หากตอนนี้องค์กรของคุณกำลังสนใจหรือมีความริเริ่มที่จะทำ Digital Product เพื่อช่วยขยายโอกาสทางธุรกิจ แต่ยังไม่มั่นใจว่าควรทำหรือไม่ หรือไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นอย่างไรดี ในบทความนี้ ผู้เขียนจะพาผู้อ่านทุกคนมาเข้าใจเกี่ยวกับ Digital Product โดยเริ่มตั้งแต่เข้าใจลักษณะพื้นฐานของ Digital Product, กระบวนการพัฒนา Digital Product เบื้องต้น และสิ่งที่ต้องเตรียมพร้อมเพื่อพัฒนา Digital Product ให้กับองค์กร
สารบัญบทความ
บทที่ 1: ลักษณะพื้นฐานของ Digital Product
Digital Product คืออะไร?
ก่อนทำความรู้จักกับ “Digital Product” ขอชวนนึกถึงคำว่า “Product” กันก่อน
Product (ผลิตภัณฑ์) คือสิ่งที่สร้างขึ้นมาเพื่อ “แก้ปัญหา” หรือ “สร้างความสะดวกสบาย” ให้กับมนุษย์ เช่น ไมโครเวฟที่ถูกผลิตขึ้นมาเพื่อให้เราประหยัดเวลาในการอุ่นอาหารมากขึ้น หรือ น้ำยาล้างจานที่ถูกผลิตขึ้นมาเพื่อช่วยให้เรากำจัดคราบมันที่ติดจานได้ง่ายขึ้น
ดังนั้น Digital Product ก็เป็นสิ่งที่ถูกสร้างขึ้นมาด้วยจุดมุ่งหมายเดียวกันคือการ “แก้ปัญหา” เพียงแต่อยู่ในรูปแบบ Digital ซึ่งไม่สามารถจับต้องได้ ต้องใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สร้างขึ้นมา เช่น Google Maps เป็น Application ที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อให้เราสามารถดูแผนที่ได้ คำนวณเส้นทางการเดินทางจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งได้
จากที่กล่าวมา จะเห็นได้ว่าหัวใจหลักของการสร้าง Product คือ “การแก้ปัญหา” ให้กับมนุษย์ แต่ในเชิงธุรกิจแล้ว การสร้าง Product ขึ้นมาควรจะต้องสร้างมูลค่าให้กับธุรกิจด้วยเช่นกัน
Digital Product ช่วยสร้างมูลค่าให้กับธุรกิจได้อย่างไร?
โดยทั่วไปแล้ว Digital Product สามารถช่วยส่งเสริมธุรกิจใน 3 ประเด็นหลักๆ ดังนี้
- Scalability: ความสามารถในการขยายตัวของธุรกิจ โดยที่ยังคงระดับการลงทุนใกล้เคียงเดิม ทำให้สามารถรองรับลูกค้าได้มากขึ้น เพิ่มศักยภาพในการทำกำไร หรือขยายเข้าสู่ตลาดใหม่ๆ ได้
- Adaptability: ความสามารถในการปรับตัวอย่างรวดเร็วตามความต้องการของลูกค้าที่เปลี่ยนแปลงไป
- Efficiency: ความสามารถในการส่งมอบคุณค่าสู่ลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
เคสตัวอย่างเช่น เว็บไซต์ Amazon.com ซึ่งเป็นเว็บไซต์ขายของออนไลน์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก มีสินค้าหลากหลายประเภท ไม่ว่าจะเป็นหนังสือ เครื่องใช้ไฟฟ้า เสื้อผ้า ของใช้ในบ้าน ฯลฯ โดย Amazon.com ได้ใช้เว็บไซต์ (ซึ่งนับเป็นหนึ่งในประเภทของ Digital Product) มาสร้างมูลค่าให้กับธุรกิจของตนเอง ดังนี้
- เชิง Scalability: หากไม่มีเว็บไซต์ ธุรกิจนี้อาจเปรียบเสมือนห้างสรรพสินค้าแห่งหนึ่ง ซึ่งมีที่ตั้ง และเวลาเปิด-ปิดชัดเจน หากต้องการขยายฐานลูกค้าก็จะต้องสร้างห้างสรรพสินค้าสาขาใหม่ในสถานที่ต่างๆ ขณะที่เมื่อมีเว็บไซต์ ธุรกิจนี้สามารถเข้าถึงลูกค้าได้ทั่วโลก ไม่จำกัดเรื่องเวลาตามเขตพื้นที่อีกด้วย
- เชิง Adaptability: ธุรกิจสามารถนำเสนอสินค้าให้เข้ากันกับเทศกาลต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว โดยใช้เวลาน้อยกว่าการลงทุนแต่งหน้าร้านใหม่ เช่น เมื่อเข้าสู่เทศกาลคริสมาสต์ องค์กรเองสามารถปรับหน้าแสดงสินค้าให้นำเสนอต้นคริสมาสต์ ไฟตกแต่ง ของขวัญ หรือปรับโทนบนเว็บไซต์ให้เข้ากับเทศกาลโดยใช้เวลาไม่นาน รวมถึงวางขายสินค้าก่อนได้โดยที่ไม่ต้องรอให้สินค้าจริงมาส่งที่หน้าร้าน
- เชิง Efficiency: ธุรกิจสามารถทำการค้าขายโดยมีต้นทุนที่ต่ำลง เช่น ลูกค้าสามารถซื้อของได้ด้วยตนเองโดยไม่ต้องมีพนักงานแคชเชียร์ รวมถึงธุรกิจไม่จำเป็นต้องกระจายสินค้าไปยังห้างสรรพสินค้าแต่ละแห่ง เพราะสามารถรับออเดอร์ทางออนไลน์ และส่งของจากคลังสินค้าไปยังจุดรับสินค้าที่ลูกค้าต้องการได้โดยตรง
ตัวอย่างของ Digital Product ในภาคธุรกิจต่างๆ ของไทย
- การเงินการธนาคาร: K PLUS, SCB EASY, เป๋าตัง
- ซื้อขายสินค้าและบริการ: 425Degree, NocNoc, PowerBuy, 7-Eleven, Gowabi, LINEMAN
- ท่องเที่ยวและการเดินทาง: AirAsia MOVE, NokAir, Agoda, Booking
Digital Product เหมาะกับธุรกิจของเราหรือไม่?
Digital Product สามารถสร้างคุณค่าให้กับธุรกิจได้อย่างมากมาย แต่อย่างไรก็ตาม ในการพิจารณาว่าองค์กรของเราควรลงทุนพัฒนา Digital Product หรือไม่ เจ้าของธุรกิจหรือผู้บริหารจำเป็นต้องทำความเข้าใจถึงลักษณะและปัญหาที่แท้จริงของธุรกิจ รวมถึงพฤติกรรมและความต้องการของลูกค้าให้ดีก่อนเสมอ
ยกตัวอย่างเช่น หากเราทำธุรกิจร้านอาหารญี่ปุ่น และต้องการจะเพิ่มกำไรที่มีอยู่ให้สูงขึ้น เมื่อเราได้วิเคราะห์ธุรกิจของเราแล้วพบว่า จุดเด่นของร้านคือ การดูแลชั้นเลิศจากพนักงานและคุณภาพอาหารที่ทำแบบจานต่อจาน แต่ในเรื่องของต้นทุน ส่วนใหญ่มาจากค่าจ้าง ค่าอบรมพนักงาน และค่าวัตถุดิบคุณภาพสูงที่เหลือทิ้งในแต่ละวัน
- หากเรานำ Digital Product มาแทนที่พนักงานเสิร์ฟ ให้ลูกค้าดูเมนูและกดสั่งอาหารด้วยตนเอง ก็อาจทำให้จุดเด่นของร้านอาหารเราลดลงไป เพราะลูกค้าชอบฟังคำแนะนำจากพนักงานมากกว่า
- ในทางกลับกัน หากนำ Digital Product มาช่วยบริหารวัตถุดิบ เช่น การจัดการควบคุมวัตถุดิบคงคลัง การคาดการณ์ปริมาณวัตถุดิบที่ใช้แต่ละวันของสัปดาห์ ก็มีแนวโน้มที่ทำให้เราจัดการต้นทุนได้ดียิ่งขึ้น โดยไม่สูญเสียจุดเด่นของร้านไป
จากตัวอย่างจะเห็นว่า เจ้าของธุรกิจหรือผู้บริหาร จำเป็นต้องเข้าใจลักษณะของธุรกิจและปัญหาที่ต้องการแก้ไขก่อนเลือกวิธีการ (Solution) และบางปัญหาก็อาจไม่สามารถแก้ด้วย Digital Product ได้ทั้งหมด
บทที่ 2: กระบวนการพัฒนา Digital Product
ส่วนที่ 1 – ขั้นตอน Discovery
- Value: ลูกค้าจ่ายเงินให้ Product/ Feature นี้หรือเลือกใช้ Product/ Feature นี้หรือไม่?
- Usability: ลูกค้ารู้วิธีใช้งาน Product/ Feature หรือไม่? ใช้งานยากง่ายแค่ไหน?
- Feasibility: Product/ Feature นี้สามารถสร้างขึ้นมาได้จริงหรือไม่? (ในเชิง Engineering)
- Viability: Product/ Feature นี้ สร้าง Value ให้กับธุรกิจได้จริงหรือไม่?
ซึ่งในโลกความเป็นจริงเรามักจะพบว่า ในแต่ละไอเดียจะมีระดับความมั่นใจ (Confidence level) ต่อแต่ละประเด็นไม่เท่ากัน บางไอเดียเราอาจมั่นใจว่ามีกลุ่มลูกค้าที่ต้องการใช้แน่ๆ (Value) แต่ไม่มั่นใจว่าสามารถสร้างกำไรให้กับธุรกิจได้จริงหรือไม่ (Viability) ขณะที่บางไอเดียเราอาจเห็นโอกาสและความเป็นไปได้จากเทคโนโลยีใหม่ๆ (Feasibility) แต่ User อาจไม่เข้าใจ Product หรือไม่รู้วิธีการใช้งานว่าต้องทำอย่างไร (Usability)
โดยเราสามารถหาข้อมูลเพื่อเพิ่มระดับความมั่นใจในแต่ละประเด็นได้หลายวิธี เช่น สัมภาษณ์เชิงลึกกับกลุ่มเป้าหมาย (User Interview), การทำแบบสอบถาม (Survey), การสังเกตภาคสนาม (Field Observation), การทดสอบตลาด (Minimum Viable Product, MVP), การจำลองต้นแบบไปทดสอบกับผู้ใช้งาน (Prototyping) เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม แต่ละองค์กรเองก็เลือกลงทุนกับความเสี่ยงในระดับที่แตกต่างกันเช่นกัน ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับแต่ละองค์กรว่า จะตัดสินใจลงทุนกับความเสี่ยงในระดับใด เมื่อเทียบกันกับระยะเวลาของ Product ที่นำเข้าสู่ตลาด เพราะหากใช้เวลาในการศึกษามากเกินไป ก็อาจส่งผลให้เกิดต้นทุนค่าเสียโอกาสกับธุรกิจเช่นกัน
ส่วนที่ 2 – ขั้นตอน Delivery
อ้างอิงภาพจาก https://ltsgroup.tech/blog/sdlc-software-development-life-cycle/
- การวิเคราะห์ความต้องการ (Requirement Analysis): ขั้นตอนนี้จะเน้นให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็น Business Team หรือ Tech Team ได้เข้าใจความต้องการของ Video Streaming Platform นี้ให้ตรงกัน เช่น ผู้ใช้ต้องการรับชมวิดีโอคุณภาพสูง (HD/4K) โดยไม่สะดุด, ต้องสามารถรองรับผู้ใช้หลายพันคนเข้ามาชมพร้อมกัน, ต้องรองรับหลายแพลตฟอร์ม เช่น เว็บไซต์ มือถือ และทีวี
- การออกแบบ (System Design): เริ่มออกแบบหน้าตาของแอปพลิเคชัน (UI/UX) เพื่อให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงวิดีโอได้ง่าย รวมถึงออกแบบโครงสร้างของระบบ เช่น ฐานข้อมูลสำหรับเก็บวิดีโอ เซิร์ฟเวอร์สำหรับส่งวิดีโอไปยังผู้ใช้ (Streaming Server) ระบบการจัดการผู้ใช้ ระบบจ่ายเงิน เป็นต้น
- การพัฒนา (Development): เริ่มพัฒนาระบบ เช่น สร้างระบบเบื้องหลังที่จัดการการอัปโหลดและการสตรีมวิดีโอ รวมถึงการสร้างระบบจัดการข้อมูลผู้ใช้งาน, ระบบสมัครสมาชิก, ระบบรักษาความปลอดภัยของข้อมูล (Encryption) และการจัดการปริมาณการใช้งานจำนวนมาก เป็นต้น
- การทดสอบ (Testing): หลังจากพัฒนาเสร็จแล้วก็จะเข้าสู่การทดสอบ เพื่อตรวจสอบว่าซอฟต์แวร์ตอบโจทย์ธุรกิจหรือไม่ เช่น ระบบสตรีมวิดีโอทำงานได้ราบรื่นและไม่หยุดชะงัก (Buffering), รองรับผู้ใช้จำนวนมากโดยที่ไม่ล่ม (Load Testing)
- การนำไปใช้งาน (Deployment): หลังจากผ่านการทดสอบและแก้ไขปัญหาแล้ว ระบบจะถูกนำไปให้ผู้ใช้เข้ามาใช้งานจริง
- การดูแลปรับปรุง (Maintenance & Updates): เน้นการดูแลรักษาระบบหลังเปิดใช้งาน เช่น
- แก้ไขข้อผิดพลาด (Bugs) ที่เกิดขึ้นจากการใช้งานจริง
- ปรับปรุงฟีเจอร์ใหม่ ๆ เช่น ระบบการสตรีมที่รองรับคุณภาพ 8K
- ดูแลเซิร์ฟเวอร์ให้พร้อมใช้งานเสมอ ปรับปรุงการรักษาความปลอดภัยเพื่อป้องกันการละเมิดลิขสิทธิ์
จากทั้งหมดนี้จะเห็นได้ว่าทั้ง 2 ขั้นตอนล้วนมีความสำคัญต่อการพัฒนา Digital Product ทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็น
- Discovery Phase – มุ่งเน้นการหาคำตอบว่าสร้างอะไรให้ตอบโจทย์ผู้ใช้และธุรกิจให้มากที่สุด
- Delivery Phase – มุ่งเน้นการหาคำตอบว่าจะออกแบบและพัฒนาซอฟต์แวร์ขึ้นมาอย่างไรให้มีคุณภาพ
หลังจากที่ได้ทำความเข้าใจกระบวนการพื้นฐานของการพัฒนา Digital Product แล้ว ผู้อ่านจะเห็นได้ว่าการพัฒนา Digital Product นั้น นอกจากมีไอเดียธุรกิจแล้ว ยังจำเป็นต้องมีเทคโนโลยีและบุคลากรที่มีความสามารถด้วยเช่นกัน ดังนั้นบางองค์กรจึงเลือกซื้อซอฟต์แวร์สำเร็จรูปพร้อมใช้งานมาใช้
แต่อย่างไรก็ตาม หากซอฟต์แวร์ที่ต้องการมีความซับซ้อน หรือมีความต้องการแบบเฉพาะเจาะจงกับธุรกิจ ซอฟต์แวร์สำเร็จรูปอาจไม่ตอบโจทย์ธุรกิจเท่าไรนัก จึงทำให้หลายองค์กรเลือกที่จะลงทุนพัฒนา Digital Product ด้วยตนเอง ในบทถัดไป ผู้เขียนจะพาผู้อ่านมาศึกษาเกี่ยวกับการเตรียมตัวเบื้องต้น เพื่อสร้าง Digital Product ในองค์กร
บทที่ 3: เตรียมพร้อมพัฒนา Digital Product ให้กับองค์กร
- Product Management: การกำหนดวิสัยทัศน์และวางแผนกลยุทธ์ของ Product, การจัดการกระบวนการพัฒนา, การทำงานร่วมกับทีมอื่นๆ, การวิจัยตลาดและลูกค้า
- UX/UI Design: การออกแบบประสบการณ์ผู้ใช้, การสร้าง Wireframes และ Prototypes, การวิจัยผู้ใช้, การทดสอบการใช้งาน (Usability Testing)
- Software Engineering: การออกแบบระบบ (Architecture Design), การเขียนโค้ด (Frontend/Backend), การทดสอบซอฟต์แวร์, การทำ Continuous Integration/Deployment (CI/CD), การจัดการฐานข้อมูล
- Quality Assurance: การทดสอบระบบ, การใช้เครื่องมืออัตโนมัติในการทดสอบ (Automation Testing)
- DevOps Engineering: การจัดการเซิร์ฟเวอร์, Cloud Infrastructure, การบริหารจัดการระบบเครือข่ายและดูแลรักษาความปลอดภัย, การดูแลเรื่องการ Scale ระบบ
ทั้งนี้การสรรหาบุคลากรในแต่ละตำแหน่ง ไม่จำเป็นต้องตรงกับที่ผู้เขียนกล่าวมาทั้งหมดเสมอไป โดยทักษะที่ต้องการนั้น ขึ้นอยู่กับลักษณะของ Product ที่องค์กรต้องการพัฒนาด้วยเช่นกัน เช่น หากเป็น Product ที่เกี่ยวข้องกับ AI/ Machine Learning ก็อาจจำเป็นต้องมีตำแหน่ง Data Scientist/ Machine Learning Engineer เพิ่มเติมอยู่ในทีมด้วย อย่างไรก็ตาม หากองค์กรมีข้อจำกัดในการจ้างพนักงานประจำ หรือ Product ที่ต้องการพัฒนามีความไม่แน่นอนสูง การจัดจ้าง Outsource IT ก็เป็นหนึ่งทางเลือกสำหรับองค์กร เพราะมีความยืดหยุ่นในการจ้างพนักงานตามตำแหน่งที่ต้องการ และเป็นอิสระจากข้อผูกมัดระยะยาว
เซิร์ฟเวอร์ (Server)
หลังจากองค์กรตัดสินใจพัฒนา Digital Product แล้ว องค์กรของคุณจำเป็นต้องมี Server ซึ่งมีหน้าที่เก็บข้อมูลและเป็นตัวคอยบริการตามคำสั่ง (Request) ของผู้ใช้งาน เปรียบเสมือนดั่งศูนย์กลางในการทำงาน เช่น เมื่อผู้ใช้งานต้องการเข้าถึง Website ที่โฮสต์อยู่บน Server ทาง Server นั้นจะส่งข้อมูลของ Website กลับไปให้ผู้ใช้งานเห็นตามคำสั่ง
Server 2 ประเภทที่ได้รับความนิยมในปัจจุบัน ได้แก่ Physical Server และ Cloud Server โดยมีข้อแตกต่างกัน ดังนี้
การเลือกใช้ Physical Server หรือ Cloud Server ขึ้นอยู่กับความต้องการของธุรกิจและการใช้งานเฉพาะด้าน เช่น หากต้องการความเสถียรและการควบคุมระบบอย่างเต็มที่ Physical Server อาจเหมาะสมมากกว่า แต่หากธุรกิจต้องการความยืดหยุ่นและลดต้นทุน Cloud Server อาจเป็นทางเลือกที่ดีกว่า ซึ่งปัจจุบันมีผู้ให้บริการ Cloud Server มากมาย อย่างเช่น Amazon Web Services (AWS) หรือ Microsoft Azure
รวมถึงในประเทศไทยเองก็มีผู้ให้บริการอย่าง NT (บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ) ที่มีโครงสร้างพื้นฐานของ Cloud Server ที่มีประสิทธิภาพและเสถียรภาพสูง, มี Data Center ที่ได้มาตรฐานระดับโลก และตั้งอยู่ในประเทศไทย รวมถึงมีทีมผู้เชี่ยวชาญพร้อมให้คำปรึกษาและสนับสนุนตลอด 24/7 และมี SLA (Service Level Agreement) ที่รับประกันความพร้อมใช้งานสูงเช่นกัน
เครื่องมือในการจัดการไฟล์ระหว่างทีม
เมื่อองค์กรใหญ่ขึ้น ในการทำงานร่วมกันระหว่างทีม อาจมีความต้องการเรียกใช้ หรือแก้ไขไฟล์ข้ามทีม เพื่อนำข้อมูลไปทำงานต่อได้อย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะองค์กรใหญ่ อาจมีการให้สิทธิ์การเข้าถึงที่แตกต่างกัน สำหรับแต่ละพนักงาน ไปจนถึงพนักงานแต่ละคน ซึ่งปัจจุบันมีผู้ให้บริการ Cloud Storage มากมาย อย่างเช่น Microsoft 365 หรือ Google Workspace และในประเทศไทยเอง ทาง NT ก็มีให้บริการ Cloud Storage ชื่อว่า Cloud Box ซึ่งมีโครงสร้าง Cloud ที่มีความปลอดภัยสูง ได้มาตรฐานระดับโลก รวมถึงมีความยืดหยุ่นในการปรับแต่งบริการตามความต้องการขององค์กรเช่นเดียวกัน
สรุป
Digital Product คือหนึ่งในทางเลือกในการสร้างมูลค่าทางธุรกิจให้กับองค์กร ไม่ว่าจะเป็นในเชิง Scalability (ความสามารถในการขยายตัวของธุรกิจ), Adaptability (ความสามารถในการปรับตัว) หรือ Efficiency (ประสิทธิภาพ) อย่างไรก็ตาม ก่อนที่จะตัดสินใจลงทุนพัฒนา Digital Product องค์กรจำเป็นต้องทำความเข้าใจถึงลักษณะและปัญหาที่แท้จริงของธุรกิจ รวมถึงพฤติกรรมและความต้องการของลูกค้าให้ดีก่อนเสมอ เพราะบางปัญหาอาจไม่สามารถแก้ไขด้วย Digital Product ได้ทั้งหมดเสมอไป
หากตัดสินใจลงทุนพัฒนา Digital Product แล้ว องค์กรควรมีความเข้าใจกระบวนการพื้นฐานในการพัฒนา Digital Product ตั้งแต่ต้นจนจบ ไม่ว่าจะเป็นขั้นตอน Discovery หรือขั้นตอน Delivery เพื่อให้มั่นใจได้ว่า Digital Product ที่พัฒนาไปมีคุณภาพ และตอบโจทย์ทั้งธุรกิจและผู้ใช้งานจริง รวมถึงมีการเตรียมความพร้อมเบื้องต้นไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของบุคลากร, เซิร์ฟเวอร์ และเครื่องมือการทำงานเพื่อให้ทีมทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ
และในประเทศไทยเราเอง มี NT ที่เป็นผู้ให้บริการด้านการสื่อสารและอินเทอร์เน็ตที่พร้อมที่จะเสริมสร้างศักยภาพขององค์กรและ SME ไทย ในการสร้าง Digital Transformation เพื่อลดต้นทุน เพิ่มประสิทธิภาพ และขยายฐานลูกค้าในธุรกิจ โดย NT พร้อมเป็นพาร์ทเนอร์ที่จะช่วยดูแลระบบการสื่อสารและอินเทอร์เน็ตให้กับธุรกิจของคุณแบบครบวงจรตั้งแต่ ระบบอินเทอร์เน็ตสำหรับ SME โดยเฉพาะ และระบบ ICT Solutions ที่จะมีผู้เชี่ยวชาญคอยให้คำปรึกษาเพื่อช่วยออกแบบและติดตั้งระบบ Network ให้อย่างเหมาะสมกับธุรกิจของคุณ ตลอดจนระบบความปลอดภัยทางไซเบอร์ ที่จะช่วยให้ธุรกิจของคุณก้าวสู่ยุคดิจิทัลได้อย่างมั่นใจ