นวัตกรรมโลจิสติกส์

ยกระดับธุรกิจลดปัญหาสิ่งแวดล้อมด้วยนวัตกรรมโลจิสติกส์

ในปัจจุบันธุรกิจโลจิสติกส์มีการขยายตัวอย่างเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่การระบาดของโควิด-19 เพิ่มขึ้นสูง เมื่อผู้คนลดการเดินทางออกไปจับจ่ายใช้สอยเพื่อเป็นการลดความเสี่ยงจากโรคระบาด รวมถึงพฤติกรรมของผู้บริโภคที่รักความสะดวกสบายมากขึ้น การเลือกสั่งสินค้าจากแพลตฟอร์มออนไลน์ และเว็บไซต์ต่าง ๆ จึงเป็นทางเลือกที่สำคัญอันดับต้น ๆ  ด้วยเหตุนี้เจ้าของธุรกิจจึงหันมาพัฒนาระบบโลจิสติกส์กันอย่างจริงจังเพื่อให้สามารถแข่งขันได้ แม้แต่แบรนด์ใหญ่ ๆ ก็ให้ความสำคัญในการพัฒนาธุรกิจ D2C (Direct to Consumer) ซึ่งเป็นเทร็นด์ e-Commerce ทั่วโลกและหนึ่งในตัวช่วยสำคัญของธุรกิจโมเดลใหม่นี้คือโลจิสติกส์ 

Direct to consumer (D2C) เป็นการขายสินค้าจากเจ้าของสินค้าโดยผ่านช่องทางการขายของตนเอง มีระบบรวบรวมสินค้า บริการการจัดส่ง และมีช่องทางการชำระเงินของตนเอง ไม่ได้ขายผ่าน Marketplace Platform ด้วยเหตุนี้จึงทำให้เจ้าของสินค้ามีข้อมูลของลูกค้าได้โดยตรง ทราบพฤติกรรมของลูกค้า       

 การขนส่งและโลจิสติกส์ในรูปแบบเดิม เป็นการทำงานแบบ Manual ข้อเสียคือไม่สามารถเก็บข้อมูล (Data) ขนาดใหญ่ให้เป็นที่เป็นทาง การจัดการข้อมูลต่าง ๆ ไม่เป็นระบบ ค้นหายาก และอาจสูญหายได้ ด้วยเหตุนี้เทคโนโลยีด้านโลจิสติกส์จึงได้รับการพัฒนาควบคู่กับวิทยาการด้าน IT มาโดยตลอด โดยทุกวันนี้ระบบโลจิสติกส์ทำงานผ่านการประมวลผลของ
ปัญญาประดิษฐ์  (AI, Advance Analytics และ Automation) ส่งผลให้การทำงานเป็นไปอย่างรวดเร็ว เพิ่มศักยภาพการแข่งขันได้ ซึ่งช่วยประหยัดเวลา และประหยัดพลังงานได้มากขึ้น

นวัตกรรมโลจิสติกส์

แต่โลจิสติกส์ยุคใหม่มิได้หมายถึงระบบการขนส่งที่ช่วยประหยัดพลังงานและประหยัดเวลาเท่านั้น ทว่ายังรวมถึงการจัดระบบคลังสินค้า การประเมินโซ่อุปทานแบบ real time จนถึงการวิเคราะห์เพื่อออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่ช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เฉพาะประเด็นสิ่งแวดล้อม ถูกกำหนดให้เป็นวาระของโลกตามมติที่ประชุม COP26 หรือการประชุมภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ครั้งที่ 26 (UN Climate Change Conference of the Parties-COP26) เมื่อปลายปีที่แล้ว มีการประกาศข้อตกลงให้ 200 ประเทศสมาชิก ประกาศแผนการลดการปล่อยมลพิษภายในปี ค.ศ. 2030 (พ.ศ. 2573) รวมทั้งแผนดำเนินการเพื่อปกป้องธรรมชาติมากขึ้น

นวัตกรรมโลจิสติกส์

5 นวัตกรรมโลจิสติกส์

นวัตกรรมโลจิสติกส์ที่เข้ามายกระดับธุรกิจ และช่วยลดวิกฤตสิ่งแวดล้อม มีดังนี้ 

1.     Artificial and Augmented Intelligence ปัญญาประดิษฐ์ที่ทำงานซับซ้อนได้มากขึ้น

กว่าทศวรรษแล้วที่อุตสาหกรรมโลจิสติกส์เริ่มนำปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI เข้ามาใช้งาน โดยเริ่มจากระบบขนส่งอัจฉริยะ การวางแผนการเดินทาง การวางแผนปฏิบัติงานเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า

ต่อมาก็เพิ่มขีดความสามารถ เมื่อ AI สามารถแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ได้ เช่น การส่งสินค้า การให้บริการรวมถึงการจัดระบบคลังสินค้าอัตโนมัติที่ควบคุมโดยคอมพิวเตอร์ มีการใช้เทคโนโลยี AI เข้ามาเลียนแบบความสามารถของมนุษย์ จนเกิดเป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการจัดลำดับการทำงาน การรับรู้ การคาดการณ์ล่วงหน้า การแก้ไขปัญหา จนถึงช่วยในการตัดสินใจ

ตัวอย่างเช่น การรวมปัญญาประดิษฐ์กับปัญญามนุษย์เพื่อใช้วางแผน
โลจิสติกส์ สามารถใส่ข้อมูลการวางแผนของมนุษย์ให้กับระบบได้เรียนรู้ อาทิ ประสบการณ์ ความรับผิดชอบ การให้บริการลูกค้าความยืดหยุ่นในการทำงาน รวมถึงสามัญสำนึก (อารมณ์ความรู้สึก) ต่าง ๆ ที่สามารถช่วยให้ปัญญาประดิษฐ์สามารถปฏิบัติงานที่ (หากว่าเป็นมนุษย์) ต้องทำซ้ำหลายรอบได้อย่างรวดเร็ว จึงเป็นการทำงานอย่างมืออาชีพ ประหยัดเวลา และประหยัดค่าใช้จ่าย

2.     Real-Time Supply Chain Visibility เข้าถึงข้อมูลโซ่อุปทานแบบเรียลไทม์

Supply Chain Visibility หรือทัศนวิสัยในโซ่อุปทานซึ่งแต่เดิมมีมานานแล้ว
ในสายโลจิสติกส์ ทว่าเมื่อใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยจัดการข้อมูล ก็ทำให้เจ้าของธุรกิจสามารถจัดการข้อมูลของโซ่อุปทานได้แบบ real time

Real-Time Supply Chain Visibility เป็นเทคโนโลยีที่ช่วย
ให้เจ้าของธุรกิจสามารถเข้าถึงข้อมูลที่มีการ update ตลอดเวลา เช่น ข้อมูลการเคลื่อนย้ายสินค้า รูปแบบการจราจร (ได้แก่ สภาพอากาศ สภาพการเดินทางขนส่ง และสภาพถนน) เมื่อพบปัญหาเกี่ยวกับการเดินทางขนส่งสินค้า ก็สามารถดึงข้อมูลดังกล่าวมาใช้วางแผนการเดินทางขนส่งเพื่อหลีกเลี่ยงอุปสรรค และมีความรวดเร็ว ซึ่งจะช่วยในการลดการใช้พลังงานในการขนส่งได้พอสมควร

นอกจากนี้ ยังสามารถใช้งาน IoT censor เป็นเครื่องมือติดตามพัสดุ โดยการติดตั้งเครื่องมือ IoT บนพัสดุเพื่อให้ฝ่ายคลังสินค้าสามารถติดตามสินค้า หรือตรวจสอบการจราจรผ่านบริการ Cloud ได้ตลอด 24 ชั่วโมงการวิเคราะห์และคาดการณ์ข้อมูลแบบเรียลไทม์ จะช่วยให้ผู้ดูแลระบบสามารถปรับเปลี่ยนและจัดการทัศนวิสัยในโซ่อุปทานให้มีประสิทธิภาพตลอดเวลา

3.     Predictive Analytics Platform เครื่องมือคาดการณ์ข้อมูลการขนส่ง และโลจิสติกส์

อุตสาหกรรมโลจิสติกส์จำเป็นต้องเก็บข้อมูลการทำงานไว้เป็นจำนวนมาก การเก็บข้อมูลแบบเดิมทำให้ข้อมูลซึ่งมีปริมาณมหาศาล เป็นไปอย่างกระจัดกระจาย ยากแก่การบริหารจัดการ

เมื่อมีการนำ Data Science เข้ามาใช้บริหารจัดการกับคลังข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) จะช่วยในการดึงข้อมูลเก่า ๆ เอามาใช้ประโยชน์เพื่อการทำนายหรือคาดการณ์ โดยการสร้างแบบจำลองทางสถิติ ช่วยให้สามารถคาดการณ์สิ่งที่อาจจะเกิดขึ้นรวมทั้งช่วยในการจัดการระบบขนส่งเพื่อติดตามและจัดการจัดส่งให้มีประสิทธิภาพ สามารถจัดการกับเหตุการณ์
ที่ไม่คาดคิดที่อาจส่งผลกระทบต่อการขนส่งและโลจิสติกส์ ไม่ว่าจะเป็นสภาพอากาศ การขาดแคลนของสินค้า อุบัติเหตุ รวมทั้งคาดการณ์ระยะเวลาการบำรุงรักษาของเครื่องจักร/เครื่องมือ

การใช้ data-driven (การดำเนินงานด้วยข้อมูลเป็นหลัก) มาช่วยประกอบการตัดสินใจโดยผ่านเครื่องมือคาดการณ์ข้อมูล ช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถทำนายสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้นตั้งแต่ต้นจนจบ สามารถวางแผนป้องกัน/แก้ไข ลดความเสียหาย ลดการใช้พลังงาน และประหยัดค่าใช้จ่าย 

4.     Digital Twins เทคโนโลยีจำลองที่ช่วยอุดรอยรั่วของการขนส่ง

เป็นเทคโนโลยีที่ใช้การจำลองภาพเสมือนจริงของต้นแบบ ซึ่งเกิดจากการรวมเทคโนโลยีหลาย ๆ อย่างเข้ามาด้วยกัน เช่น AI, IoT, Cloud Computing เหมาะกับการศึกษาข้อมูลเชิงลึกของวัตถุ ตั้งแต่อดีต ปัจจุบัน ไปจนถึงคาดการณ์ผลในอนาคตสามารถใช้วิเคราะห์หาจุดด้อยและการวาง
แนวทางอุดรอยรั่ว

ตัวอย่างการใช้ Digital Twins ในการวิเคราะห์ประสิทธิภาพ
วัสดุบรรจุภัณฑ์เพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ได้แก่ IKEA แบรนด์เครื่องแต่งบ้านจากสวีเดนที่มีการเปลี่ยนบรรจุภัณฑ์สินค้าจากโฟมมาเป็นวัสดุสังเคราะห์จากการเพาะเชื้อราของเห็ดเป็นบรรจุภัณฑ์อินทรียวัตถุที่สามารถย่อยสลายได้ในเวลาไม่นาน

ธุรกิจโลจิสติกส์

5.     Eco Logistics การจัดการโลจิสติกส์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

การจัดการโลจิสติกส์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเป็นการดำเนินงานตลอดโซ่อุปทาน ไม่ใช่แค่การปรับเปลี่ยนบรรจุภัณฑ์โดยเริ่มตั้งแต่แหล่งที่มาของวัตถุดิบ การออกแบบผลิตภัณฑ์ กระบวนการผลิต การบริการ การขนส่ง
ทั้งภายในและนอกองค์กรจนถึงการตลาดที่โน้มน้าวผู้บริโภคให้มีส่วนร่วมในการรักษาสิ่งแวดล้อม

ทุกวันนี้ ทั่วโลกร่วมกันกำหนดมาตรการเพื่อลดขยะจากโซ่อุปทาน ในระบบโลจิสติกส์ก็จะมีเรื่อง Eco Warehouse รวมอยู่ด้วย โดยส่งเสริมให้มีการใช้วัสดุที่ใช้ทำบรรจุภัณฑ์สินค้าสามารถ recycle หรือ upcycle ได้

ตัวอย่างเช่น สหภาพยุโรปกำหนดให้ประเทศสมาชิก ใช้บรรจุภัณฑ์ที่สามารถ recycle ได้ครึ่งหนึ่งของบรรจุภัณฑ์สินค้าที่ทำออกมา รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา ประกาศห้ามใช้ถุงพลาสติกในกระบวนการโลจิสติกส์ และต้องใช้กล่องพลาสติกแบบ recycle ได้ ส่วนรัฐบาลญี่ปุ่นออกมาตรการให้ทุกบริษัทใช้วัสดุในการทำบรรจุภัณฑ์สินค้า เป็นวัสดุที่สามารถ reuse หรือ recycle  หรือ upcycle ได้ทั้งหมด

ธุรกิจโลจิสติกส์

NT Solution มีแพ็กเกจที่เหมาะกับธุรกิจโรงงาน ผู้ผลิตสินค้า คลังสินค้า และบริษัทด้านโลจิสติกส์ ด้วยทีมงานที่มีความชำนาญในการช่วยออกแบบระบบให้เหมาะสมกับรูปแบบโรงงานและความต้องการในการเชื่อมโยงกับสาขา หรือเครือข่ายธุรกิจทั่วทั้งในประเทศและต่างประเทศมีประเภทบริการที่หลากหลาย ได้แก่ 

การใช้งานเลขหมายโทรศัพท์ผ่าน IP Network สามารถกำหนดการใช้สายนอกและสายในได้อย่างสะดวก บริการเชื่อมโยงการโทรเบอร์ประจำของสำนักงานเข้ากับโทรศัพท์มือถือ ผ่าน IP Phone Apps เพิ่มความสะดวกสบายในการติดต่อลูกค้าบริการ 

Broadband Internet ความเร็วระดับ Gigabit ช่วยให้การรับส่งข้อมูลขนาดใหญ่ระหว่างสาขา หรือเครือข่าย เป็นไปได้อย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง และบริการ Back-up ผ่านโครงข่าย Next Generation Wireless ช่วยให้ระบบงานที่สำคัญ ไม่ตกหล่นศูนย์หาย ไม่ขาดการเชื่อมต่อ ในโลกวิถีใหม่ การจัดการตลอดวงจรชีวิตของผลิตภัณฑ์ เป็นกุญแจสำคัญของธุรกิจโลจิสติกส์  ช่วยลดต้นทุน รักษาสิ่งแวดล้อม และเพิ่มความสามารถในการตอบสนองกับความต้องการของผู้บริโภค  

หากสนใจติดต่อได้ที่เบอร์ 1888
หรือขอรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ https://nt-metro-service.com/nt-business-solution-expert/

Scroll to Top
nt-business-solution-expert Popup