บริการ NT Corporate Internet ตอบโจทย์ Smart City / Smart Government

            ในสถานการณ์โลกปัจจุบัน มีแนวโน้มการเพิ่มมากขึ้นของเมืองขนาดใหญ่แบบมหานคร หรือ Mega Urban City โดยองค์การสหประชาชาติ (United Nation) ได้ประมาณการว่าในปี ค.ศ.2050 จะมีจำนวนประชากรบนโลกเพิ่มขึ้นอีก 2,000 ล้านคน ส่งผลให้เมืองขนาดใหญ่แบบมหานคร มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นในอีก 15 ปีข้างหน้า และด้วยสถานการณ์ปัจจุบันที่มีการเปลี่ยนแปลงทั้งด้านสภาพภูมิอากาศ สิ่งแวดล้อม โรคระบาดร้ายแรง รวมทั้งความเจริญก้าวหน้าในวิทยาการสาขาต่างๆ ล้วนส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของผู้คน รวมทั้งสภาพความเป็นอยู่ในเมืองและท้องถิ่นต่างๆ [1]

            การดูแลบริหารจัดการเมืองจึงเป็นเรื่องสำคัญ หลายประเทศได้ตระหนักและเล็งเห็นความสำคัญของการพัฒนาเมืองโดยมีการนำเอาเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตประจำวันของประชาชนมาใช้ เพื่อลดค่าใช้จ่ายและลดการบริโภคทรัพยากรของประชาชน แต่ในขณะเดียวกันประชาชนก็ยังสามารถอาศัยอยู่ในเมืองได้โดยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ทั้งนี้ ได้มีการนำเอาแนวคิดเรื่องการเติบโตของมหานคร และความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยี มาพัฒนาผนวกรวมกันเป็นมิติใหม่ กลายเป็น “เมืองอัจฉริยะ” หรือ “Smart City”

            “Smart City” หมายถึง เมืองที่ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ทันสมัยตอบโจทย์ความต้องการของคนยุคใหม่ได้อย่างชาญฉลาด โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการให้บริการและการบริหารจัดการเมือง ลดค่าใช้จ่ายและการใช้ทรัพยากรของเมืองและประชากรเป้าหมาย เน้นการออกแบบที่ดี และการมีส่วนร่วมของภาคธุรกิจและภาคประชาชนในการพัฒนาเมือง ภายใต้แนวคิดการพัฒนาเมืองน่าอยู่ เมืองทันสมัย ให้ประชาชนในเมืองมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีความสุข อย่างยั่งยืน [2]

            ในต่างประเทศมีหลาย ๆ เมืองได้นำแนวคิด Smart City ไปปรับและใช้อย่างจริงจัง จนเกิดผลดีต่อประชากรที่อาศัยอยู่ในเมืองเหล่านั้น เช่น โคเปนเฮเกน เมืองหลวงของประเทศเดนมาร์ก เป็นเมืองที่มีความเป็นอัจฉริยะมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ได้มีการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการบริหารจัดการเมืองในด้านต่างๆ เช่น ใช้ระบบอัจฉริยะในการควบคุมไฟบนท้องถนน ใช้พลังงานแสงอาทิตย์ในที่สาธารณะ มีการใช้ application ในการหาที่จอดรถว่างในเมือง การใช้สมาร์ตโฟนควบคุมการเปิดปิดเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน มีเครือข่ายการแลกเปลี่ยนจักรยาน เป็นต้น [1]

            สำหรับในประเทศไทย รัฐบาลได้ตั้งเป้าหมายการพัฒนาเมืองอัจฉริยะออกเป็นกรอบระยะเวลา เริ่มจากปีพ.ศ. 2561-2562 ที่กำหนดให้มีเมืองอัจฉริยะ 10 เมือง ใน 7 จังหวัด ปีพ.ศ. 2562-2563 กำหนดให้มีเมืองอัจฉริยะ 30 เมือง ใน 24 จังหวัด ปีพ.ศ. 2563-2564 กำหนดให้มีเมืองอัจฉริยะ 60 เมือง ใน 30 จังหวัด และ ปีพ.ศ. 2565 จะมีเมืองอัจฉริยะ 100 เมือง ใน 76 จังหวัด และกรุงเทพมหานคร [2]

            ทั้งนี้ ในการที่จะเป็น Smart City ได้นั้น จะต้องมีการพัฒนาเมืองในหลายมิติเพื่อให้ครอบคลุมทุกด้านที่เกี่ยวข้องกับการใช้ชีวิตของประชาชนในเมือง โดยมีมิติที่สำคัญอยู่ 7 มิติ ได้แก่ [2]

            1. สิ่งแวดล้อมอัจฉริยะ (Smart Environment) เป็นเมืองที่มุ่งเน้นการติดตามเฝ้าระวัง ปรับปรุงคุณภาพ เพิ่มประสิทธิภาพของสิ่งแวดล้อมและสภาวะแวดล้อม เช่น การจัดการน้ำ การดูแลสภาพอากาศ การเฝ้าระวังภัยพิบัติ เป็นต้น
            2. การเดินทางและขนส่งอัจฉริยะ (Smart Mobility) เป็นเมืองที่มุ่งเน้นเพิ่มความสะดวก ความปลอดภัย และประสิทธิภาพของการเดินทางและขนส่ง รวมทั้งเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
            3. การดำรงชีวิตอัจฉริยะ (Smart Living) เป็นเมืองที่มุ่งเน้นการให้บริการที่อำนวยความสะดวกต่อการดำรงชีวิต เช่น การบริการด้านสุขภาพให้ประชาชน การเตรียมพร้อมเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ การเฝ้าระวังภัยจากอาชญากรรม เป็นต้น
            4. พลเมืองอัจฉริยะ (Smart People) เป็นเมืองที่มุ่งเน้นพัฒนาพลเมืองให้มีความรู้ และสามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์ทั้งเชิงเศรษฐกิจและการดำรงชีพ สร้างสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์และการเรียนรู้นอกระบบ รวมทั้งส่งเสริมการอยู่ร่วมกันด้วยความหลากหลายทางสังคม
            5. พลังงานอัจฉริยะ (Smart Energy) เป็นเมืองที่มุ่งเน้นการเพิ่มประสิทธิภาพของการใช้พลังงานของเมือง หรือใช้พลังงานทางเลือกที่เป็นพลังงานสะอาด เช่น ไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน เชื้อเพลิงชีวมวล เป็นต้น
            6. เศรษฐกิจอัจฉริยะ (Smart Economy) เป็นเมืองที่มุ่งเน้นการเพิ่มประสิทธิภาพและความคล่องตัวในการดำเนินธุรกิจ สร้างความร่วมมือทางธุรกิจโดยประยุกต์ใช้นวัตกรรมในการพัฒนาเพื่อปรับเปลี่ยนธุรกิจ เช่น เมืองเกษตรอัจฉริยะ เป็นต้น
            7. การบริหารภาครัฐอัจฉริยะ (Smart Governance) เป็นเมืองที่มุ่งเน้นการพัฒนาระบบบริการเพื่อให้ประชาชนเข้าถึงบริการของภาครัฐได้สะดวก รวดเร็ว เพิ่มช่องทางการมีส่วนร่วมของประชาชน รวมถึงเปิดให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลทำให้เกิดความโปร่งใส ตรวจสอบได้

            จากมิติสำคัญในการพัฒนาเมืองทั้ง 7 ข้อ ล้วนแล้วแต่มีส่วนเกี่ยวข้องกับภาครัฐทั้งสิ้น หากทำการขยายความในมิติสำคัญข้อที่ 7 คือ การบริหารภาครัฐอัจฉริยะ (Smart Governance) ก็จะพบว่า การที่จะพัฒนาพื้นที่ให้เป็น Smart City ที่ตอบโจทย์ความต้องการของประชาชนและทันต่อการเปลี่ยนแปลงนั้น ปัจจัยหลักคือ การมี “ระบบ” ที่ให้ประชาชนเข้าถึงการบริการอย่างสะดวก รวดเร็ว โดยรัฐบาลได้ตั้งเป้าหมายไว้ว่าภายในปี พ.ศ. 2565-2566 ทุกหน่วยงานรัฐจะต้องมีคลังข้อมูลและใช้ข้อมูลเดียวกัน เชื่อมโยงกัน เพื่อให้ประชาชนได้ประโยชน์สูงสุด ซึ่งการเลือกใช้ระบบอินเทอร์เน็ตที่มีความเสถียรและปลอดภัยอย่าง Corporate Internet ดูเหมือนจะเป็นคำตอบที่เหมาะสมสำหรับการขับเคลื่อนนี้ [3]

            Corporate Internet คือ บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงสําหรับองค์กร ที่เลือกความเร็วได้ตามความต้องการใช้งาน สามารถรับส่งข้อมูลด้วยความเร็วสูงสุด ด้วยการเชื่อมต่อบนโครงข่ายเส้นใยแก้วนําแสงแบบส่วนตัว ทำให้ใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ โดยมีการเชื่อมต่อทั้งในประเทศและต่างประเทศผ่านอินเทอร์เน็ตเกตเวย์ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศและเชื่อมต่อตรงกับเกตเวย์หลักทั่วโลก ผ่านเคเบิลใต้น้ำระหว่างประเทศ 6 เส้นทาง

นอกเหนือจากการเชื่อมต่อระหว่างประเทศ 6 เส้นทางหลักแล้ว จุดเด่นของ Corporate Internet ยังมีมากมาย ดังนี้

1. สามารถใช้งานได้เต็มความเร็วสูงสุด
            • NT Corporate Internet มีการแยกช่องสัญญาณระหว่างลูกค้าองค์กรกับกลุ่มลูกค้าทั่วไป ทำให้ความหนาแน่นของการใช้งานแยกกัน สามารถใช้ความเร็วสูงสุดได้ตามแพ็คเกจที่ซื้อ
            • การเชื่อมต่อแบบจุดต่อจุด ใช้งานได้เต็มประสิทธิภาพไม่แชร์ความเร็วกับองค์กรอื่น
            • สามารถเลือกสื่อสัญญาณได้ทั้งแบบ Ethernet, MPLS (เป็นไปตามมาตรฐานสากล MEF CE 3.0)
            • สามารถออกแบบการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้เองตามการใช้งาน
            • เพิ่มการดูแลพิเศษด้วยระบบ DDoS Attack Protection โดย ARBOR

2. รับประกันประสิทธิภาพในการรับส่งข้อมูล
            • ลดภาระการบริหารจัดการเครือข่าย ด้วยบริการจากทีม NT ดูแลอย่างใกล้ชิด
            • สามารถออกแบบการใช้งานความเร็วได้ตามต้องการ แบ่งรูปแบบการใช้งานตามโครงสร้างองค์กรได้
            • สามารถวิเคราะห์การใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพด้วยระบบ MRTG (Multi Router Traffic Grapher) Monitoring ดูรายงานกราฟสรุปการใช้งานได้แบบรายวัน รายเดือน และรายปี

3. การรับส่งข้อมูลทั้งในและต่างประเทศ
            • เชื่อมต่อตรงทั้งในประเทศและต่างประเทศ ทําให้ใช้งานอินเทอร์เน็ตได้เต็มประสิทธิภาพสูงสุด ผ่าน NT IIG, Thailand IX และ IX ชั้นนํา ซึ่งจะเหมาะสำหรับกลุ่มภาครัฐที่ต้องติดต่อประสานงานกับต่างประเทศ เช่น สถานทูต หน่วยตรวจคนเข้าเมือง ศุลกากร เป็นต้น
            • มีโครงข่ายครอบคลุมทั่วประเทศสามารถเข้าถึงทุกพื้นที่

4. บริการหลังการขาย (AFTER SALES SERVICE)
            • รับประกันคุณภาพบริการ SLA 99.8% จากความเร็วอินเทอร์เน็ตที่ได้เลือกไว้
            • มีบริการดูแลหลังการขาย ทุกวันตลอด24 ชั่วโมง

            จากจุดเด่นที่กล่าวมาข้างต้น จะเห็นได้ว่า Corporate Internet นั้น สามารถทำการปรับแต่งให้เหมาะสมกับการใช้งานที่หลากหลาย โดย NT จะทำการวิเคราะห์ปัญหาและความต้องการของลูกค้า พร้อมทั้งให้คำแนะนำที่เหมาะสม หลังจากนั้นจึงลงมือติดตั้งและปรับแก้หากมีข้อปรับเปลี่ยน ซึ่งลูกค้าสามารถเพิ่มหรือลดบริการ หรือเปลี่ยนแปลงขอบเขตงานใหม่ได้ และสิ่งที่สำคัญคือ NT Corporate Internet มีความปลอดภัยสูงมากเมื่อเทียบกับอินเทอร์เน็ตบ้าน เนื่องจาก NT มีการแยกช่องสัญญาณระหว่างกลุ่มลูกค้าที่เป็นองค์กรกับกลุ่มลูกค้าทั่วไป ดังนั้น การเชื่อมต่อแบบจุดต่อจุดจึงทำให้สามารถใช้งานได้เต็มประสิทธิภาพโดยไม่ต้องมีการแชร์ความเร็วกับองค์กรอื่น

นอกจากนี้แล้ว NT Corporate Internet ยังสามารถประยุกต์ใช้กับหน่วยงานภาครัฐได้มากมาย เช่น
            • การจัดทำระบบอินเทอร์เน็ตภายในองค์กรสำหรับการอัปโหลดเอกสารสำคัญ การเก็บไฟล์เข้า Could Storage ซึ่งจะช่วยให้การทำงานเป็นระบบระเบียบมากขึ้น
            • การใช้อินเทอร์เน็ตภายใน ในการทำงานประจำวัน เช่น VDO Call meeting การดาวน์โหลดเอกสารต่าง ๆ ป้องกันการรั่วไหลทำให้ข้อมูลภายในองค์กรถูกเก็บรักษาเป็นความลับ
            • การวางระบบอินเทอร์เน็ตเพื่อให้การรับส่งข้อมูลเป็นไปได้ด้วยความรวดเร็วและเสถียร ในช่วงที่มีปริมาณการใช้งานที่เยอะหรือในช่วงเวลาเร่งด่วน
            • การติดตั้งในหน่วยงานสาธารณภัยหรือจุดฉุกเฉิน ซึ่งสามารถใช้งานได้ในกรณีเร่งด่วน เช่น ลานอเนกประสงค์ประจำชุมชนที่ต้องมีกิจกรรมหรือการระดมความช่วยเหลือบ่อยครั้ง

            NT เป็นหน่วยงานที่เกิดจากการควบรวมกิจการของสองบริษัทที่มีความเชี่ยวชาญทางด้านเครือข่ายและโทรคมนาคม คือบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) หรือ TOT กับ บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) หรือ CAT ทำให้ NT เป็นบริษัทที่มีโครงสร้างพื้นฐานที่ครบวงจรตอบโจทย์เรื่องการสื่อสารและเทคโนโลยีทันสมัย อีกทั้งมีความพร้อมในเรื่องของนวัตกรรมที่จะอำนวยความสะดวกให้กับผู้บริโภคหลากหลายรูปแบบ ซึ่งจุดเด่นนี้สามารถนำมาใช้พัฒนาเมืองในหลายๆ มิติให้กลายเป็น Smart City ที่ประชาชนสามารถใช้ชีวิตได้อย่างปลอดภัย มีความสุข และมีสิ่งแวดล้อมที่ดี เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

            สำหรับองค์กรภาครัฐ ทั้งขนาดเล็กถึงขนาดใหญ่ หากมีความสนใจในการเพิ่มประสิทธิภาพระบบอินเทอร์เน็ต สามารถติดต่อขอรับคำปรึกษาได้ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย ได้ผ่านทาง Facebook Page : NT shop กรุงเทพและปริมณฑล หรือสามารถติดต่อผ่านทางเว็บไซต์ nt-metro-service.com หรือติดต่อผ่านช่างทาง ID LINE @NTSMESolutionBKK

แหล่งอ้างอิง
[1] https://www.scb.co.th/th/personal-banking/stories/life-style/smart-city.html
[2] https://www.depa.or.th/th/smart-city-plan
[3] https://www.facebook.com/cattelecom/posts/1377637715909135

Scroll to Top
nt-business-solution-expert Popup