Cloud Storage Service

Cloud Storage ยกระดับองค์กรให้ทันสมัย เริ่มจากการเก็บข้อมูล

ภายในองค์กรมีข้อมูลที่ต้องจัดเก็บมากมาย แต่ปริมาณพื้นที่จัดเก็บข้อมูลก็ไม่เพียงพอต่อข้อมูลที่เพิ่มขึ้นทุกวัน ทำให้หลาย ๆ องค์กรเริ่มหันมาจัดเก็บข้อมูลบน Cloud ซึ่งเป็นแหล่งเก็บข้อมูลออนไลน์เพิ่มขึ้น 


Highlight

  • Cloud Storage คือ แหล่งเก็บข้อมูลออนไลน์ขนาดใหญ่ที่ผู้ให้บริการจัดเตรียมไว้ให้ ทำให้ไม่ว่าไกลแค่ไหนสามารถเรียกหรืออัปโหลดข้อมูลได้เพียงใช้รหัสเข้าใช้งานและอินเทอร์เน็ตเชื่อมต่อ
  • ในปัจจุบันมีองค์กรหันมาใช้ Cloud Storage แทน Physical Storage เพิ่มขึ้นเพราะเพิ่มความจุเก็บไฟล์ได้ยืดหยุ่นกว่า ลดปัญหากรณีความจุเต็มได้ สามารถสำรองข้อมูล และลดความเสี่ยงข้อมูลสูญหายได้ เป็นต้น
  • ก่อนเลือกใช้ Cloud Storage ควรพิจารณาจากปัจจัยต่าง ๆ เช่น ขนาดพื้นที่ที่ต้องการจัดเก็บไฟล์ การรองรับอุปกรณ์ที่หลากหลาย มาตรฐานความปลอดภัยของ Cloud Storage นั้น ๆ ความเร็วในการรับส่งข้อมูล และค่าใช้จ่ายในการใช้บริการ เป็นต้น
  • การดูแลระบบ Cloud Storage ทางองค์กรสามารถเลือกได้ว่าจะเป็นผู้ดูแลระบบด้วยตัวเอง(Private Cloud) หรือจะให้ผู้ให้บริการ (Public Cloud) ดูแลให้ หรือแบบผสมผสาน (Hybrid Cloud)


มาทำความรู้จัก Cloud Storage กัน

Cloud Storage

Cloud Storage คือ บริการพื้นที่จัดเก็บข้อมูลต่าง ๆ ผ่าน Cloud ซึ่งเป็น Server ออนไลน์ขนาดใหญ่ โดยใช้อินเทอร์เน็ตเป็นตัวเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น Smartphone หรือ Tablet หรือคอมพิวเตอร์ ทำให้ผู้ใช้งานสามารถเรียกใช้ข้อมูลหรืออัปโหลดข้อมูลเข้าสู่ใน Cloud ได้ทุกที่ทุกเวลา ผ่านการยืนยันตัวตนที่ปลอดภัย

ในส่วนของการดูแลระบบ โดยส่วนมากแล้วทางผู้ให้บริการจะเป็นผู้ที่คอยดูแลระบบทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการจัดเก็บข้อมูล รวมถึงการรักษาความปลอดภัยและเสถียรภาพของระบบ และผู้ให้บริการส่วนใหญ่มีบริการสำรองข้อมูลเพื่อป้องกันข้อมูลสูญหาย ทำให้การจัดเก็บข้อมูลในรูปแบบ Online Storage ได้รับความนิยมมากขึ้นทั้งในหน่วยงานรัฐและเอกชน


ประเภทของ Cloud Storage มีอะไรบ้าง

Cloud Storage มีอะไรบ้าง? ในปัจจุบัน Cloud Storage แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ซึ่ง Cloud แต่ละประเภทจะเหมาะกับรูปแบบการใช้งานและความต้องการที่แตกต่างกัน ดังนี้

Public Cloud

Public Cloud คือ บริการที่ผู้ใช้งานสามารถจัดเก็บข้อมูลบนพื้นที่สาธารณะได้  โดยใช้ทรัพยากรร่วมกับผู้ใช้งานอื่น ๆ ผ่านผู้ให้บริการ (Host) แต่ข้อมูลของแต่ละผู้ใช้งานจะถูกแยกและป้องกันด้วยระบบรักษาความปลอดภัย เหมาะสำหรับองค์กรที่ต้องการความยืดหยุ่นในการใช้งานและต้องการประหยัดค่าใช้จ่ายในการดูแลระบบ

Private Cloud

Private Cloud คือ บริการที่องค์กรหรือผู้ใช้งานสามารถจัดเก็บข้อมูลสำคัญบนโครงสร้างพื้นฐานที่องค์กรควบคุมเอง มีการติดตั้งระบบรักษาความปลอดภัยระดับสูงและจำกัดการเข้าถึงข้อมูล ทำให้สามารถควบคุมความปลอดภัยและการจัดการได้อย่างเต็มที่ เหมาะสำหรับองค์กรที่ต้องการความเป็นส่วนตัวสูงและมีข้อกำหนดด้านการปฏิบัติตามกฎระเบียบที่เข้มงวด

Hybrid Cloud


ทำไมทุกองค์กรถึงควรใช้ Cloud Storage 

หลังจากทำความเข้าใจเกี่ยวกับ Cloud Storage กันไปบ้างแล้ว คุณอาจจะสงสัยว่าทำไมถึงควรใช้ Cloud Storage ทั้ง ๆ ที่มี Physical Storage ที่คุ้นเคยอย่างพวก Hard Disk, SSD หรือ Flash Drive และสามารถใช้เก็บข้อมูลได้เหมือนกัน ในที่นี้เราจะมาบอกสาเหตุว่าทำไมถึงควรนำ Cloud Storage มาใช้ภายในองค์กรมากขึ้น ดังนี้

  1. มีความยืดหยุ่นในการขยายพื้นที่จัดเก็บ (Scalability) สามารถเพิ่มหรือลดขนาดพื้นที่จัดเก็บได้ทันทีตามความต้องการ โดยไม่ต้องลงทุนในฮาร์ดแวร์เพิ่มเติม
  2. มีระบบการจัดการสิทธิ์การเข้าถึง (Access Control) ที่ยืดหยุ่นและปลอดภัย สามารถกำหนดระดับการเข้าถึงข้อมูลได้หลากหลาย ตั้งแต่ระดับบุคคล ทีม หรือทั้งองค์กร
  3. มีระบบรักษาความปลอดภัยระดับสูง (Enterprise-grade Security) ทั้งการเข้ารหัสข้อมูล การป้องกันมัลแวร์ และการตรวจจับภัยคุกคาม ช่วยลดความเสี่ยงจากการโจมตีทางไซเบอร์
  4. มีความน่าเชื่อถือสูง (High Reliability) ด้วยระบบการทำงานแบบกระจายศูนย์ ลดความเสี่ยงจากการสูญเสียข้อมูลเนื่องจากความล้มเหลวของฮาร์ดแวร์
  5. มีระบบสำรองและกู้คืนข้อมูลอัตโนมัติ (Automated Backup & Recovery) พร้อมระบบติดตามประวัติการเปลี่ยนแปลงของไฟล์ (Version Control) ทำให้สามารถกู้คืนข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  6. คุ้มค่าต่อการลงทุนในระยะยาว (Cost-effective) ลดค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาฮาร์ดแวร์ ค่าไฟฟ้า และบุคลากรด้านไอที โดยจ่ายเฉพาะพื้นที่ที่ใช้งานจริง
  7. รองรับการทำงานจากทุกที่ (Anywhere Access) ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานร่วมกันและความคล่องตัวในการดำเนินธุรกิจ

หลักการทำงานของ Cloud Storage 

เก็บข้อมูลบน cloud

การเก็บข้อมูลบน Cloud มีหลักการทำงานที่เป็นระบบไม่ซับซ้อน โดยมีขั้นตอนดังนี้:

  1. การอัปโหลดข้อมูล: ผู้ใช้งานอัปโหลดข้อมูลผ่านอินเทอร์เน็ตไปยัง Cloud Storage โดยข้อมูลจะถูกเข้ารหัส (Encryption) ระหว่างการส่งเพื่อความปลอดภัย
  2. การประมวลผลข้อมูล: ข้อมูลที่อัปโหลดจะถูกส่งไปยังเครือข่ายเซิร์ฟเวอร์ของผู้ให้บริการ ซึ่งจะทำการประมวลผลและจัดการข้อมูลอย่างเป็นระบบ
  3. การจัดเก็บข้อมูล: ข้อมูลจะถูกจัดเก็บในศูนย์ข้อมูล (Data Center) ที่มีระบบรักษาความปลอดภัยหลายชั้น ทั้งทางกายภาพและดิจิทัล โดยมีการสำรองข้อมูลอัตโนมัติไว้ในหลายพื้นที่เพื่อป้องกันการสูญหาย
  4. การเข้าถึงข้อมูล: ผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ผ่านระบบยืนยันตัวตนที่ปลอดภัย เช่น รหัสผ่าน, การยืนยันตัวตนสองชั้น (Two-factor Authentication) หรือระบบ Single Sign-On โดยสามารถกำหนดสิทธิ์การเข้าถึงได้หลายระดับตามความเหมาะสม

ด้วยเหตุนี้จึงทำให้องค์กรต่าง ๆ ในปัจจุบันใช้ Cloud Storage บริการพื้นที่จัดเก็บซึ่งจะช่วยเก็บข้อมูลสำคัญของผู้ใช้งานอย่างปลอดภัย พร้อมเรียกใช้งานได้ตามเวลาที่ต้องการ โดยไม่ต้องกังวลเรื่องการเข้าถึงข้อมูลจากบุคคลภายนอกที่ไม่ได้รับอนุญาต อีกทั้งยังมีระบบสำรองข้อมูลที่มีประสิทธิภาพ ช่วยให้การดำเนินธุรกิจเป็นไปอย่างต่อเนื่องและราบรื่น


ข้อดีและข้อเสียของ Cloud Storage ที่ควรรู้ก่อนใช้งาน

Cloud Storage มีทั้งข้อดีและข้อเสียที่องค์กรควรพิจารณาอย่างรอบคอบก่อนตัดสินใจใช้งาน โดยเฉพาะในยุคที่นโยบาย Bring Your Own Device (BYOD) กำลังเป็นที่นิยม เพื่อให้การเลือกใช้บริการจัดเก็บข้อมูลบนคลาวด์เกิดประโยชน์สูงสุดต่อองค์กร ดังนี้

ข้อดีของ Cloud Storage 

  • ความสะดวกในการเข้าถึง: สนับสนุนนโยบาย BYOD โดยพนักงานสามารถเข้าถึงข้อมูลได้จากอุปกรณ์ส่วนตัวทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็น สมาร์ทโฟน แท็บเล็ต หรือโน้ตบุ๊ก ผ่านการยืนยันตัวตนที่ปลอดภัย
  • ความยืดหยุ่นในการใช้งาน: สามารถปรับขนาดพื้นที่จัดเก็บได้ตามความต้องการแบบทันที (On-demand Scalability) โดยไม่ต้องลงทุนในฮาร์ดแวร์เพิ่มเติม
  • ความปลอดภัยของข้อมูล: มีระบบสำรองข้อมูลอัตโนมัติ การกู้คืนข้อมูล และระบบติดตามประวัติการเปลี่ยนแปลง (Version Control) ที่มีประสิทธิภาพ
  • ความคุ้มค่าในระยะยาว: ประหยัดค่าใช้จ่ายด้านการบำรุงรักษาฮาร์ดแวร์ ระบบไฟฟ้า และบุคลากรไอที โดยเฉพาะสำหรับองค์กรที่มีปริมาณข้อมูลมาก

ข้อเสียของ Cloud Storage 

  • การพึ่งพาอินเทอร์เน็ต: ประสิทธิภาพการใช้งานขึ้นอยู่กับความเสถียรและความเร็วของการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต ควรมีแผนสำรองกรณีการเชื่อมต่อมีปัญหา
  • ความเสี่ยงด้านความปลอดภัย: ต้องพิจารณาเลือกผู้ให้บริการที่มีมาตรฐานความปลอดภัยสูง มีการรับรองมาตรฐานสากล และมีนโยบายการรักษาความปลอดภัยที่เข้มงวด
  • การวิเคราะห์ความคุ้มค่า: อาจมีต้นทุนสูงสำหรับองค์กรขนาดเล็กหรือการใช้งานระยะสั้น ควรวิเคราะห์ความคุ้มค่าเทียบกับทางเลือกอื่น และพิจารณารูปแบบการคิดค่าบริการที่เหมาะสมกับลักษณะการใช้งาน
  • ความท้าทายในการย้ายข้อมูล: การย้ายข้อมูลจำนวนมากไปยังระหว่างผู้ให้บริการ Cloud อาจใช้เวลาและทรัพยากรมาก จึงควรวางแผนการย้ายข้อมูลอย่างรอบคอบ

ปัจจัยใดบ้างที่ควรนำมาพิจารณาก่อนเลือกใช้ Cloud Storage

แม้ว่า Cloud Storage จะช่วยอำนวยความสะดวกสบายในการจัดเก็บข้อมูลปริมาณมากให้สามารถเข้าถึงได้ง่าย และไม่ต้องกังวลเรื่องขนาดและความจุมากนัก แต่ก็จะมีสิ่งที่จำเป็นต้องคำนึงถึงเพื่อเลือกใช้บริการคลาวด์ซึ่งก็คือบริการให้ยืมพื้นที่กักเก็บข้อมูลผ่านช่องทางออนไลน์ ดังนี้

  • ค่าใช้จ่าย โดยปกติแล้วการใช้บริการเก็บข้อมูลบน Cloud มีค่าใช้จ่ายต่างกันขึ้นอยู่กับเงื่อนไขต่าง ๆ เช่น ปริมาณขนาดความจุ ระดับความปลอดภัย การเข้าถึงข้อมูล ดังนั้นก่อนเลือกใช้บริการ Cloud Storage จะต้องพิจารณาถึงความจำเป็นในการใช้งานเพื่อเลือกบริการที่เหมาะสมกับรูปแบบองค์กร
  • ขนาดและประเภทของข้อมูลที่ต้องการจัดเก็บ ควรพิจารณาข้อมูลที่มีการใช้งานภายในองค์กร หากภายในองค์กรใช้ข้อมูลปริมาณมากก็จะต้องเลือกเช่า Cloud ที่ให้ความจุพื้นที่เยอะ ในกรณีที่ต้องการจัดเก็บข้อมูลที่ต้องการความปลอดภัยสูง ควรเลือกบริการเก็บข้อมูลด้วย Private Cloud เพื่อป้องกันไม่ให้ข้อมูลรั่วไหลไปยังภายนอก
  • บริการสำรองข้อมูล ในบางครั้งข้อมูลอาจมีการสูญหายจากเหตุการณ์ไม่คาดฝันต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นจากภัยพิบัติหรือมีเหตุขัดข้องต่าง ๆ ระหว่างทำงาน ดังนั้นจึงควรเลือกใช้ Cloud Storage กับผู้ให้บริการที่มีการสำรองและกู้ข้อมูลให้ในกรณีที่ไฟล์สูญหาย
  • บริการปรับขนาด การจัดเก็บข้อมูลนั้นมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา บางครั้งไฟล์อาจจะมีขนาดเพิ่มขึ้น หรือบางครั้งไฟล์อาจจะมีขนาดรวมลดลง ดังนั้นจึงควรสอบถามการให้บริการเรื่องปรับขนาด Cloud Storage กับผู้ให้บริการก่อน เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อการทำงานภายในองค์กร

เลือกผู้ให้บริการ Cloud Storage อย่างไรให้เหมาะกับองค์กร

Cloud Storage for business

หลังจากที่อ่านปัจจัยที่ควรนำมาพิจารณาก่อนใช้ Cloud Storage กับองค์กรของตนเองแล้ว ก็จะต้องพิจารณาเลือกผู้ให้บริการอย่างละเอียดรอบคอบ เพื่อให้มั่นใจได้ว่าข้อมูลที่คุณฝากฝังไว้จะไม่เกิดการสูญหายหรือรั่วไหลไปยังแหล่งอื่น ๆ โดยจะต้องพิจารณาจากปัจจัยดังต่อไปนี้

  • ระบบความปลอดภัย ผู้ให้บริการจะต้องมีระบบความปลอดภัยที่มีมาตรฐาน เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถจัดเก็บข้อมูลได้อย่างปลอดภัย 
  • พื้นที่การใช้งาน จะต้องเลือกผู้ให้บริการที่จัดสรรพื้นที่กักเก็บข้อมูลในปริมาณมากได้อย่างรวดเร็ว เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถทำงานได้อย่างไม่ติดขัด
  • ฟังก์ชันการใช้งาน ระบบ Cloud Storage ของผู้ให้บริการควรมีฟังก์ชันที่หลากหลาย ตอบโจทย์การใช้งานภายในองค์กร เช่น การแชร์ไฟล์ใน Cloud ไปยังแอปพลิเคชันอื่น ๆ หรือการสร้างเอกสารข้อมูลเพิ่มใน Cloud 
  • การเข้าถึงไฟล์ Cloud Storage ที่ควรรองรับการเข้าถึงไฟล์จากอุปกรณ์หลายรูปแบบนอกเหนือจากคอมพิวเตอร์ เช่น Smart Phone หรือ Tablet เพื่อสามารถใช้งานข้อมูลได้ทุกเมื่อ
  • ราคาค่าบริการ ควรมีค่าบริการ Cloud Storage ที่สมเหตุสมผล สอดคล้องกับฟังก์ชันบริการที่ได้รับ

บริการ Cloud Storage จาก NT ดีอย่างไร

  1. IDC & Cloud บริการข้อมูลอินเทอร์เน็ตครบวงจร สามารถรองรับการเชื่อมต่อ Cloud Data ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และยังมีบริการฝากเว็บไซต์ โดยใช้ระบบรักษาความปลอดภัยขั้นสูง 
  2. Cloud Conference ระบบประชุมทางไกลผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ผู้ใช้งานสามารถเข้าร่วมประชุมผ่านคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์พกพา เช่น Smart Phone ทั้งระบบ iOS และ Android
  3. Cloudbox บริการพื้นที่เก็บข้อมูลออนไลน์ผ่านระบบ Cloud ที่มีความเสถียรภาพและปลอดภัยสูงอีกทั้งยังมีระบบตรวจสอบข้อมูลย้อนหลังและอื่น ๆ 
  4. CCTV on Cloud บริการระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิดที่จัดเก็บข้อมูลบน Cloud ผ่านอินเทอร์เน็ต  และมีระบบ Stand Alone จัดเก็บข้อมูลบน Private Cloud ผ่านอุปกรณ์ที่ปลอดภัย
  5. IRIS Backup บริการสำรองข้อมูล ช่วยป้องกัน รักษาข้อมูลไม่ให้สูญหาย และมีระบบกู้ข้อมูลตามวันและเวลาที่ต้องการได้ และมีระบบตรวจสอบการจัดเก็บข้อมูลที่ซ้ำกันเพื่อประหยัดพื้นที่ใช้งาน
  6. Cloud Service บริการสำรองข้อมูลในรูปแบบ IaaS ซึ่งรวมบริการ license ระบบปฏิบัติการ Windows Server ซึ่งผู้ใช้งานสามารถจัดการทรัพยากรและเลือกสถานที่ใช้บริการได้ด้วยตัวเอง
  7. Carrier Data Center บริการพื้นที่ศูนย์ข้อมูลสำหรับติดตั้งอุปกรณ์เน็ตเวิร์คหรืออุปกรณ์อื่นๆ เพื่อเชื่อมต่อวงจรภายใต้ระบบสาธารณูปโภคพื้นฐาน
  8. Hosted PBX (Cloud PBX) บริการเช่าตู้สาขาโทรศัพท์ผ่าน Cloud Computing เพื่อติดต่อกันโดยใช้เลขภายในโทรไปยังปลายสาย โอนสาย พักสาย ดึงสาย และมีระบบเสียงตอบอัตโนมัติ
  9. Contact Center บริการเฉพาะระบบซึ่งแตกย่อยเป็นบริการอื่น ๆ ให้เลือก เช่น บริการข้อมูลข่าวสาร บริการรับเรื่องติชมหรือร้องเรียน บริการแนะนำและขายสินค้าทางโทรศัพท์ และอื่น ๆ 

บริการ Cloud Storage จาก NT ที่ผู้ใช้บริการประทับใจ ไว้วางใจใช้งาน

จากบริการ Cloud ด้านต่าง ๆ ของ NT ที่ได้นำเสนอไป จะเห็นได้ว่า NT มีบริการที่หลากหลายเพื่อใช้ตอบโจทย์หน่วยงานต่าง ๆ ในแต่ละด้าน ยกตัวอย่างเช่น โรงเรียนนาคดีอนุสรณ์ จังหวัดสมุทรปราการ ที่ให้ความสำคัญกับการจัดเก็บข้อมูลโดยใช้ระบบ Cloud Storage เนื่องจากปัจจุบันทางโรงเรียนพบปัญหาเกี่ยวกับการจัดเก็บข้อมูลในรูปแบบที่เป็นเอกสารจำนวนมาก ทั้งเอกสารภายใน เอกสารส่งออก ภาพกิจกรรมต่าง ๆ หรือสื่อการสอนวีดิทัศน์ ซึ่งแต่ละปีก็มีแต่จะเพิ่มมากขึ้น แต่โรงเรียนมีความจำเป็นต้องเก็บเอกสารเหล่านี้ไว้ใช้ในอนาคต 

ทางโรงเรียนจึงมีความไว้วางใจให้ NT เข้ามาช่วยให้คำปรึกษาและวางแผนพัฒนาระบบ Cloud Storage เพื่อการจัดเก็บเอกสารต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น อีกทั้งยังได้กล่าวถึงความประทับใจต่อ NT ดังนี้

“ทางเรามีความประทับใจในสินค้าและบริการของ NT ในหลายส่วน โดยเฉพาะเรื่องการบริการที่มีความรวดเร็วในการเข้ามาแก้ไขปัญหา ทั้งในเรื่องของอินเทอร์เน็ตและเรื่องระบบเครือข่ายภายในโรงเรียน ทาง NT มีการติดต่อสื่อสารกับทางโรงเรียนเป็นอย่างดีอยู่เสมอ ช่วยดูแลให้คำแนะนำเป็นอย่างดี อีกทั้งในส่วนของความเสถียรของอินเทอร์เน็ตที่มีความเสถียรค่อนข้างมาก ทำให้สะดวกในการใช้งาน” คุณยุรี อินทรพันธ์ รองผู้อำนวยการโรงเรียนฯ

บริการ Cloud Storage จาก NT ที่ผู้ใช้บริการประทับใจ ไว้วางใจใช้งาน


สรุป Cloud Storage บริการพื้นที่เก็บข้อมูลออนไลน์ที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ

ระบบ Cloud Storage เป็นโครงสร้างพื้นฐานสำคัญในการพัฒนาองค์กรยุคดิจิทัล ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการข้อมูลและความคล่องตัวในการดำเนินธุรกิจ เหมาะสำหรับองค์กรทุกขนาดทั้งภาครัฐและเอกชน 

การเลือกใช้ Cloud Storage ที่เหมาะสมกับความต้องการขององค์กร พร้อมทั้งมีการวางแผนการใช้งานและนโยบายความปลอดภัยที่รัดกุม จะช่วยยกระดับการดำเนินงานขององค์กรให้มีประสิทธิภาพและความปลอดภัยสูงสุด ซึ่งเรา NT เป็นผู้ให้บริการที่มีทีมงานผู้เชี่ยวชาญพร้อมให้คำปรึกษาและช่วยให้องค์กรของคุณมีระบบการจัดเก็บข้อมูลที่เหมาะสม ปลอดภัย และมีประสิทธิภาพ พร้อมสนับสนุนให้การทำงานทุกขั้นตอนราบรื่นและมีประสิทธิภาพสูงสุด

สนใจบริการ Cloud Storage หรืออินเทอร์เน็ตความเร็วสูงสำหรับธุรกิจจาก NT ติดต่อได้ที่


References 

Muhammad Raza. (2024, 20 September). Public vs Private vs Hybrid: Cloud Differences Explained. bmcblogs. https://www.bmc.com/blogs/public-private-hybrid-cloud/

Box News. (2023, 11 January). Cloud storage vs. cloud computing. boxblogs. https://blog.box.com/cloud-storage-vs-cloud-computing
Lydia Pang. (2023, 31 March). What is cloud storage and how does it work?. Proton. https://proton.me/blog/cloud-storage

Scroll to Top
nt-business-solution-expert Popup