ความก้าวหน้าเทคโนโลยี IoT (Internet of Things) ทำให้การตลาด e-Commerce เติบโตอย่างรวดเร็ว โดยมีระบบโลจิสติกส์เป็นส่วนรองรับ ในปัจจุบันธุรกิจให้บริการโลจิสติกส์ได้รับความสนใจจากนักลงทุนทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศเป็นอย่างมาก โดยสามารถพิจารณาได้จากจำนวนผู้ให้บริการโลจิสติกส์ทั้งขนาดกลางและขนาดย่อมที่เข้ามาให้บริการในตลาด มีจำนวนมากขึ้น และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่วนหนึ่งเป็นการที่ภาครัฐเร่งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เช่น รถไฟ ท่าเรือ ถนน ศูนย์กระจายสินค้า และคลังสินค้า ฯลฯ มีการเชื่อมต่อระบบคมนาคมที่หลากหลายรูปแบบ ที่สามารถอำนวยความสะดวกต่อการขนส่งได้ดี รวมไปถึงการเติบโตแบบก้าวกระโดดของธุรกิจ e-Commerce ในประเทศ ทั้งการส่งเสริมเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) และเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้ (SEC) ของรัฐบาล ทำให้ธุรกิจให้บริการโลจิสติกส์กลายเป็นธุรกิจดาวเด่นที่มีมูลค่าทางการตลาดเพิ่มขึ้นมาโดยตลอด โดยในทุกวันนี้มีธุรกิจให้บริการโลจิสติกส์ทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น 24,852 ราย
(ที่มา:กรมพัฒนาธุรกิจการค้ากระทรวงพาณิชย์ https://www.dbd.go.th/news_view.php?nid=469414627)
มาเปิดรับ และปรับแนวคิดใหม่ ๆ เพื่อให้โลจิสติกส์เข้ามาช่วยในการดำเนินธุรกิจให้เติบโต มั่นคง แข็งแกร่งต่อไป
โลจิสติกส์ คืออะไร
โลจิสติกส์ (Logistics) หมายถึงระบบการจัดส่งสินค้า สิ่งของ หรือทรัพยากรใดก็ตาม จากแต่ละสถานที่ไปยังจุดหมาย รวมไปถึงการบริหารสินค้าคงคลัง การจัดการบรรจุหีบห่อ โดยมีจุดประสงค์หลักคือ การนำส่งของไปถึงมือผู้รับอย่างเรียบร้อย สมบูรณ์ ปลอดภัย ธุรกิจนี้มีความสำคัญต่อ Supply Chain อย่างมาก เนื่องจากกระบวนการจัดส่งสินค้านั้นต้องใช้เงินทุนจำนวนมหาศาล ผู้ประกอบการจำนวนมากจึงเลือกที่จะใช้บริการโลจิสติกส์เพื่อเป็นสื่อกลางในการนำส่งสินค้าของตนไปยังลูกค้า ในความเป็นจริงงานโลจิสติกส์รองรับการตลาดทุกช่องทาง ไม่ว่าจะออฟไลน์หรือออนไลน์ ด้วยเหตุนี้ธุรกิจโลจิสติกส์จึงเกิดการขยายตัวสูง และมีการพัฒนาโครงข่ายครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศ
จุดเด่นของธุรกิจโลจิกติกส์
ถึงแม้ว่าโลจิสติกส์จะเป็นธุรกิจที่ถือกำเนิดมานานแล้ว แต่เพิ่งจะมีอัตราการขยายตัวสูงเมื่อประมาณทศวรรษที่ผ่านมาเพราะความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ทำให้ธุรกิจโลจิสติกส์กลับมาได้รับความสนใจอีกครั้ง ประการสำคัญ โลจิสติกส์ยังเป็นอุตสาหกรรมเพียงไม่กี่ประเภทที่อยู่รอดในช่วงการระบาดของโควิด-19 ทั้งยังมีอัตราการเติบโตสูงอย่างต่อเนื่อง เพราะเป็นตัวเชื่อมระหว่างผลิตภัณฑ์กับผู้บริโภค
มุมมองสำคัญที่ธุรกิจโลจิสติกส์มีปัจจัยต่อธุรกิจในปัจจุบัน
1. e-Commerce สร้างโอกาสให้ธุรกิจโลจิสติกส์
การเติบโตของ e-Commerce ทำให้เกิดพฤติกรรมการสั่งซื้อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์เพิ่มมากขึ้น มีผู้ประกอบการรายย่อยเกิดใหม่จำนวนมาก ประมาณการว่าจำนวนสินค้าที่มีการเคลื่อนย้ายขนส่งแต่ละวัน มีจำนวนไม่ต่ำกว่าหนึ่งล้านชิ้น
e-Commerce กลายเป็นเทร็นด์ของโลกซึ่งมีมูลค่าสูงขึ้นเรื่อย ๆ สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือ ETDA (Electronic Transactions Development Agency) กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เปิดผลสำรวจมูลค่าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย ปี 2564 (Value of e-Commerce Survey in Thailand 2021) พบว่า ในปี 2563 ธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ หรือ e-Commerce ในประเทศไทยมีมูลค่าเท่ากับ 3.78 ล้านล้านบาท และคาดการณ์มูลค่า e-Commerce ในประเทศไทยในปี 2564 ว่าน่าจะเติบโตอยู่ที่ 4.01 ล้านล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 6.11 (ที่มา: https://www.etda.or.th/th/pr-news/ETDA-Reveals-the-Value-of-e-Commerce-in-2021.aspx)
2. ขยายขอบเขตมากกว่าบริการส่งพัสดุ
ถ้ามองย้อนไปดูธุรกิจโลจิสติกส์ในยุคก่อน สิ่งที่คุ้นเคยคือ บริการนำส่งเอกสาร พัสดุ หรือสินค้าจำพวกของคงทนที่ไม่ต้องกังวลเรื่องความเสียหายจากการเน่าเสีย หรือแตกหักเสียหายมากนัก
แต่ในปัจจุบันโลจิสติกส์ขยายขอบเขตจนแทบไม่มีข้อจำกัดของการนำส่งสินค้า ทุกวันนี้มีบริการ Cold Chain Logistic สามารถส่งอาหารแช่แข็งได้ภายในวันเดียว (ในพื้นที่กรุงเทพฯ) หรือส่งผ่านสาขาเครือข่ายเพื่อส่งต่อไปยังภูมิภาคต่าง ๆ โดยกินเวลาเพียงไม่กี่วันก็ถึงมือผู้รับ มีบริการส่งต้นไม้/ไม้ประดับ ที่ต้องดูแลเป็นพิเศษ รวมทั้งการนำส่งอาหารผ่านแบบ LastMile Delivery สังกัดต่าง ๆ ทั้งในกรุงเทพฯ ปริมณฑล และจังหวัดต่าง ๆ
ปัจจัยเหล่านี้เกิดขึ้นเนื่องจากความต้องการของลูกค้ามีความหลากหลาย และเฉพาะเจาะจงมากขึ้น บริการขนส่งที่สามารถเจาะกลุ่มผู้บริโภคที่มีความต้องการเฉพาะทาง ย่อมสามารถดึงส่วนแบ่งทางการตลาดของกิจการโลจิสติกส์ได้
3. On-Demand Delivery ความต้องการใหม่ของผู้บริโภค
ทุกวันนี้การทำธุรกิจไม่ได้แข่งขันเพียงแค่คุณภาพของตัวสินค้า ความรวดเร็วและการนำส่งสินค้าอย่างปลอดภัย ที่มีส่วนมัดใจลูกค้า จึงทำให้เกิดธุรกิจโลจิสติกส์แบบ On-Demand
โดยปกติการสั่งสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ มักจะต้องรอสินค้านำส่งอย่างน้อย 1-3 วัน แล้วแต่พื้นที่ ระยะเวลาที่สูญไป ทำให้ผู้ประกอบการบางรายเห็นโอกาสในการเข้าถึงลูกค้าได้เร็วขึ้น ด้วยการนำส่งสินค้าให้ลูกค้าในทันที แบบที่เรียกว่า On-Demand Delivery
ทว่า On-Demand Delivery มีค่าใช้จ่ายสูงกว่าการจัดส่งสินค้าแบบปกติหลายเท่าตัว เนื่องจากปริมาณที่นำส่งแต่ละครั้งมีจำนวนน้อย และยังไม่มีผู้ลงทุนในด้านนี้อย่างเต็มตัว ด้วยความต้องการใหม่ของผู้บริโภค นี่อาจจูงใจให้สตาร์ทอัพสนใจเริ่มธุรกิจเพื่อแชร์ส่วนแบ่งการตลาดจากอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ที่มีมูลค่ามหาศาลนี้
4. มูลค่าทางการตลาดที่สูงขึ้นทุกปี
ในช่วงปี 2560 – 2562 ธุรกิจโลจิสติกส์ในประเทศไทยมีอัตราเติบโตสูงขึ้นถึงร้อยละ 40 สอดคล้องกับมูลค่า e-Commerce ของประเทศ ที่เติบโตขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 18 ต่อปี พอถึงปี 2563 สถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ยิ่งทำให้ธุรกิจ e-Commerce ทั่วโลกเติบโตสูงขึ้นไปอีก โดยมีการประมาณการณ์กันว่ามีการจัดส่งพัสดุในปีนั้นโดยเฉลี่ยวันละประมาณ 4 ล้านชิ้น
5. พื้นฐานการพัฒนาธุรกิจให้เติบโต
โลจิสติกส์ยังเป็นพื้นฐานในการพัฒนาธุรกิจให้เติบโต เนื่องจากการสร้างระบบขนส่งด้วยตนเองนั้นมีค่าใช้จ่ายที่สูง จึงต้องพึ่งพาการนำส่งพัสดุของโลจิสติกส์ เป็นธุรกิจที่ได้ประโยชน์แบบ win-win ทั้งสองฝ่าย
และเมื่อ e-Commerce มีแนวโน้มที่จะเติบโตอย่างต่อเนื่อง การส่งพัสดุจึงเป็นปัจจัยพื้นฐานของการจำหน่ายสินค้า โดยที่ในอนาคต อาจมีรูปแบบการขนส่งที่ยิ่งเพิ่มความรวดเร็วในการนำส่งถึงมือผู้รับ อาทิ การใช้โดรน หรือใช้หุ่นยนต์ในการขนส่งสินค้าก็ยิ่งเปิดทางเลือกให้เกิดโมเดลธุรกิจโลจิสติกส์ใหม่ ๆ
การตลาดออนไลน์เป็นปัจจัยผลักดันการเติบโตที่สำคัญของธุรกิจในปัจจุบัน เนื่องจากพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปของผู้บริโภค ดังนั้น โลจิสติกส์จึงไม่ใช่แค่เรื่องทางกายภาพ เช่น การจัดตั้งโรงเก็บสินค้าที่ปลอดภัย การบริการที่ดี ส่งของรวดเร็ว หรือดูแลลูกค้าได้ดีแต่เพียงเท่านั้น แต่โลจิสติกส์เป็นเรื่องของระบบและแพลทฟอร์มที่ดี ซึ่งสามารถเก็บรวบรวมข้อมูลและพฤติกรรมของลูกค้าเพื่อใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลพฤติกรรมการบริโภค ในการบริหารจัดการสินค้าเข้าสู่ตลาดให้ตรงตามความต้องการผู้บริโภค กระตุ้นให้เกิดการซื้อสินค้าเพิ่มขึ้นอย่างตรงจุดและสร้างความได้เปรียบทางธุรกิจ
NT Solution มีแพ็กเกจที่เหมาะกับธุรกิจโรงงาน ผู้ผลิตสินค้า คลังสินค้า และบริษัทด้านโลจิสติกส์ ด้วยทีมงานที่มีความชำนาญในการช่วยออกแบบระบบให้เหมาะสมกับรูปแบบโรงงาน และความต้องการในการเชื่อมโยงกับสาขา หรือเครือข่ายธุรกิจทั่วทั้งในประเทศและต่างประเทศ มีประเภทบริการที่หลากหลาย ได้แก่
การใช้งานเลขหมายโทรศัพท์ผ่าน IP Network สามารถกำหนดการใช้สายนอกและสายในได้อย่างสะดวก บริการเชื่อมโยงการโทรเบอร์ประจำของสำนักงานเข้ากับโทรศัพท์มือถือ ผ่าน IP Phone Apps เพิ่มความสะดวกสบายในการติดต่อลูกค้าบริการ
Broadband Internet ความเร็วระดับ Gigabit ช่วยให้การรับส่งข้อมูลขนาดใหญ่ระหว่างสาขา หรือเครือข่าย เป็นไปได้อย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง และบริการ Back-up ผ่านโครงข่าย Next Generation Wireless ช่วยให้ระบบงานที่สำคัญ ไม่ตกหล่นสูญหาย ไม่ขาดการเชื่อมต่อ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ผู้ประกอบการต้องปรับตัวและเปลี่ยนวิธีคิด ซึ่งจะช่วยสร้างความแข็งแกร่ง ให้กับธุรกิจในระยะยาว สอบถามบริการและแพ็กเกจ NT Solutionสามารถติดต่อ Contact Center เบอร์ 1888 หรือติดต่อผ่านทางเว็บไซต์ www.nt-metro-service.com/contact-us