<link rel="stylesheet" id="astra-theme-css-css" href="https://nt-metro-service.com/wp-content/themes/astra/assets/css/minified/frontend.min.css?ver=4.8.0" media="all">

ก้าวข้ามขีดจำกัดของการบริการ ต่อยอดสู่ธุรกิจทางด้านสุขภาพสำหรับอนาคต

                        ในช่วงเวลาที่ผ่านมา นับตั้งแต่เกิดเหตุการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 ที่ปลุกให้คนทั้งโลกต่างต้องปรับตัวและเผชิญหน้ากับเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ อย่างสิ้นเชิง เพื่อให้การดำรงชีวิตนั้นกลับมาเป็นเหมือนปกติอีกครั้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งงานทางด้านสาธารณสุข ไม่ว่าจะเป็นโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาล ต่างก็มีการเร่งพัฒนาระบบการทำงานทุกภาคส่วนให้เกิดความสอดคล้องซึ่งกันและกัน อีกทั้งยังต้องสอดรับกับสถานการณ์ในปัจจุบันเพื่อให้การบริการนั้นเป็นไปอย่างราบรื่น สามารถอำนวยความสะดวกทั้งบุคลากรที่ทำหน้าที่ในการรักษาและผู้ป่วยที่เข้ามารับการบริการในสถานพยาบาล

            ฉะนั้นแล้ว การพัฒนาระบบการทำงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นนั้น ก็จะต้องอาศัยเทคโนโลยีที่ทันสมัยเข้ามาช่วยพัฒนาและปรับปรุงให้มีความก้าวหน้า สามารถให้การบริการได้อย่างครอบคลุมทุกระดับ ซึ่งเทคโนโลยีที่เราจะกล่าวถึงนั้นก็คือ Digital Healthcare

Digital Healthcare คืออะไร

            การที่ผู้ป่วยจะต้องเข้ารับการรักษาหรือวินิจฉัยโรคกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในแต่ละครั้ง แน่นอนว่าตัวผู้ป่วยเองจะต้องมีการเตรียมตัวในการเดินทางไปยังโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลที่อยู่บริเวณใกล้เคียงกับที่พักอาศัย เพื่อลดเวลาในการเดินทาง แต่ระยะทางที่ไม่ไกลจากที่พักอาศัยนั้นก็ไม่ได้หมายความว่าจะสามารถเข้าพบกับแพทย์ผู้ให้การรักษาได้ทันที ยังมีผู้ป่วยท่านอื่น ๆ ที่ทำให้ผู้ป่วยเองต้องรอเข้าคิวเป็นระยะเวลาที่นาน

            และเนื่องด้วยสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 ในปัจจุบันด้วยแล้ว การที่จะมารวมตัวกันเพื่อรอคิวเข้าพบแพทย์ก็คงจะไม่สามารถทำได้เหมือนเดิมอีกต่อไป โรงพยาบาลและสถานพยาบาลหลาย ๆ แห่งจึงได้มีการผลักดันมาตรการออกมาเพื่อจำกัดจำนวนผู้ป่วยที่จะมาเข้ารับการรักษาต่อวัน โดยจะกำหนดให้ผู้ป่วยที่มีอาการเจ็บป่วยที่ไม่รุนแรงเข้ารับการวินิจฉัยผ่านทางระบบ Telemedicine หรือที่เรียกกันว่า ระบบการแพทย์ทางไกล ซึ่งระบบนี้จะตัวประสานระหว่างผู้ป่วยกับโรงพยาบาลในการรักษาแบบไม่ต้องเดินทางเข้ายังโรงพยาบาลด้วยตัวเอง อีกทั้งระบบการรักษาแบบนี้ยังเอื้อต่อการให้ญาติของผู้ป่วยได้แวะเวียนมาเยี่ยมไข้ได้อย่างสะดวกและปลอดภัย ลดความเสี่ยงในการสัมผัสกับเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้เป็นอย่างดี

            จะเห็นได้ว่าในการเปลี่ยนแปลงการเข้ารับการรักษา จากรูปแบบเดิม ๆ มาเป็นการใช้เทคโนโลยี Digital Healthcare เข้ามาช่วย สามารถทำให้ประสิทธิภาพของการรักษามีความก้าวหน้าแบบก้าวกระโดดเป็นอย่างมาก ทำให้ผู้ป่วยหลาย ๆ คนสามารถเข้ารับการรักษาได้อย่างรวดเร็วและทั่วถึง
อีกทั้งยังเป็นตัวช่วยที่สำคัญในการลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นออกไป ฉะนั้นแล้ว การที่จะใช้เทคโนโลยีอันล้ำสมัยนี้มาช่วยในการพัฒนาศักยภาพของธุรกิจให้เติบโตได้อย่างรวดเร็วและเป็นระบบนั้น โรงพยาบาลและสถานพยาบาลต่าง ๆ จะต้องพิจารณาถึงผลตอบรับที่จะเกิดขึ้นหากมีการเปิดใช้เทคโนโลยีนี้อย่างเต็มรูปแบบ ซึ่งปัจจัยต่าง ๆ ที่ควรนำมาพิจารณามี ดังนี้

          1. พัฒนาแนวทางการรักษาได้ตรงกับอาการของผู้ป่วย

            Digital Healthcare จะช่วยพัฒนาระบบการให้บริการมาเป็นแบบเวลาจริง หรือที่เรียกว่า Real Time โดยการนำเทคโนโลยีนี้เข้ามาช่วยจะทำให้แพทย์ผู้ทำการรักษาได้รับทราบถึงข้อมูลที่สำคัญและถูกต้องของผู้ป่วย ซึ่งในส่วนนี้เองที่จะทำแพทย์ผู้ทำการรักษาสามารถวินิจฉัยแนวทางการรักษาที่ตรงกับอาการของผู้ป่วยได้อย่างแม่นยำ และทำให้การรักษานั้นใช้เวลาที่น้อยลงแต่กลับได้ผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพมากหลายเท่าตัว

          2. การให้บริการที่รวดเร็วด้วยเครือข่ายที่เชื่อมโยงอย่างเป็นระบบ

            เครือข่ายธุรกิจทางด้านการแพทย์ที่ได้ถูกเชื่อมโยงอย่างเป็นระบบด้วยเทคโนโลยีของ 
Digital Healthcare จะช่วยเพิ่มตัวเลือกทางการรักษาให้กับผู้ป่วยได้มากกว่าเดิม และยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการเคลื่อนย้ายการรักษาหรือการ Transfer ไปยังโรงพยาบาลอื่น ๆ ที่มีความพร้อมในการรักษาได้อย่างรวดเร็วและคล่องตัว นอกจากนี้ยังมีการใช้ AI เข้ามาวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อหาแนวทางการรักษาที่แม่นยำและถูกต้องมากที่สุด

          3. การคุ้มครองข้อมูลสำคัญต่าง ๆ

            ข้อมูลของการรักษาของผู้ป่วย ไม่ว่าจะเป็นรายชื่อ ประวัติ วิธีการรักษา การใช้ยา และอื่น ๆ ถือเป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องได้รับการคุ้มครองให้มีความปลอดภัย ด้วยระบบรักษาความปลอดภัยของเทคโนโลยี Blockchain จะเข้ามายกระดับประสิทธิภาพของคุ้มครองข้อมูลให้มีความสมบูรณ์และปลอดภัยมากยิ่งขึ้น สามารถป้องกันการเจาะเข้าถึงข้อมูลจากผู้ไม่ประสงค์ดีจากภายนอก อีกทั้งยังช่วยให้การสืบค้นข้อมูลต่าง ๆ ทำได้อย่างรวดเร็วและเป็นระบบ นอกจากนี้ การใช้ Healthcare Data Analytic ยังคาดการณ์ถึงอนาคตของผู้ป่วยรายต่าง ๆ เพื่อรับมือกับเหตุการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้นได้อยู่ตลอดเวลา

          4. มีช่องทางการติดต่อได้ตลอดทั้งวัน

            การเจ็บป่วยหรืออุบัติเหตุคือเหตุการณ์ที่คาดเดาไม่ได้โดยสิ้นเชิง สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคนทุกสถานที่โดยไม่มีการแจ้งล่วงหน้าแต่อย่างใด ดังนั้นช่องทางที่นำมาใช้ในการติดต่อสื่อสารจึงจำสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ด้วยระบบที่ล้ำหน้าของ Digital Healthcare จะช่วยอำนวยความสะดวกในการติดต่อสื่อสารระหว่างโรงพยาบาลกับผู้ป่วยด้วยความรวดเร็ว สามารถติดต่อสื่อสารได้ทั้งแบบออฟไลน์หรือออนไลน์ จึงทำให้การแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินทำได้ทันเวลา หรือการเข้ารับคำปรึกษาทางการแพทย์ก็สามารถทำได้อย่างครบถ้วนไม่มีตกหล่น

          5. การปรับแนวทางการดูแลรักษาให้ต่อเนื่อง

            ใช่ว่าหลังจากจบการรักษาแล้วจะถือว่าเป็นการเสร็จสิ้นกระบวนการทั้งหมด การติดตามอาการหลังจากเข้ารับการรักษาคือสิ่งที่จำเป็นอย่างมากต่อผู้ป่วย เพราะบางอาการเจ็บป่วยถึงแม้จะได้รับการรักษาตามขั้นตอนในระหว่างอยู่ที่โรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลแล้ว แต่เมื่อถึงช่วงเวลาหนึ่งที่สามารถกลับไปพักฟื้นที่บ้านได้ ก็จะต้องมีการติดตามอาการของผู้ป่วยอยู่เป็นระยะ และด้วยระบบการแพทย์ทางไกลนี้ก็จะตอบโจทย์ในการติดตามอาการได้เป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นสอบถามผลการตรวจร่างกายด้วยตนเองของผู้ป่วยหรือการนำข้อมูลของผู้ป่วยส่งต่อไปยังสถานพยาบาลใกล้ ๆ บ้านเพื่อเข้ารับการรักษาที่ต่อเนื่อง รวมไปถึงการให้คำปรึกษา การสั่งจ่ายยา และอื่น ๆ อีกมากมาย ทั้งนี้ยังเป็นเกิดผลดีต่อค่าใช้จ่ายในการเดินทางมารับการรักษาถึงโรงพยาบาลที่ลด รวมทั้งระยะเวลาที่ต้องเสียไปกับการเดินทาง

            สำหรับตัวอย่างธุรกิจที่มีการนำเอาเทคโนโลยี Digital Healthcare เข้ามาช่วยส่งเสริมในด้านการรักษาสุขภาพจนได้รับประโยชน์สูงสุดและก่อมูลค่ามหาศาล จะเป็นในส่วนของกลุ่มธุรกิจที่เรียกว่า Wellness Techโดยกลุ่มธุรกิจนี้ไม่ได้ครอบคลุมเพียงแค่การดูแลรักษาร่างกายเฉพาะแต่ภายนอกเท่านั้น แต่ว่าจะครอบคลุมไปถึงการดูแลรักษาร่างกายจากภายใน ไปจนถึงการดูแลรักษาเพื่อปรับให้เข้ากับสภาพแวดล้อมรอบตัว อีกทั้งยังมีโปรแกรมของการรักษาในเรื่องของสภาพจิตใจด้วย

            โดยสาขาต่าง ๆ ของธุรกิจ Wellness Tech นี้ สามารถจำแนกออกได้เป็น

            1. ธุรกิจในกลุ่มของอาหาร เครื่องดื่ม และโภชนาการ

            2. ธุรกิจในกลุ่มของการเสริมความงาม

            3. ธุรกิจในกลุ่มของการออกกำลังกาย

            4.  ธุรกิจในกลุ่มของการพัฒนาสุขภาพจิตและการนอน

            5. ธุรกิจในกลุ่มของการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ

            ซึ่งในแต่ละธุรกิจที่กล่าวมา ก็จะมีการนำเอาเทคโนโลยีเข้ามาช่วยออกแบบระบบการดูแลรักษาที่เหมาะสมให้กับแต่ละบุคคล โดยจะมีการรวบรวมข้อมูลสุขภาพของผู้เข้ารับบริการมาทำการวิเคราะห์และประมวลผลออกมา เพื่อทำการจัดโปรแกรมให้ถูกต้องและตรงกับความต้องการของผู้เข้ารับบริการมากที่สุด

            ยกตัวอย่างธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการออกกำลังกาย ที่ในปัจจุบันจะเห็นว่าคนส่วนใหม่มักจะหันมา
ออกกำลังกายกันมากขึ้น และการเข้ายิมหรือที่เราเรียกกันติดปากว่า ฟิตเนส นั้น ก็ได้กลายมาเป็นธุรกิจที่ได้รับความสนใจเพิ่มขึ้นอีกหลายเท่าตัว

            โดยในธุรกิจกลุ่มนี้ก็จะมีการพัฒนาระบบในส่วนแอปพลิเคชันขึ้นมาเพื่อทำหน้าที่รวบรวมข้อมูลของบุคคลต่าง ๆ ที่เข้ามาใช้บริการ จากนั้นจะทำการประมวลผลออกมาเพื่อจัดทำตารางการฝึก ไม่ว่าจะเป็นการฝึกที่ฟิตเนสหรือการฝึกจากที่บ้าน สามารถทำให้ผู้เข้ารับบริการได้รับความสะดวกและสามารถสร้างสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงได้อย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ยังมีเหล่าผู้เชี่ยวชาญที่จะหมุนเวียนมาให้คำแนะนำดี ๆ
อยู่ตลอดเวลา 

            จะเห็นแล้วว่าการนำเอาเทคโนโลยี Digital Healthcare เข้ามาช่วยในการพัฒนาและจัดการระบบ
ต่าง ๆ ในวงการการแพทย์ รวมไปถึงธุรกิจการให้บริการทางด้านสุขภาพ สามารถตอบโจทย์และเพิ่มศักยภาพในการรักษาและความสะดวกสบายให้กับตัวผู้ป่วยและแพทย์ผู้ให้การรักษาเป็นอย่างมาก ไม่เพียงแต่จะเพิ่มประสิทธิภาพในการดูแลรักษาเท่านั้น แต่ยังเพิ่มเติมในเรื่องของความปลอดภัยที่มากขึ้น ช่วยขจัดความเสี่ยงต่าง ๆ และลดความฟุ่มเฟือยจากค่าใช้จ่ายอันไม่พึงประสงค์ได้เป็นอย่างดี

         หลังจากที่ บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) หรือ NT (National Telecom Public Company Limited) ได้ก่อกำเนิดขึ้นจากการรวมกันของบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) หรือ TOT และบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) หรือ CAT ทำให้โครงสร้างพื้นฐานทางโทรคมนาคมเกิดการพัฒนาประสิทธิภาพและเสริมศักยภาพให้มีความมั่นคงมากยิ่งขึ้น รวมทั้งเป็นการปูทางไปสู่การเป็นบริษัทที่ได้รับมาตรฐานสากล
         และด้วยจุดแข็งนี้เอง จึงได้มีการก่อตั้ง NT Business Solution Expert เพื่อเป็นตัวช่วยในการพัฒนาประสิทธิภาพให้กับระบบอินเทอร์เน็ตอย่างดีที่สุด เพิ่มเสถียรภาพและการเชื่อมโยงทุกภาคส่วนเข้าหากันอย่างเป็นระบบสำหรับการเก็บรวบรวมข้อมูลในการรักษา รวมทั้งช่วยให้เกิดความรวดเร็วในการติดต่อสื่อสารระหว่างกัน และทำให้การบริการทางด้านการแพทย์ รวมทั้งธุรกิจทางด้านการดูแลสุขภาพนั้นเป็นไปอย่างราบรื่นไม่มีสะดุด

            สำหรับผู้ที่สนใจ สามารถติดต่อเพื่อสอบถามการบริการเพิ่มเติมหรือปรึกษาผู้เชี่ยวชาญฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย ได้ผ่านทาง Facebook Page : NT shop กรุงเทพและปริมณฑล  หรือสามารถติดต่อผ่านทางเว็บไซต์  www.nt-metro-service.com

*หมายเหตุ NT Business Solution Expert เฉพาะพื้นที่ที่มีโครงข่ายในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลเท่านั้น

Scroll to Top
nt-business-solution-expert Popup