API ไม่ใช่เรื่องไกลตัวแต่อย่างใด แต่เป็นเครื่องมือที่สอดแทรกอยู่ในชีวิตประจำวัน เพราะเราใช้งาน API อยู่ตลอดเวลา เช่น เมื่อสั่งอาหารผ่านแอปพลิเคชัน ข้อมูลคำสั่งซื้อของเราไปยังร้านอาหาร หรือการจ่ายเงินผ่านแอปธนาคารหรือ e-Wallet ก็เกิดขึ้นผ่าน API ที่เชื่อมโยงระหว่างแอปพลิเคชันและระบบธนาคาร
API คือหนึ่งในกลไกสำคัญที่ผลักดัน Digital Transformation เพราะช่วยให้ระบบและบริการต่าง ๆ สามารถทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งยังช่วยสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ ที่ตอบโจทย์การใช้ชีวิตและธุรกิจในยุคที่เทคโนโลยีเป็นหัวใจหลัก
Highlight
- API คือ ตัวกลางที่ช่วยให้ระบบและโปรแกรมต่าง ๆ เชื่อมต่อและทำงานร่วมกัน ลดเวลาและต้นทุนในการพัฒนาซอฟต์แวร์
- หลักการทำงานของ API คือการสื่อสารแบบ “คำขอและการตอบกลับ” (Request-Response) ระหว่าง Client และ Server
- ด้วยความสามารถในการเชื่อมต่อระบบต่าง ๆ ทำให้ API เปิดโอกาสให้นักพัฒนาสามารถสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ ๆ ที่ไม่เคยมีมาก่อน
API คืออะไร มาทำความรู้จักกัน
Application Programming Interface หรือชื่อย่อ “API” คือ ตัวกลางที่ทำหน้าที่เชื่อมต่อระหว่างโปรแกรมสองตัวโดยใช้ชุดคำจำกัดความ (Definitions) และโปรโตคอล (Protocols) เพื่อให้โปรแกรมเหล่านั้นสามารถสื่อสารและทำงานร่วมกันได้อย่างราบรื่น API จึงเป็นเหมือนสะพานที่ช่วยให้ระบบต่าง ๆ ทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยให้นักพัฒนาซอฟต์แวร์สามารถเชื่อมต่อระบบได้โดยไม่ต้องเขียนโค้ดทั้งหมดใหม่เอง
ทั้งนี้ API ยังถือเป็นส่วนสำคัญใน ICT Solution เพราะช่วยเสริมสร้างความสามารถในการจัดการและการเชื่อมต่อระบบเทคโนโลยีให้สามารถทำงานร่วมกันได้อย่างสมบูรณ์ ช่วยยกระดับการบริหารจัดการระบบ เพิ่มความยืดหยุ่น และรองรับการเติบโตของธุรกิจในยุคดิจิทัล
หลักการทำงานของ API คืออะไรบ้าง
หลักการทำงานของ API คือการสื่อสารแบบ “คำขอและการตอบกลับ” (Request-Response) ระหว่าง Client และ Server
- Client หมายถึงแอปพลิเคชันฝั่งหน้าบ้าน (Frontend) ที่ผู้ใช้งานสามารถโต้ตอบได้ เช่น เว็บไซต์หรือแอปพลิเคชันมือถือ
- Server ทำหน้าที่จัดการตรรกะของระบบและการทำงานเบื้องหลัง เช่น การเชื่อมต่อฐานข้อมูลและการประมวลผล
ในกระบวนการนี้ API จะทำหน้าที่เป็นชั้นกลาง (Middle Layer) ระหว่าง Client และ Server เพื่อให้สามารถส่งคำร้องขอข้อมูลและรับคำตอบกลับมาได้ โดยสรุปหลักการทำงานของ API สั้น ๆ ให้เข้าใจง่ายได้ดังนี้
- API เป็นเหมือนคนกลาง รับคำขอจากโปรแกรมหนึ่ง (Client) และส่งต่อให้โปรแกรมอีกโปรแกรมหนึ่ง (Server) ดำเนินการ
- รูปแบบการสื่อสาร ใช้ HTTP/HTTPS เป็นโปรโตคอลหลักในการสื่อสาร
- ข้อมูลที่ส่งผ่าน ข้อมูลที่ส่งผ่านไปมาระหว่าง Client และ Server จะอยู่ในรูปแบบของข้อความ (text) เช่น JSON หรือ XML พร้อมสถานะการตอบกลับ เช่น 200 OK, 404 Not Found และอื่น ๆ
ประโยชน์ของ API คืออะไร
การใช้โปรแกรม API (Application Programming Interface) มีประโยชน์มากมายในการพัฒนาระบบซอฟต์แวร์ในปัจจุบัน เนื่องจาก API คือ ตัวช่วยให้การเชื่อมต่อระหว่างแอปพลิเคชันต่าง ๆ และบริการภายนอกเป็นไปได้อย่างราบรื่นและมีประสิทธิภาพ โดยรายละเอียดประโยชน์และข้อดีของ API มีดังนี้
- มีความปลอดภัยสูง การใช้ระบบ API ช่วยให้การเข้าถึงข้อมูลมีความปลอดภัย โดยผู้พัฒนาสามารถกำหนดสิทธิ์การเข้าถึงข้อมูลในระดับต่าง ๆ ได้ การสื่อสารระหว่างระบบจะถูกควบคุมผ่าน API ซึ่งช่วยลดความเสี่ยงจากการที่นักพัฒนาต้องเข้าถึงหรือปรับเปลี่ยนโค้ดของระบบโดยตรง ทำให้ข้อมูลปลอดภัยและไม่ถูกเปิดเผยออกไปภายนอกโดยไม่จำเป็น
- พัฒนาได้เร็วขึ้น เนื่องจากการใช้ API คือ ตัวช่วยให้กระบวนการพัฒนาระบบเป็นไปอย่างรวดเร็ว เพราะสามารถใช้ฟังก์ชันที่มีอยู่แล้ว แทนการพัฒนาใหม่ตั้งแต่ต้น ทำให้ประหยัดเวลา ต้นทุนและทรัพยากรในการพัฒนา
- สามารถใช้ซ้ำได้ ระบบ API คือสิ่งที่ช่วยให้ฟังก์ชันที่พัฒนาขึ้นสามารถนำมาใช้กับแอปพลิเคชันหรือระบบอื่น ๆ ได้โดยไม่ต้องพัฒนาระบบใหม่ ทำให้การเชื่อมต่อผ่าน API ระหว่างระบบเป็นไปได้ง่ายและรวดเร็ว
- รองรับการขยายตัว API ช่วยให้การขยายขนาดของระบบหรือเพิ่มฟังก์ชันใหม่ ๆ เป็นไปได้อย่างง่ายดาย โดยไม่ต้องปรับเปลี่ยนโครงสร้างเดิม ทำให้สามารถรองรับการเติบโตและการเปลี่ยนแปลงไปตามความก้าวหน้าของเทคโนโลยีได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- เพิ่มโอกาสในการสร้างนวัตกรรมใหม่ API เปิดโอกาสให้องค์กรสามารถพัฒนาโซลูชันใหม่ ๆ โดยการเชื่อมต่อกับบริการและข้อมูลจากภายนอก ทำให้สามารถสร้างผลิตภัณฑ์หรือบริการที่สามารถตอบโจทย์ลูกค้าได้ดียิ่งขึ้น
นอกจากนี้ API ยังมีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีเครือข่ายสื่อสารอย่าง FTTx ซึ่งเป็นโครงสร้างพื้นฐานด้านอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง โดย API ช่วยให้การจัดการเครือข่าย การควบคุมอุปกรณ์ และการให้บริการผู้ใช้งานเป็นไปได้อย่างราบรื่น
ประเภท API แบ่งออกได้กี่แบบ
API Service นั้นมีหลายประเภท โดยแต่ละประเภทก็มีการใช้งานที่แตกต่างกันไปตามจุดประสงค์ เพื่อให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น ลองมาดูกันว่าประเภทของ API มีอะไรบ้าง
Public API
Public API คือ API ที่เปิดให้ทุกคนสามารถเข้าถึงและใช้งานได้ โดยไม่จำเป็นต้องมีสิทธิ์การใช้งานพิเศษ แต่อาจมีข้อจำกัดในการใช้งาน เช่น การเรียกใช้ API จะมีจำนวนครั้งที่จำกัด หรือต้องชำระค่าบริการเพิ่มเติม
Private API
Private API ต้องใช้ภายในองค์กรเท่านั้น ไม่เปิดให้บุคคลภายนอกเข้าถึง ซึ่งใช้ในการเชื่อมต่อระบบและข้อมูลต่าง ๆ ภายในองค์กร หรือเพื่อพัฒนาแอปพลิเคชันขององค์กร ข้อดีคือมีความปลอดภัยสูง สามารถปรับแต่งให้เหมาะกับความต้องการ
Partner API
Partner API คือ API ที่เปิดให้เฉพาะพาร์ตเนอร์ที่ได้รับอนุญาตด้านความร่วมมือทางธุรกิจเท่านั้น ส่วนใหญ่ใช้ในกรณีที่ต้องการให้นักพัฒนาภายนอกเข้าถึงข้อมูลเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ หรือพัฒนาแอปพลิเคชันเสริม
Composite API
Composite API จะรวมประเภท API อย่างน้อยสองประเภท เพื่อเรียกใช้ฟังก์ชันการทำงานของหลาย ๆ API เข้าไว้ด้วยกันในการตอบสนองทีเดียว เช่น ใช้ในการพัฒนาแอปพลิเคชันที่ต้องการข้อมูลจากหลายแหล่ง
ตัวอย่างการใช้งาน API มีอะไรบ้าง
เนื่องจากระบบ API มีประโยชน์และเป็นที่นิยมในการใช้งานเป็นอย่างมาก ตัวอย่างการใช้งาน API ที่แพร่หลายในปัจจุบันจะมีดังเช่น
Google Ads API
Google Ads API คือเครื่องมือที่ช่วยให้นักพัฒนาสร้างแอปพลิเคชันเพื่อจัดการบัญชี Google Ads ได้อย่างอัตโนมัติ ช่วยให้ผู้ลงโฆษณาจัดการแคมเปญขนาดใหญ่ได้ง่ายขึ้น เช่น สร้างคีย์เวิร์ด เขียนข้อความโฆษณา เลือกกลุ่มเป้าหมาย สรุปรายงาน และผสานรวมกับระบบอื่น ๆ เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการปรับแต่งกลยุทธ์การโฆษณาให้ตรงตามเป้าหมายมากยิ่งขึ้น
SMS API
SMS API คือ API ที่ช่วยให้นักพัฒนาซอฟต์แวร์สามารถสร้างแอปพลิเคชันที่ส่งและรับข้อความ SMS ได้โดยไม่ต้องพัฒนาระบบการส่งข้อความเองทั้งหมด ตัวอย่างการใช้งาน เช่น การส่งข้อความแจ้งเตือน รหัส OTP ในการยืนยันตัวตน หรือการส่งข้อความบอกโปรโมชันต่าง ๆ
Website API
Website API คือ ช่วยประสานการเขียนโปรแกรมแอปพลิเคชันที่ออกแบบมาเพื่อให้เว็บไซต์สามารถสื่อสารและแลกเปลี่ยนข้อมูลกับแอปพลิเคชันหรือบริการอื่น ๆ บนอินเทอร์เน็ตได้ โดยการใช้ HTTP เป็นโปรโตคอลหลักในการสื่อสาร เช่น เว็บไซต์อีคอมเมิร์ซจะมีการใช้ API เพื่อเชื่อมต่อกับระบบชำระเงิน ระบบจัดส่งสินค้า และระบบติดตามสินค้าคงคลัง
API คือ กุญแจสำคัญสู่ระบบที่เชื่อมต่อกันอย่างราบรื่น
สุดท้ายแล้ว API คือ ตัวกลางสำคัญที่ช่วยให้โปรแกรมและระบบต่าง ๆ สื่อสารและทำงานร่วมกัน โดยไม่ต้องเริ่มต้นเขียนโค้ดใหม่ทั้งหมด ช่วยเพิ่มความสะดวกในการพัฒนาซอฟต์แวร์ ความยืดหยุ่นในการเชื่อมต่อระบบ และลดต้นทุนในกระบวนการทำงาน เช่นเดียวกับการที่ธุรกิจต้องพึ่งพาโครงสร้างพื้นฐานด้านการสื่อสารที่มีความรวดเร็ว
NT National Telecom พร้อมให้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง เช่น FTTx ที่ออกแบบมาเพื่อรองรับการทำงานของระบบ API และเทคโนโลยีอื่น ๆ ที่ต้องการการเชื่อมต่อที่ราบรื่นและรวดเร็ว โซลูชันของ NT ช่วยเพิ่มศักยภาพให้ธุรกิจสามารถใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัล เช่น การประชุมออนไลน์ การจัดเก็บข้อมูลบนคลาวด์ หรือการทำงานร่วมกับ IoT เป็นไปได้อย่างเสถียร
ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับบริการด้านอินเทอร์เน็ตและเทคโนโลยีได้ที่
- Facebook: NT shop กรุงเทพและปริมณฑล
- Line: @NTSMESolutionBKK
- Tel: 02-575-5151
References
Altexsoft. (2024, May 31). What is API: Definition, Types, Specifications, Documentation. https://www.altexsoft.com/blog/what-is-api-definition-types-specifications-documentation/
Michael Goodwin. (2024, April 9). What is an API?. https://www.ibm.com/think/topics/api