การพัฒนาโครงสร้าง ‘Smart City’ เป็นเมืองอัจฉริยะที่ทุกคนสามารถพึ่งพาและใช้งานได้ทุกเพศทุกวัย เพิ่มระดับคุณภาพชีวิตโดยใช้เทคโนโลยีเป็นส่วนหนึ่งของการดำรงชีพ ทาง NT (National Telecom) ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตเกรดพรีเมี่ยม จะมาบอกรายละเอียด Smart City มาเป็นความรู้พร้อมยกตัวอย่างเมืองที่เป็นเมืองอัจฉริยะให้ผู้อ่านชมกัน
Smart City คือ
Smart City คือ แนวคอนเซ็ปที่ส่งเสริมการพัฒนา ‘เมืองอัจฉริยะ’ ให้สังคมมนุษย์พึ่งพาเทคโนโลยีในระบบดิจิทัลมากขึ้น โดยโครงการ Smart City มุ่งเน้นการดำรงชีวิตแบบ Work Smart เพิ่มประสิทธิภาพการใช้ชีวิตของสังคมในเมือง สามารถใช้นวัตกรรมสิ่งอำนวยความสะดวกได้อย่างชาญฉลาด พร้อมปรับตัว ประยุกต์ กับเทคโนโลยีใหม่ๆ ในปัจจุบันและอนาคตได้ทุกสถานการณ์
ประโยชน์ของ Smart City
ประโยชน์ของ smart city มีบทบาทต่อชุมชนในประเทศด้วย 6 ข้อดังนี้
- เพิ่มและขยายเครือข่ายแก่ชุมชนให้เข้าถึงการสื่อสารได้สะดวกมากขึ้น
- เทคโนโลยี Smart City สามารถเรียนรู้และปรับตัวการใช้ฟังก์ชันที่ถูกอัปเดตได้อยู่เสมอ
- เพิ่มโอกาสให้เมืองใกล้เคียงได้รับอิทธิพลความเจริญของ Smart City อย่างต่อเนื่อง
- ลดค่าใช้จ่ายการใช้ทรัพยากรที่สิ้นเปลือง โดยใช้เทคโนโลยีมาใช้งานทดแทน
- เป็นแหล่งข้อมูลทำให้ผู้เรียนรู้ สามารถเข้าถึงการค้นคว้าผ่านอินเทอร์เน็ตได้ง่าย
- Smart City ไม่เพียงแต่พัฒนาคุณภาพชีวิตให้ง่ายมากขึ้น แต่ยังใช้เทคโนโลยีเพื่อรักษาสิ่งแวดล้อมไปด้วยในเวลาเดียวกัน
Smart City ต้องมีเทคโนโลยีอะไรบ้าง
เทคโนโลยีหลักๆ ของsmart city จะมี 3 ตัวอย่าง ดังนี้
1. Smart ICT (ระบบไอซีทีอัจฉริยะ)
Smart ICT (Smart Information and Communication Technology) คือ ระบบเน็ตเวิร์กไอที เช่น Leased Line และ Cloud PBX ที่เป็นเครือข่ายการเชื่อมต่อให้กับหน่วยงานบริหารและชุมชนประจำเขตในเมืองได้อย่างเข้าถึงแหล่งข้อมูลและการส่งข่าวสารตลอดเวลา
2. Smart Building (อาคารอัจฉริยะ)
Smart Building คือ การปรับเทคโนโลยีดิจิทัลเป็นอุปกรณ์ให้มนุษย์ภายในอาคารสามารถใช้งานเพื่ออำนวยความสะดวก เช่น ลิฟต์ บันไดเลื่อน กล้องวงจรปิด เพื่อสร้างความปลอดภัย ให้ผู้อยู่อาศัยรู้สึกมั่นใจตอบสนองความต้องการและเข้าใจ Pain Point ของลูกค้าได้
3. Smart Grid (โครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ)
เทคโนโลยี Smart Grid คือ โครงการไฟฟ้าแบบเน็ตองค์กรเป็นเครือข่ายเชื่อมต่อที่ส่งผลให้อุปกรณ์เทคโนโลยีตามเขตต่างๆ สามารถบริการ Access การใช้งานแก่พลเมืองใช้ได้อย่าง Realtime เป็นระบบที่มีความเสถียรและปลอดภัย
องค์ประกอบของ Smart City 7 ด้าน
องค์ประกอบของหลักๆ ของ smart city 7 มีด้าน ดังนี้
1. Smart People (พลเมืองอัจฉริยะ)
Smart City ส่งเสริมให้คนในสังคมสามารถเข้าถึงสื่อการเรียนรู้การสอนผ่านโลกอินเทอร์เน็ต โซเชียลมีเดีย และซอฟ์แวร์ได้ทุกแพลตฟอร์ม โดยพลเมืองทุกระดับต้องสามารถเข้าถึงข้อมูลบนโลกออนไลน์ได้อย่างเท่าเทียม ไม่จำกัดชนชั้น เพื่อพัฒนา Manpower ทุกองค์กรตั้งแต่ สถานศึกษา บริษัท รวมไปถึงชุมชนเมืองใกล้เคียงให้มีทักษะ ความรู้ ในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
>> อ่านเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีพัฒนาการศึกษาได้ที่ “Smart School“
2. Smart Economy (เศรษฐกิจอัจฉริยะ)
การพัฒนาระบบดิจิทัลจะช่วยลดการใช้ทรัพยากรที่สิ้นเปลือง ให้มาพัฒนาโครงสร้างการทำงานภายในเมือง อาทิ การบริหารจัดการโดยใช้ระบบจัดการอัตโนมัติ การใช้เทคโนโลยีอำนวยความสะดวก เกษตรกรประหยัดต้นทุน และได้ผลประกอบการที่มากขึ้น จึงเป็น Smart City อย่างยั่งยืน
3. Smart Governance (การปกครองอัจฉริยะ)
นวัตกรรม Smart City ที่จะนำมาประยุกต์ใช้เกี่ยวกับการปกครอง จะช่วยทำให้ประชาชนทุกคนรับรู้การทำงานของรัฐบาลได้อย่างโปร่งใส สามารถติดตามข่าวสารได้ และยังเป็นส่วนหนึ่งในการแสดงความคิดเห็นต่อการทำงานของภาครัฐปัจจุบัน อาทิ ชี้แจงปัญหาพื้นที่สาธารณะในชีวิตประจำวัน เพื่อเป็น Feedback ให้ผู้บริหารรับรู้แล้วดำเนินปฏิบัติ On Site ในพื้นที่ เมื่อทราบปัญหา ทางทีมจะดำเนินการประสานงานกับหน่วยงานอื่นๆพร้อมปรับปรุงปัญหาทันที
4. Smart Mobility (การสัญจรอัจฉริยะ)
เมือง Smart City ที่น่าอยู่และเข้าถึงแหล่งคมนาคมแก่ประชาชนทุกคน จะต้องไม่มีแหล่งจราจรที่รั่วไหล จะต้องมียานขนส่งสาธารณะที่เข้าถึงง่าย ราคามิตรภาพแก่ผู้โดยสารให้เข้าถึงได้ทุกเพศทุกวัย เพื่อให้ประชาชนทุกคนสามารถใช้ยานพาหนะสาธารณะที่มีความปลอดภัยตลอดการเดินทาง
5. Smart Energy (พลังงานอัจฉริยะ)
สิ่งสำคัญของการใช้ระบบดิจิทัลมาอำนวยความสะดวกแก่เมืองอัจฉริยะมากขึ้น Smart Energy คือการควบคุมความสมดุลระหว่างเทคโนโลยีกับธรรมชาติให้เสมอต้นเสมอปลาย โดยแนวทางการใช้ Smart City จะยังคงประยุกต์นวัตกรรมไฟฟ้าต่างๆ ให้มีความมั่นคงและทดแทนพลังงานได้โดยไม่สร้างความเสียหายแก่ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
6. Smart Environment (สิ่งแวดล้อมอัจฉริยะ)
โครงการ Smart City จะตระหนักถึงการใช้นวัตกรรม โดยไม่สร้างผลกระทบและทำลายธรรมชาติให้น้อยที่สุด ซึ่งเราใช้เทคโนโลยีเพื่อสร้างนวัตกรรมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็น การรีไซเคิล การใช้พลังงานทดแทน การบำบัดของเสียให้กลายเป็นทรัพยากรที่สามารถใช้งานได้อีกครั้ง รวมไปถึงการผลิตสินค้าบริการที่เป็นมิตรต่อโลกไม่สร้างมลภาวะให้ได้มากที่สุด
7. Smart Living (การดำรงชีวิตอัจฉริยะ)
Smart Living คือการปลูกฝังให้ผู้คนรู้จักใช้เทคโนโลยีและสามารถประยุกต์หลักการนวัตกรรมใหม่ๆ ในอนาคตได้อย่างสะดวกสบาย โดยการดีไซน์ของนวัตกรรมต่างๆ จะต้องมีความเป็นสากล ผู้คนทุกประเภทจะต้องเข้าถึงและสามารถใช้งานได้ทุกเพศ ทุกวัย
Smart City มีข้อดีและข้อเสียอย่างไรบ้าง
จุดเด่นและข้อจำกัดของการสร้าง smart city มีข้อดี ข้อเสีย ได้แก่
ข้อดีของ Smart City
- พัฒนาระดับคุณภาพชีวิตผู้คนในเมืองให้มีความปลอดภัย
- แหล่งข่าวสารทุกสารพัดทิศจะทำให้ชาวโซเชียลสามารถเข้าถึงได้หมด
- นวัตกรรมในระบบดิจิทัลมีการอัปเดตใหม่ๆ อยู่ตลอด ทำให้ผู้คนสามารถเรียนรู้และปรับตัวได้อย่างรวดเร็ว
- การออกแบบนวัตกรรมสามารถใช้งานได้กับคนทั่วไป และบุคคลพิเศษ
- ช่วยให้การบริหาร การประสานงานตามหน่วยงานต่างๆ มีความต่อเนื่อง
ข้อเสียของ Smart City
- ด้วยความที่เทคโนโลยีเป็นระบบที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ ทำให้ผู้ใช้งานรู้สึกไม่ปลอดภัย ไม่มีความเป็นส่วนตัว
- มีโอกาสที่ข้อมูลส่วนตัวของคุณจะถูกนำไปใช้ให้กับมิจฉาชีพไซเบอร์
- เทคโนโลยีที่มาใหม่ๆ อาจทำให้กลุ่มผู้คนไม่สามารถติดตามหรือปรับตัวได้ทัน
- การใช้นวัตกรรมบริหารงานบางส่วน อาจทำให้อัตราผู้คนเกิดการว่างงานสูง
ICT Based Smart City และ Citizen Based Smart City ต่างกันอย่างไร
การพัฒนา Smart City ในรูปแบบ ICT Based จะเน้นติดต่อประสานงานกับบริษัทที่มีความเกี่ยวข้องกับหน่วยงานมากที่สุดมาพัฒนาโครงสร้างเมือง โดยทุนการใช้ทรัพยากรจะเป็นของภาคเอกชนที่มีระบบสื่อสารที่เข้าถึงโดยไม่มีพลเมืองทั่วไปมามีส่วนร่วมในการพัฒนา Smart City
แต่ในขณะเดียวกัน Citizen Based Smart City จะเน้นการประสานงานกับหน่วยงานชุมชนทุกๆ เขตเมือง เพื่อมาจัดสรรสวัสดิเพื่อประชาชน ซึ่งทุนที่ใช้จะเป็นการระดมทุนสาธารณะหรือกองส่วนบุคคล โดยการสื่อสารทุกคนสามารถเป็นสื่อในการประชาสัมพันธ์ตามโซเชียลแพลตฟอร์มต่างๆ ได้อย่างอิสระ
ตัวอย่าง Smart City
ยกตัวอย่าง smart city ต่างประเทศที่ใช้เทคโนโลยีเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชนในเมืองอย่างมีประสิทธิภาพ มี 3 เมือง ได้แก่
Seattle
ซีแอตเทิล (Seattle) เป็น เมืองติดชายฝั่งตะวันตกในรัฐวอชิงตันของประเทศ USA การบริหารของเมืองนี้คือ การจัดสรรสิทธิทางภาษีให้กับหน่วยงานภาคธุรกิจ และประชาชน ที่จ่ายไปได้รับ green technology ไปติดตั้งใช้เป็นวัสดุรักษาสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ อาทิ ฉนวนกันความร้อน ความเย็น ทั้งฝ้าเพดาน ผนัง หน้าต่างและอื่นๆ ที่ทดแทนด้วยพลังงานธรรมชาติแทน
Tokyo
โตเกียว (Tokyo) เป็นเมืองหลวงหลักของประเทศญี่ปุ่นที่มีโครงสร้างตึกอาคารชุกชุมมากมาย แต่มีระบบขนส่งสาธารณะอย่างรถไฟฟ้าที่เข้าถึงจังหวัดอื่นๆ ได้ทุกสาย อีกทั้งนโยบายโตเกียวมีแนวคิดเมืองสีเขียว คือ โครงการปลูกต้นไม้ 1 ล้านต้นในเมืองหลวง แล้วขนย้ายแหล่งคมนาคมสาธารณะย้ายโครงสร้างไปในใต้ดินให้ได้มากที่สุด
Stockholm
สต็อกโฮล์ม (Stockholm) เป็นหนึ่งในเมืองหลวงของสวีเดนที่นโยบายของรัฐบาลเสนอให้คือ การลดภาษีแก่บริษัทต่างๆ ที่มีจุดประสงค์ต้องการประหยัดการใช้พลังงาน พร้อมมีเทคโนโลยีการรีไซเคิล ที่ประชาชนยินดีให้ความร่วมมือเป็นอย่างมาก
สรุปเรื่อง Smart City
การวางโครงสร้าง Smart City จัดเป็นส่วนสำคัญที่จะเพิ่มระดับคุณภาพชีวิตทุกคนให้มีความปลอดภัยในการเดินทาง เข้าถึงข้อมูลบนเน็ตเวิร์ก รวมไปถึงชี้แจงข่าวสารให้กับหน่วยงานภาครัฐได้อย่างโดยตรง ซึ่งบริษัท NT ผู้เชี่ยวชาญด้านการรับเดินสายไฟเบอร์ออฟติกนั้นสนับสนุนการพัฒนาเมืองไทยเป็น Smart City เช่นกัน หากสนใจอยากทำงานร่วมกับเครือข่ายของเรา สามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก NT Official เพื่อทราบรายละเอียดข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อที่
Tel. 02-3730600, 02-3737040
Website: https://nt-metro-service.com/
Facebook: NT shop กรุงเทพและปริมณฑล
Line: @NTSMEsolutionBKK