Smart Hospital

ชวนรู้จัก Smart Hospital ระบบโรงพยาบาลอัจฉริยะ

เทคโนโลยีดิจิทัลเรียกได้ว่าเป็นบทบาทสำคัญของยุคสมัยใหม่มากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะ Smart Hospital ปัจจัยสำคัญที่ช่วยส่งเสริมความเป็น Smart City เพราะได้มีการนำเทคโนโลมาปรับใช้เพื่อให้เกิดความสะดวกสบาย และความรวดเร็วในการจัดการบริหารงานต่าง ๆ รวมไปถึงการใช้ชีวิตประจำวัน ระบบสุขภาพของประเทศไทยก็เช่นเดียวกัน ที่ได้มีการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาประยุกต์ปรับใช้หรือที่รู้จักกันในนโยบาย Smart Hospital จากกระทรวงสาธารณสุข แล้ว Smart Hospital โรงพยาบาลอัจฉริยะคืออะไร วันนี้ NT จะขอพาทุกท่านไปทำความรู้จักการให้มากยิ่งขึ้นในบทความนี้

โรงพยาบาลอัจฉริยะ Smart Hospital คืออะไร?

Smart Hospital คือ ระบบโรงพยาบาลอัจฉริยะที่ได้มีการนำเทคโนโลยีดิจิทัลที่ทันสมัยมาปรับใช้ประยุกต์กับโรงพยาบาลภาครัฐสังกัดกระทรวงสาธารณสุข และโรงพยาบาลภาคเอกชน เพื่อให้เกิดความสะดวกสบายในการให้บริการทางสุขภาพ รวมไปถึงการบริหารจัดการระบบต่าง ๆ ภายในโรงพยาบาล ช่วยให้เกิดการประหยัดเวลา ลดขั้นตอนการดำเนินงานต่าง ๆ และเกิดความรวดเร็วมากยิ่งขึ้น

นอกจาก Smart Hospital แล้วยังมี Smart School และ Smart Living อีกด้วยนะ

ส่วนประกอบ Smart Hospital ตามนโยบายกระทรวงสาธารณะสุข

ส่วนประกอบของ Smart Hospital

ปัจจุบันนโยบาย Smart Hospital จากกระทรวงสาธารณสุขมีหลายโรงพยาบาลได้นำมาปรับใช้เพื่อให้เกิดความสะดวกสบายปลอดภัย ได้มาตรฐานในการให้บริการและการจัดการต่างๆ โดย Smart Hospital ตามนโยบายของกระทรวงสาธารณสุขมีองค์ประกอบดังต่อไปนี้ 

Smart Tools

Smart Tools ในที่นี้คือ เทคโนโลยีดิจิทัลซึ่งได้นำมาประยุกต์ใช้กับระบบต่างๆภายในโรงพยาบาล ตั้งแต่การจัดการ ไปจนถึงการให้บริการแก่คนไข้ ซึ่ง Smart Tools จะช่วยให้เกิดความสะดวกรวดเร็วในการทำงาน และความแม่นยำในการจัดการต่าง ๆ เช่น ระบบการจัดการคิวในการนัดหมายเพื่อเข้ารับบริการของคนไข้แบบออนไลน์ (Queue Online) ระบบการจัดการทะเบียนเครื่องมือ และอุปกรณ์ทางการแพทย์ เป็นต้น

Smart Place/ Smart Infrastructure

Smart Place/ Smart Infrastructure เป็นการให้ความสำคัญกับสถานที่ Smart Hospital จะต้องผ่านเกณฑ์ในการดำเนินงาน GREEN & CLEAN Hospital เพื่อให้การันตีว่าเป็นโรงพยาบาลที่มีสิ่งแวดล้อมที่สะอาด สวยงาม และทันสมัย

Smart Services

Smart Services คือรูปแบบการให้บริการที่ช่วยให้เกิดความสะดวกสบาย เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานภายในองค์กรมากยิ่งขึ้น ตัวอย่าง Smart Service ในระบบ Smart Hospital ได้แก่ 

  • การจัดเก็บข้อมูลเวชระเบียนผู้ป่วยด้วยรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (EMR : Electronic Medical Records) 
  • การใช้ใบสั่งยาในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์
  • ยกเลิกการเรียกรับสำเนาบัตรประชาชน และเอกสารอื่นที่ออกโดยราชการจากผู้รับบริการ
  • การแสดงข้อมูลระยะเวลารอคอยรับบริการ
  • การนำ Smart Mobility เพื่อส่งเสริมความรวดเร็วในการรับส่งผู้ป่วย

Smart Outcome

สุดท้ายคือ Smart Outcome เป็นการนำระบบ ERP (Enterprise Resource Planning) มาใช้ภายในโรงพยาบาลเพื่อช่วยให้ระบบงานภายในโรงพยาบาลเกิดการเชื่อมโยงการได้อย่างรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระบบหลักของโรงพยาบาล (Core Business Process) ที่สำคัญ Smart Outcome ช่วยป้องกันความเสี่ยง เพิ่มความปลอดภัยในด้านการเงินและการบัญชี ของโรงพยาบาลได้อีกด้วย

ประโยชน์ของ Smart Hospital

ประโยชน์ของ Smart Hospital 

หลังจากที่ได้ทำความรู้จักกับ Smart Hospital ไปแล้ว NT ขอพาทุกท่านมารู้จักกับประโยชน์ของ Smart Hospital ให้มากยิ่งขึ้น ดังต่อไปนี้

  • เพิ่มความรวดเร็วให้กับผู้ป่วยในการเข้ารับบริการรักษาในโรงพยาบาล : เพราะ Smart Hospital ได้มีการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาปรับใช้ในด้านการจัดการการให้บริการต่าง ๆ ภายในโรงพยาบาลโดยเฉพาะระบบการจัดการคิวแบบออนไลน์ ที่จะมีการจัดลำดับคิว นัดหมายให้กับคนไข้เพื่อเข้ารับบริการ รวมไปถึงระบบการแจ้งเตือนเมื่อถึงคิวเข้ารับบริการ จึงทำให้เกิดความถูกต้องแม่นยำ ลดระยะเวลา และเกิดความรวดเร็วในการเข้ารับบริการมากยิ่งขึ้น
  • Smart Hospital ช่วยให้การจัดการข้อมูลง่ายยิ่งขึ้น : เพราะ Smart Hospital มีการเปลี่ยนรูปแบบการจัดเก็บข้อมูลของผู้ป่วยในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ ด้วยเหตุนี้เองทำให้เกิดการจัดการข้อมูลที่ง่ายขึ้น หากจะนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ก็สามารถค้นหาได้อย่างรวดเร็ว 
  • Smart Hospital ช่วยรักษา และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม : หลากหลายโรงพยาบาลที่มีการใช้นโยบาย Smart Hospital จะเห็นได้ว่ามีการลดการใช้กระดาษ เพราะมีการจัดเก็บข้อมูลด้วยทะเบียนผู้ป่วยด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ หรือแม้กระทั่งการใช้ใบสั่งยาในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์กันมากยิ่งขึ้น ด้วยเหตุนี้เอง Smart Hospital จึงช่วยรักษา และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม 
  • ทำให้เกิดการดำเนินงานในด้านต่างๆได้อย่างรวดเร็ว มีระบบ และปลอดภัย : ทั้งระบบการจัดการคิว ระบบการจัดเก็บข้อมูลผู้ป่วย การออกใบสั่งยาแบบอิเล็กทรอนิกส์ ทำให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงานที่ที่ดียิ่งขึ้น จึงช่วยลดขั้นตอนที่ไม่จำเป็นในการทำงาน ทำให้เกิดความรวดเร็ว มีระบบในการบริหารจัดการ การให้บริการที่ดีต่อคนไข้ และโรงพยาบาลมากยิ่งขึ้น

ตัวอย่าง Smart Hospital ในประเทศไทย มีที่ไหนบ้าง?

สำหรับในปัจจุบันมีหลากหลายโรงพยาบาลในประเทศไทยที่ได้มีการนำระบบ Smart Hospital มาปรับใช้เพื่อช่วยเพิ่มคุณภาพของการตรวจวินิจฉัย การรักษาให้แก่คนไข้ เพื่อให้ได้รับบริการที่ดี สะดวก รวดเร็ว ปลอดภัย และมีคุณภาพ ซึ่งตัวอย่าง Smart Hospital ในประเทศไทยมีหลายที่ เช่น

  • โรงพยาบาลศิริราช หรือ Siriraj Smart Hospital
  • โรงพยาบาลราชวิถี
  • โรงพยาบาลสมุทรปราการ
  • โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย
  • โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ
  • โรงพยาบาลชลบุรี
  • โรงพยาบาลศรีธัญญา 
  • โรงพยาบาลวิมุต

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับ Smart Hospital

ตัวชี้วัด Smart Hospital ในปี 2566 ของกระทรวงสาธารณะสุข คืออะไร?

ตัวชี้วัด Smart Hospital ในปี 2566 ของกระทรวงสาธารณะสุข เป็นตัวชี้วัดที่จะช่วยประเมินโรงพยาบาลภาครัฐสังกัดกระทรวงสาธารณสุข ว่ามีความสำเร็จในการทำงาน การบริหารจัดการที่จะสามารถกลายเป็น Smart Hospital ได้

สรุปเรื่อง Smart Hospital 

สรุป Smart Hospital

Smart Hospital เป็นระบบโรงพยาบาลอัจฉริยะที่ได้มีการนำเทคโนโลยีมาปรับใช้เพื่อให้เกิดการบริการการจัดการต่างๆที่

รวดเร็ว โดยส่วนใหญ่แล้วในประเทศไทยสำหรับ Smart Hospital ที่เห็นได้อย่างชัดเจน คือเรื่องระบบการจัดการคิว การทำนัดหมายเพื่อเข้ารับบริการ 

อย่างไรก็ตาม Smart Hospital จะไม่เกิดความสำเร็จได้หากปราศจากระบบอินเทอร์เน็ต สำหรับท่านใดที่สนใจ หรือกำลังมองหาผู้เชี่ยวชาญในระบบอินเทอร์เน็ต ต้องการติดตั้งเน็ตองค์กร หรือเพื่อให้ระบบ Smart Hospital ดำเนินการได้อย่างราบรื่นอยู่นั้นให้ NT ผู้เชี่ยวชาญในการวางระบบ network ได้ดูแลคุณ เพราะเรามีบริการมากมายที่พร้อมช่วยเหลือ เช่น รับเดินสายไฟเบอร์ออฟติก หรือจะติดตั้ง access point ไปจนถึงการออกแบบระบบเครือข่าย ทุกบริการ NTพร้อมดูแล และให้คำปรึกษาโดยผู้เชี่ยวชาญ มั่นใจได้เลยว่าเลือกรับบริการกับ NT ไม่มีผิดหวัง 

สำหรับท่านใดที่สนใจสามารถติดต่อเราได้ผ่านช่องทางดังต่อไปนี้

Scroll to Top
nt-business-solution-expert Popup