซ่อุปทาน และแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างจริงจัง
5. ราคาและความสะดวกยังเป็นปัจจัยหลักของการตัดสินใจซื้อ
แม้มุมมองเรื่องการบริโภคอย่างยั่งยืนจะขยายตัวกว้างขึ้น แต่ราคาและความสะดวกยังคงเป็นปัจจัยสำคัญในการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าและบริการ ผลสำรวจพบว่า “ราคา” ยังคงเป็นปัจจัยลำดับแรกสุดในการตัดสินใจเลือกซื้อ ตามด้วย “ช่องทาง” ในการซื้อ จำนวนร้อยละ 67 ของผู้บริโภคชาวไทยเลือกซื้อสินค้าที่มีราคาดีที่สุด ทั้งช่องทางออนไลน์และออฟไลน์ ในขณะที่ร้อยละ 61 เลือกซื้อสินค้าจากร้านที่มีบริการรับ-ส่งสินค้าที่มีประสิทธิภาพ และร้อยละ 53 เลือกซื้อสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมผ่านช่องทางออนไลน์ และร้อยละ 55 ผ่านทางออฟไลน์
6. ผู้บริโภคส่วนใหญ่ยังไม่มีแผนการเดินทาง
ถึงแม้ว่าในปี 2564 มีการเปิดประเทศและผ่อนคลายมาตรการต่าง ๆ มากกว่าช่วงการระบาดที่ผ่านมา แต่กลับพบว่าผู้บริโภคชาวไทยบางส่วนมีแนวโน้มที่จะเดินทางน้อยลงในช่วง 6 เดือนข้างหน้า (ปี 2565) ร้อยละ 41 ให้คำตอบว่ามีแนวโน้มจะเดินทางไปพักผ่อนที่โรงแรม แต่มูลค่านี้ก็ลดลงจากผลสำรวจในเดือนมิถุนายน 2563 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 54 มีเพียงร้อยละ 34 ที่มีแนวโน้มจะเดินทางในประเทศ เมื่อผู้บริโภคบางส่วนยังมีแนวโน้มที่จะอยู่บ้านต่อไป ระบบเศรษฐกิจการใช้จ่าย และการบริโภคที่บ้าน (Stay-at-Home Economy) ก็ยังคงเป็นเทร็นด์ที่ธุรกิจสามารถนำไปปรับกลยุทธ์การดำเนินงานในปีนี้
(ที่มา: December 2021 Global Consumer Insights Pulse Survey, PwC)
NT Solution มีแพ็กเกจที่เหมาะกับธุรกิจที่หลากหลาย อาทิ ธุรกิจโฮมออฟฟิศ ที่ตอบโจทย์สตาร์ทอัพ SMEs สำนักงานบัญชี Digital Agency ไปจนถึงร้านขายของออนไลน์ ผู้ใช้บริการสามารถควบคุมค่าใช้จ่ายได้สะดวกด้วยแพ็กเกจเหมาจ่ายอินเทอร์เน็ตและโทรศัพท์ สามารถเลือกช่วงเวลาการเพิ่ม speed auto ให้เหมาะสมกับประเภทธุรกิจได้ทั้งกลางวัน หรือกลางคืน
ทุกแพ็กเกจจะมีการสำรวจสถานที่ติดตั้งก่อนทุกครั้ง เพื่อให้มั่นใจว่าการติดตั้งระบบ และพนักงานในบริษัทจะสามารถใช้งานได้สะดวกและมีประสิทธิภาพ รวมทั้งให้คำปรึกษาโดยไม่มีค่าใช้จ่ายตลอดการใช้งาน ตั้งแต่การออกแบบระบบ ปรับปรุงระบบ และติดตั้งระบบ
แนวโน้มพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปโดยเฉพาะการอิงกับโลกออนไลน์ ส่งผลให้สนามรบทางธุรกิจในปีนี้ยังคงเข้มข้นไม่แพ้ปีที่ผ่านมา ธุรกิจที่เรียนรู้เร็ว ปรับตัวได้ไว จะสามารถรับมือกับสถานการณ์ได้
ธุรกิจที่ให้ความสำคัญกับเทคโนโลยีและนวัตกรรม จะสามารถก้าวไปข้างหน้าโดยนำเสนอสินค้าและบริการที่ตอบสนองผู้บริโภค ในยุคที่ผู้คนมีทางเลือกมากมายและมีช่องทางที่หลากหลายมากยิ่งขึ้น
สอบถามบริการและแพ็กเกจ NT Solution ได้ที่ Contact Center เบอร์ 1888
หรือติดต่อผ่านทางเว็บไซต์ www.nt-metro-service.com/contact-us