<link rel="stylesheet" id="astra-theme-css-css" href="https://nt-metro-service.com/wp-content/themes/astra/assets/css/minified/frontend.min.css?ver=4.8.1" media="all">
Ethernet

Ethernet คืออะไร? ทำความรู้จักอีเทอร์เน็ต เครือข่ายระบบ LAN ที่จำเป็นต้องรู้

ในยุคดิจิทัลที่อุปกรณ์ต่าง ๆ มีการเชื่อมต่อเพื่อใช้งานร่วมกัน การมีเครือข่ายสัญญาณที่รวดเร็วและเสถียรจึงกลายเป็นสิ่งจำเป็น ทั้งสำหรับชีวิตส่วนตัวและการทำงาน โดยวิธีการเพิ่มประสิทธิภาพการรับส่งข้อมูลให้ได้คุณภาพที่นิยมใช้กันเป็นวงกว้างนั้น คือ Ethernet

Ethernet คือ หนึ่งในเทคโนโลยีเครือข่ายที่ได้รับความนิยมมากที่สุดตลอดช่วงระยะเวลากว่า 30 ปีที่ผ่านมา เพราะเป็นเครือข่ายที่เสถียร รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ทำให้เป็นเครือข่ายหลักที่นิยมใช้กันทั้งในสำนักงาน อาคารทั่วไป เป็นต้น 

อีเทอร์เน็ต (Ethernet) คืออะไร?

Ethernet คือเทคโนโลยีเครือข่ายท้องถิ่น (Local Area Network หรือ LAN) ที่พัฒนาขึ้นมาเพื่อการสื่อสารหรือการรับส่งข้อมูลระหว่างอุปกรณ์ต่าง ๆ ภายในพื้นที่เดียวกันให้มีความเสถียรมากที่สุด ระบบการรับส่งแบบ Ethernet พัฒนาขึ้นภายใต้การดูแลของ IEEE (Institute of Electrical and Electronics Engineer) ซึ่งเป็นสถาบันนานาชาติที่มีหน้าที่ในการกำหนดมาตรฐานระบบเครือข่ายไร้สาย 

โดยในช่วงแรกอีเทอร์เน็ตมีความเร็วเริ่มต้นประมาณวินาทีละ 10 Mb ต่อมาได้รับการพัฒนามากขึ้นจนอยู่ที่วินาทีละ 100 Gb ในปัจจุบัน ทำให้อีเทอร์เน็ตเครือข่าย LAN คือหนึ่งในเทคโนโลยีที่ได้รับความนิยมในการนำมาใช้งาน เนื่องจากมีต้นทุนต่ำ สามารถรับส่งข้อมูลได้ภายในระยะเวลาที่รวดเร็วและมีความเสถียรสูง

ความสำคัญของ Ethernet

ความสำคัญและประโยชน์ของ Ethernet คืออะไร มีจุดเด่นไหนที่น่าสนใจบ้างมาดูไปพร้อม ๆ กัน

  • ช่วยให้แต่ละอุปกรณ์สามารถเชื่อมต่อและสื่อสารกันได้อย่างทั่วถึง เช่น คอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ ภายใต้คอนเซ็ปต์ Internet of Things (IoT) ที่จะช่วยให้สามารถเชื่อมต่อกันได้ภายในพื้นที่เดียวกัน เช่น อาคารสำนักงาน บ้านพักอาศัย หรือมหาวิทยาลัย
  • ทำให้ผู้ใช้งานสามารถประสานงานและทำงานร่วมกันได้อย่างสะดวก ไร้ปัญหา เพราะสามารถเข้าถึงข้อมูลและทรัพยากรต่าง ๆ บนเครือข่ายได้อย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยให้การประชุมออนไลน์ไหลลื่น ไม่มีสะดุด 
  • เด่นในเรื่องของความปลอดภัย เพราะอีเทอร์เน็ตคือ เครือข่ายที่ใช้ร่วมกับเทคโนโลยีรักษาความปลอดภัยต่าง ๆ เช่น การเข้ารหัสข้อมูล เพื่อปกป้องการโจรกรรมข้อมูลหรือเข้าถึงโดยบุคคลที่ไม่ได้รับอนุญาต

หน้าที่การทำงานของ Ethernet คืออะไร 

หน้าที่หลักของ Ethernet คือ จัดการการเข้าถึงสื่อกลางในการส่งข้อมูล เพื่อไม่ให้อุปกรณ์ต่าง ๆ บนเครือข่ายส่งข้อมูลทับซ้อนกัน เพราะอาจทำให้ข้อมูลเสียหายหรือสูญหายได้ 

สำหรับการส่งข้อมูลของอีเทอร์เน็ตนั้นจะใช้ระบบการส่งที่เรียกว่า CSMA/CD (Carrier Sense Multiple Access / Collision Detection) ซึ่งเป็นระบบที่สามารถส่งข้อมูลได้ทีละชุดข้อมูลเท่านั้น โดยถ้าส่งข้อมูลพร้อมกันจะเกิดการชนกันหรือที่ในทางเทคนิคเรียกว่า Collision นั่นเอง 

โดยอุปกรณ์แต่ละตัวในเครือข่ายอีเทอร์เน็ตจะทำการตรวจสอบ ถ้าพบว่ามีการ Collision เกิดขึ้น ก็จะหยุดส่งข้อมูลในระยะหนึ่งก่อน จากนั้น จึงจะเริ่มทำการส่งข้อมูลใหม่อีกรอบด้วยวิธีการสุ่มทางสถิต ซึ่งจะช่วยลดโอกาสที่จะส่งข้อมูลชนกันหรือ Collision ได้ดีขึ้น 

ข้อแตกต่างของ Ethernet กับระบบเครือข่าย Network อื่น ๆ

Ethernet กับเครือข่ายอื่นๆ

“เครือข่าย” (Network) คือ การรวมกลุ่มกันของคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์สื่อสารต่าง ๆ เข้าด้วยกัน เพื่อให้สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้ ด้วยเหตุผลนี้จึงทำให้ระบบเครือข่ายมีบทบาทสำคัญต่อกิจกรรมต่าง ๆ ในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นการทำงาน, การเรียน, การติดต่อ หรือแม้แต่การพักผ่อนหย่อนใจก็ตาม

ระบบเครือ Network ข่ายในปัจจุบันมีหลายแบบด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นเครือข่ายโทรศัพท์, เครือข่ายวิทยุ, เครือข่ายดาวเทียม หรือเครือข่ายคอมพิวเตอร์ โดยในส่วนของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Computer Network) นั้นก็แบ่งออกได้อีกหลายประเภทรวมถึง Ethernet ซึ่งก็เป็นเครือข่ายรูปแบบหนึ่งนั่นเอง ทั้งนี้เครือข่ายแต่ละประเภทก็มีคุณสมบัติและการใช้งานที่แตกต่างกัน ซึ่งแบ่งได้เป็น 3 ประเภทหลัก ๆ ดังนี้

LAN (Local Area Network)

LAN (Local Area Network) คือ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่ออุปกรณ์เข้าด้วยกันในระยะทางใกล้ ๆ ซึ่งโดยทั่วไปแล้วจะครอบคลุมพื้นที่ไม่เกิน 10 กิโลเมตร โดยมี 6 รูปแบบ ดังนี้

  • Bus : เป็นการเชื่อมต่ออุปกรณ์เข้าด้วยกันบนสายแลนเส้นเดียวกัน มีข้อดีคือติดตั้งง่ายและประหยัดค่าใช้จ่าย แต่ข้อจำกัดคือหากเครื่องใดเครื่องหนึ่งเสีย จะไม่สามารถส่งข้อมูลไปยังจุดถัดไปได้
  • Star : เป็นการเชื่อมต่อแต่ละอุปกรณ์กับ Hub หรือ Switch ซึ่งจะเป็นศูนย์กลางในการรับส่งข้อมูล หากมีเครื่องหนึ่งชำรุด ระบบก็ยังทำงานได้ แต่ระบบจะล่มทันที ถ้า Hub หรือ Switch พัง 
  • Ring : เป็นการเชื่อมต่อวนเป็นวงกลม โดยแต่ละเครื่องจะส่งข้อมูลไปยังคอมพิวเตอร์ถัดไปตามทิศทางที่กำหนด จึงมีข้อดีและข้อจำกัดเช่นเดียวกับแบบ Bus คือ ใช้สายเคเบิลเพียงเส้นเดียว และถ้ามีเครื่องเสียก็จะส่งข้อมูลไม่ได้ 
  • Mesh : เป็นการเชื่อมต่ออุปกรณ์เข้าด้วยกันแบบจุดต่อจุดแบบอิสระ ไม่มีตัวแปลงสัญญาณต่าง ๆ หรือศูนย์กลาง จึงทำให้มีความเสถียรสูง แต่ก็มีค่าใช้จ่ายที่สูงตามไปด้วย เนื่องจากต้องใช้สายเคเบิลจำนวนมาก
  • Tree : คือ การเชื่อมต่อแบบต้นไม้หรือกลุ่มย่อย ในแต่ละกลุ่มมีโหนดแม่ที่เชื่อมต่อกับโหนดลูกภายในกลุ่ม แล้วเชื่อมต่อกับโหนดแม่ของกลุ่มอื่น จึงอาจมีความซับซ้อนในการจัดการ โดยเหมาะกับบริษัทที่แบ่งเป็นทีม ๆ
  • Hybrid : คือการผสมผสานการเชื่อมต่อเครือข่ายแบบต่าง ๆ เข้าด้วยกัน เพื่อช่วยยกระดับประสิทธิภาพในการทำงาน โดยเหมาะสำหรับเน็ตองค์กรที่มีโครงสร้างซับซ้อน มีข้อดีคือ มีความยืดหยุ่นสูง รองรับความต้องการได้หลากหลาย 

MAN (Metropolitan Area Network)

MAN (Metropolitan Area Network) เป็นเครือข่ายในระดับเมืองที่เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ที่มีระยะทางไม่เกิน 40 กิโลเมตรเข้าด้วยกัน เพื่อเชื่อมโยงภายในเมืองเดียวกันหรือเมืองใกล้เคียง โดยเครือข่ายประเภทนี้มักใช้ในการเชื่อมต่อ LAN หลาย ๆ LAN เพื่อเพิ่มระยะทางให้ครอบคลุมมากขึ้น เช่น เครือข่ายเคเบิลทีวีหรือเครือข่ายของหน่วยงานราชการ เป็นต้น

WAN (Wide Area Network)

WAN (Wide Area Networks) เป็นเครือข่ายในบริเวณกว้างและครอบคลุมพื้นที่ขนาดใหญ่ เช่น ระหว่างตัวเมืองหรือต่างประเทศ โดยความเร็วในการรับส่งข้อมูลของ WAN จะขึ้นอยู่กับเทคโนโลยีที่ใช้ แต่โดยทั่วไปจะมีความเร็วต่ำกว่า LAN เนื่องจากระยะทางในการรับส่งข้อมูลที่ค่อนข้างไกล

เปรียบเทียบ Ethernet กับ Wi-Fi อะไรดีกว่ากัน?

อีเทอร์เน็ตและ Wi-Fi เป็นสองรูปแบบการเชื่อมต่อเครือข่ายที่ได้รับความนิยม ซึ่งก็มีข้อดีและข้อจำกัดที่แตกต่างกัน ซึ่งจุดเด่นของ Ethernet คือการเชื่อมต่อที่มีความเร็วสูงกว่าในพื้นที่จำกัด เพราะต่อสายเข้าถึงอินเทอร์เน็ตโดยตรง จึงช่วยลดการล่าช้าในการรับส่งข้อมูล รวมถึงเพิ่มความเร็วได้ 

ในขณะที่ Wi-Fi จะใช้เราเตอร์เป็นตัวกลาง ทำหน้าที่ส่งสัญญาณไปยังอุปกรณ์ที่อยู่รอบข้าง โดยไม่ใช้สายเคเบิล แม้จะสะดวก แต่ก็อาจมีปัญหาในเรื่องของสัญญาณที่ไม่เสถียร รวมทั้งความเร็วของอินเทอร์เน็ตที่อาจปรับลดลงได้ 

ดังนั้น อีเทอร์เน็ตจึงเหมาะสำหรับการใช้งานที่ต้องการความเร็วและความเสถียร เช่น การสตรีมมิ่งหรือการดาวน์โหลดไฟล์ขนาดใหญ่ รวมถึงเหมาะกับการใช้งานเพื่อทำงานร่วมกันภายในองค์กรหรือหน่วยงาน เพราะความเร็วและความปลอดภัยที่มากกว่านั่นเอง

ส่วน Wi-Fi ก็เหมาะกับการใช้งานในระดับบุคคลอย่างคอนโดหรือบ้าน รวมถึงพื้นที่สาธารณะ เช่น ห้างสรรพสินค้า สนามบิน ซึ่งส่วนใหญ่ก็มักเป็นการใช้งานอินเทอร์เน็ตทั่วไป อาทิ ดูหนัง ฟังเพลง หรือใช้โซเชียลมีเดียต่าง ๆ ผู้ใช้งานจึงควรเลือกรูปแบบการเชื่อมต่อให้เหมาะสมกับไลฟ์สไตล์และความต้องการของตัวเอง

คำถามที่พบบ่อย

เรื่อง IT หรือเทคโนโลยีมักมีความซับซ้อนอยู่เสมอ และอาจต้องใช้ความรู้ทางเทคนิคบางส่วนเพื่อทำความเข้าใจให้ละเอียดมากยิ่งขึ้น จึงไม่แปลกที่จะทำให้หลายคนยังมีคำถามอยู่ที่ต้องการหาคำตอบ เพราะฉะนั้นมาดูกันว่า คำถามส่วนใหญ่ที่หลายคนสงสัยเกี่ยวกับ Ethernet คือเรื่องอะไรบ้าง

Ethernet กับ Internet ต่างกันอย่างไร?

Ethernet และ Internet เป็นเทคโนโลยีที่มักถูกเข้าใจผิดว่าเหมือนกัน แต่แท้จริงแล้วมีข้อแตกต่างหลายประการ ดังนี้

  • Ethernet เป็นเทคโนโลยีเครือข่ายแบบท้องถิ่น (LAN) ซึ่งเชื่อมต่ออุปกรณ์ที่อยู่ภายในพื้นที่จำกัด โดยใช้สายเคเบิลเป็นตัวกลางในการส่งข้อมูล
  • ส่วน Internet เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ (WAN) ทำหน้าที่เชื่อมต่ออุปกรณ์ที่อยู่ห่างไกลกันทั่วโลก โดยใช้เทคโนโลยีเครือข่ายต่าง ๆ 

ดังนั้น Ethernet และ Internet จึงถือเป็นสองเทคโนโลยีที่มีความสำคัญต่อการใช้งานคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่าง ๆ ในปัจจุบัน โดยผู้ใช้งานควรทำความเข้าใจเกี่ยวกับข้อแตกต่างเหล่านี้ เพื่อให้สามารถใช้งานเทคโนโลยีทั้งสองอย่างได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเลือกใช้ได้อย่างเหมาะสมกับความต้องการ

Gigabit Ethernet คืออะไร?

Gigabit Ethernet คือเทคโนโลยีเครือข่ายที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย สามารถรองรับความเร็วในการรับส่งข้อมูลได้สูงสุดที่ 1 Gbps หรือ 1,000 Mbps โดยการใช้สายเคเบิล ประเภท CAT5e, CAT6 หรือ CAT6a 

Gigabit Ethernet เป็นเทคโนโลยีที่ถูกพัฒนาต่อยอดมาจากอีเทอร์เน็ตเครือข่ายแบบเดิมและได้รับความนิยมอย่างรวดเร็ว เนื่องจากสามารถรองรับการใช้งานที่ต้องการความเร็วในการรับส่งข้อมูลสูง เช่น การถ่ายโอนไฟล์ขนาดใหญ่หรือการเชื่อมต่ออุปกรณ์ต่าง ๆ ในสำนักงาน

หลักการทำงานของ Gigabit Ethernet คือหลักการเดียวกันกับอีเทอร์เน็ต นั่นคืออุปกรณ์แต่ละตัวในเครือข่ายจะเชื่อมต่อและสื่อสารกัน โดยมีสายเคเบิลเป็นตัวกลาง

สรุปเกี่ยวกับอีเทอร์เน็ต (Ethernet)

เชื่อว่าทุกคนน่าจะเริ่มเข้าใจว่า Ethernet คืออะไร และทำไมจึงเป็นเทคโนโลยีเครือข่าย แบบท้องถิ่น (LAN) ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในปัจจุบัน จากข้อดีที่หลากหลายของอีเทอร์เน็ต ไม่ว่าจะเป็นความเร็วในการรับส่งข้อมูลในระดับสูง, มีความเสถียรมากกว่าเครือข่ายรูปแบบอื่น ๆ, มีความปลอดภัยสูง รวมไปถึงมีรูปแบบต่าง ๆ ให้เลือกใช้งานตามความเหมาะสม

อย่างไรก็ตาม แม้อีเทอร์เน็ตจะมีข้อดีมากมาย แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าเทคโนโลยียังคงพัฒนาอย่างไม่หยุดนิ่งในทุก ๆ วัน ทำให้ผู้ใช้งานอย่างเราต้องติดตามและเรียนรู้ข้อมูลใหม่ ๆ อย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้ใช้เทคโนโลยีได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพมากที่สุด

โดยสามารถสอบถามข้อมูลหรือบริการต่าง ๆ เพิ่มเติม เช่น อินเทอร์เน็ตโรงเรียน, รับเดินสายไฟเบอร์ออฟติก, รับวางระบบ network, รับทำ MA, รับติดตั้ง access point และบริการออกแบบระบบเครือข่าย ได้ที่

Scroll to Top
nt-business-solution-expert Popup