เพิ่มความปลอดภัยให้โรงเรียน ด้วยระบบกล้อง CCTV

            ความคาดหวังของผู้ปกครองที่ส่งบุตรหลานไปโรงเรียนคงหนีไม่พ้นเรื่องการเพิ่มพูนวิชาความรู้ ทักษะการอยู่ร่วมกันในสังคม การช่วยเหลือและดูแลตัวเอง การรู้จักสร้างความสัมพันธ์กับผู้อื่น และพัฒนาการด้านต่าง ๆ ตามวัย และในขณะเดียวกัน โรงเรียนก็ถือว่าเป็นสถานที่ที่ปลอดภัยสำหรับเด็กเป็นอันดับต้น ๆ รองจากบ้านหรือที่พักอาศัย เพราะเด็ก ๆ จะใช้เวลาอยู่ในโรงเรียนสัปดาห์ละ 5 วัน วันละประมาณ 8-10 ชั่วโมง ดังนั้น ความปลอดภัยในโรงเรียนจึงเป็นปัจจัยแรก ๆ ในการเลือกโรงเรียนให้กับบุตรหลานของผู้ปกครอง โดยไม่ได้พิจารณาเฉพาะความกว้างขวางของสถานที่ สถานที่ตั้งของโรงเรียน สภาพแวดล้อมภายในและภายนอกโรงเรียน อาคารเรียนและสาธารณูปโภคต่าง ๆ ภายในโรงเรียน แต่รวมไปถึงระบบรักษาความปลอดภัยของโรงเรียนอีกด้วย

            ในปัจจุบันเราจะเห็นข่าวคราวของความรุนแรงที่เกิดขึ้นในโรงเรียนบ่อยครั้งไม่ว่าจะเป็นโรงเรียนหรือสถานศึกษาในระดับสูง ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ความรุนแรงในโรงเรียนไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะกับนักเรียน แต่อาจจะเกิดขึ้นกับบุคลากรของโรงเรียนและผู้เกี่ยวข้องในบริเวณโดยรอบได้ด้วย ซึ่งความรุนแรงบางอย่างก็อาจนำไปสู่อันตรายด้านจิตใจและร่างกาย

            เมื่อปัญหาความรุนแรงเกิดขึ้นนั้นจะส่งผลกระทบต่อนักเรียนเป็นอย่างมาก เช่น ทำให้เกิดการขาดเรียนติดต่อกัน ประสิทธิภาพในการเรียนลดลง มีปัญหาเรื่องการปรับตัวให้เข้ากับสังคม มีปัญหาทั้งด้านสุขภาพจิตและสุขภาพกาย หรือบางรายอาจจะต้องลาออกจากโรงเรียน และในขณะเดียวกันความรุนแรงที่เกิดขึ้นในโรงเรียนก็ยังส่งผลกระทบต่อโรงเรียนอีกด้วยทั้งในด้านชื่อเสียงและภาพลักษณ์ของโรงเรียน

อย่างไรก็ตาม การแก้ปัญหาความรุนแรงภายในโรงเรียน อาจจะดำเนินการได้ 2 วิธีกว้าง ๆ ได้แก่ วิธีการเชิงบวก เช่น การสร้างบรรยากาศแห่งการเรียนรู้ที่ปลอดภัยในโรงเรียนหรือห้องเรียน สร้างความตระหนักให้นักเรียนเห็นความสำคัญของการช่วยเหลือดูแลกันในหมู่เพื่อนฝูง หรือสอนให้นักเรียนรู้จักรายงานผู้สอนเมื่อพบเห็นพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมภายในโรงเรียน และอีกหนึ่งวิธีคือ วิธีการเชิงลบ เช่น การเพิ่มการลงโทษกับผู้ที่ก่อความรุนแรงในโรงเรียน การตัดคะแนนความประพฤติในกรณีที่ผู้กระทำเป็นนักเรียน หรือการลดขั้นเงินเดือนหรือให้ออกจากงานสำหรับบุคลากรของโรงเรียน เป็นต้น [1]

โรงเรียนคือสถานที่ปลอดภัยสำหรับเด็ก

            การจัดการความปลอดภัยสำหรับนักเรียนถือว่าเป็นการบริหารงานที่สำคัญอย่างหนึ่งของโรงเรียน [2]

โดยแผนการศึกษาชาติปี 2560-2579 ได้ให้ความสำคัญกับการเปลี่ยนแปลงการศึกษาตามพลวัตความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีในศตวรรษที่ 21 ซึ่งจะมีการเปลี่ยนแปลงในหลาย ๆ มิติที่เป็นเชิงบวก ในขณะเดียวกันก็เกิดผลกระทบเชิงลบตามมา เช่น เกิดภัยคุกคามด้านไซเบอร์ การก่ออาชญากรรมที่รุนแรงและมีความซับซ้อน ซึ่งภัยคุกคามต่าง ๆ ก็อาจเกิดขึ้นได้กับสถานศึกษาเช่นกัน ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการเองก็ได้มีการขับเคลื่อน 7 วาระเร่งด่วน หรือ Quickwin เมื่อปีพ.ศ. 2564 โดยวาระแรกคือ “เรื่องความปลอดภัยของผู้เรียน” โดยเน้นให้มีการจัดรูปแบบ วิธีการ หรือกระบวนการในการดูแลช่วยเหลือนักเรียนเพื่อให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ มีความสุข ได้รับการปกป้องคุ้มครองความปลอดภัยทั้งร่างกายและจิตใจ รวมถึงสร้างทักษะให้ผู้เรียนมีความสามารถในการดูแลตัวเองจากภัยอันตรายต่าง ๆ ท่ามกลางสภาพสังคมที่เปลี่ยนไป [3] 

ในการดูแลความปลอดภัยภายในโรงเรียน ได้ถูกกำหนดให้มีขอบเขตในการดูแลอยู่ 3 ด้านด้วยกัน คือ [3]

            1. ด้านอาคารสถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวกในโรงเรียนที่ปลอดภัย (Safer Learning Facilities)
            2. ด้านการบริหารจัดการภัยพิบัติในสถานศึกษา (School Disaster Management)
            3. ด้านการศึกษาด้านการลดความเสี่ยงและการรับรู้ปรับตัวจากภัยพิบัติ (Risk Reduction and Resilience Education)

โดยขอบข่ายความปลอดภัยของสถานศึกษาได้ถูกแบ่งออกเป็น 4 กลุ่มภัย ดังนี้ [3]

            1. ภัยที่เกิดจากการใช้ความรุนแรงของมนุษย์ (Violence) ได้แก่ การล่วงละเมิดทางเพศ การทะเลาะวิวาท การกลั่นแกล้งรังแก การชุมนุมประท้วงและการจลาจล การก่อวินาศกรรม การระเบิด สารเคมีและวัตถุอันตราย และการล่อลวง ลักพาตัว
            2. ภัยที่เกิดจากอุบัติเหตุ (Accident) ได้แก่ ภัยธรรมชาติ ภัยจากอาคารเรียน สิ่งก่อสร้าง ภัยจากยานพาหนะ ภัยจากการจัดกิจกรรม และภัยจากเครื่องมืออุปกรณ์
            3. ภัยที่เกิดจากการถูกล่วงละเมิดสิทธิ์ (Rights) ได้แก่ การถูกปล่อยปละละเลย ทอดทิ้ง การคุกคามทางเพศ และการไม่ได้รับความเป็นธรรมจากสังคม
            4. ภัยที่เกิดจากผลกระทบทางสุขภาวะและจิตใจ (Unhealthiness) ได้แก่ ภาวะจิตเวช ติดเกม ยาเสพติด โรคระบาดในมนุษย์ ภัยไซเบอร์ การพนัน มลภาวะเป็นพิษ โรคระบาดในสัตว์ และภาวะทุพโภชนาการ

            โดยในปัจจุบันนี้ หลายโรงเรียนได้มีการนำเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าเข้ามาช่วยในการดูแลรักษาความปลอดภัยให้กับนักเรียน และบุคลากรทางการศึกษา ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ การติดตั้งกล้อง CCTV หรือระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิด ซึ่งถือเป็นแนวทางปฏิบัติในการดำเนินการตามมาตรการการปราบปราม (3 ป) เพื่อให้เกิดความปลอดภัยในสถานศึกษา

สร้างความปลอดภัยด้วย CCTV

            CCTV หรือที่เรียกว่า ระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิด เป็นมาตรฐานในการดูแลความปลอดภัยทั้งภายในและภายนอกอาคาร โดยมีหน้าที่หลักคือ เฝ้าระวังความปลอดภัย ซึ่งมีบทบาทอย่างมากในการช่วยป้องกันความเสียหายของทรัพย์สิน ลดเหตุร้ายต่าง ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นภายในองค์กร และยังสามารถใช้เป็นหลักฐานในการตรวจสอบเหตุการณ์ต่าง ๆ ได้อีกด้วย ซึ่งสำหรับสถานศึกษาแล้ว การพิจารณาเลือกระบบ CCTV จำเป็นต้องให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก ต้องเลือกใช้ระบบ CCTV ที่มีประสิทธิภาพ มีการเชื่อมต่อสัญญาณภาพได้อย่างเสถียร คมชัด ได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่อง และมีบริการหลังการขายด้วยทีมงานผู้เชี่ยวชาญ

            NT บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) จากการควบรวมกิจการระหว่าง TOT และ CAT เป็นรัฐวิสาหกิจที่มีความเชี่ยวชาญด้านการสื่อสารและโทรคมนาคมมาอย่างยาวนาน พร้อมนำเสนอระบบกล้อง CCTV เพื่อช่วยสนับสนุนสถานศึกษาด้านความปลอดภัยให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด โดยระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิดของ NT สามารถจัดเก็บข้อมูลบนคลาวด์ (Cloud) โดยส่งผ่านอินเทอร์เน็ตมาจัดเก็บไว้บน Cloud ที่ได้มาตรฐานและมีความปลอดภัยสูง ผู้ใช้งานสามารถบริหารจัดการระบบและจัดเก็บข้อมูลบน Private Cloud ของผู้ใช้งานผ่านอุปกรณ์รักษาความปลอดภัยที่ได้มาตรฐาน ดังเช่น โรงเรียนนาคดีอนุสรณ์ ที่มีนักเรียนระดับชั้นอนุบาลถึงมัธยมปีที่ 3 ที่มีเป้าหมายคือความปลอดภัยของเด็ก โดยได้นำเหตุการณ์ข่าวการกราดยิงศูนย์เด็กเล็กที่จังหวัดหนองบัวลำภูมาเป็นโจทย์ในการหาวิธีการป้องกันการเกิดเหตุร้ายในโรงเรียน โดยคิดว่าการติดตั้งกล้อง CCTV จะช่วยลดอาชญากรรมที่จะเกิดขึ้นภายในโรงเรียนได้ ทางโรงเรียนจึงมีเป้าหมายที่จะติดตั้งกล้อง CCTV ให้มากขึ้นโดยจะทำโครงการนี้ร่วมกับ NT ต่อไปในอนาคต

            นอกจากการใช้ระบบ CCTV ในสถานศึกษาแล้ว พื้นที่สาธารณะต่าง ๆ ก็ควรต้องคนึงถึงเรื่องนี้เช่นกัน ตัวอย่างเช่น  องค์กรส่วนท้องถิ่นอย่างเทศบาลตำบลอ้อมใหญ่ จ.นครปฐมเอง ก็ได้วางเป้าหมายสำหรับการทำให้เมืองและชุมชนปลอดภัยด้วยกล้อง CCTV โดยมีความตั้งใจอยากจะพัฒนาให้กล้อง CCTV ที่ติดตั้งไปแล้ว สามารถเชื่อมต่อและบันทึกภาพได้ โดยไม่ต้องส่งข้อมูลผ่านสายเคเบิลเนื่องจากพื้นที่อ้อมใหญ่ เป็นพื้นที่ที่มีรถบรรทุกขนาดใหญ่สัญจร ทำให้บางครั้งยานพาหนะมีการเกี่ยวสายเคเบิลชำรุด ซึ่งทางเทศบาลฯ จะได้มอบโจทย์นี้ให้ทาง NT ได้ร่วมให้คำแนะนำต่อไป

            หากต้องการคำแนะนำเบื้องต้นหรือมีข้อสงสัย รวมถึงต้องการปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ สามารถติดต่อสอบถามผ่านช่างทาง Facebook Page : NT shop กรุงเทพฯ และปริมณฑล หน้าเว็บไซต์ https://nt-metro-service.com/ หรือ Line@ : @ntsmesolutionbkk

แหล่งอ้างอิง
[1] https://www.educathai.com/knowledge/articles/483
[2] https://ir.swu.ac.th/jspui/bitstream/123456789/3970/2/Siriporn_A.pdf
[3] http://www.nst1.go.th/home/wp-content/uploads/file/Safety%20School%20Guide%2065.pdf

Scroll to Top
nt-business-solution-expert Popup